โครงการเชิงรุก โครงการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่พุทธและมุสลิม (มอ.)


จากการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ปี 2549-2550 พบว่า สภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุเพียง 2 ปี โดยพบร้อยละของเด็กที่มีประสบการณ์โรคฟันผุ 80.64 ค่า เฉลี่ย dmft  5.43 ซี่/คน  การเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 5 ปีทั้งประเทศ พบมากในเขตชนบท และพบสูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 85.50 เฉลี่ย dmft  6.00  ซี่/คน (กองทันตสาธารณสุข,2551)  

 

โรคฟันผุในเด็กเล็ก ( Early Childhood Caries หรือ ECC ) มีลักษณะฟันผุหลายซี่ในช่องปากของเด็กเล็ก ฟันผุในฟันน้ำนมจะลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันมีน้อยกว่า  ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่น ใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม  ได้แก่  ตัวฟัน อาหาร และเชื้อจุลินทรีย์  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกัน พฤติกรรมการเลี้ยงดู การทำความสะอาด  พฤติกรรมการบริโภคอาหาร  พฤติกรรมการกินนมขวด  ฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาของพ่อแม่ รวมทั้งประวัติการมีฟันผุของคนในครอบครัว 

แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้  เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ในการพัฒนาด้านใด ๆ ก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก โดยเฉพาะผู้ดูแลเด็กที่สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งด้านความรู้ ทัศนคติและการปฎิบัติของเด็กในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากได้โดยตรงและอาจมีการสื่อสารผ่านผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง

          ฝ่ายทันตสาธารณสุขชนบทภาคใต้  ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น  จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเอื้อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สู่เด็ก เพราะ สื่อมีผลดีต่อการเรียนรู้ของมนุษย์  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งหลายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยประสานความรู้ ความเข้าใจ ที่ผ่านประสาทสัมผัสในการรับรู้ การจดจำ นำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีและมีการปฏิบัติจนเกิดทักษะความชำนาญ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ถาวร พร้อมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของผู้เรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษาและนักสาธารณสุข ได้พยายามเน้นว่า สื่อมีคุณค่าสามารถช่วยให้การเรียนรู้หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ สื่อมีผลดีต่อการเรียนรู้ คือ  ช่วยสนับสนุนการรับรู้และการแปลความหมายของแต่ละบุคคลให้รวดเร็วขึ้น  ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างทัศนคติเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง   ช่วยสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม  ช่วยให้เกิดการเสริมแรง โดยทำให้ผลการกระทำ หรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทันที  ช่วยเสริมสร้างได้เกิดการจดจำได้มากขึ้น  รวดเร็วและมีความคงทนขึ้น  ช่วยในการโน้มน้าวจูงใจให้เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยให้เกิดทักษะความชำนาญได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ในทางปฏิบัติ  ช่วยดึงดูดและรวบรวมความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมาที่สื่อและผู้ใช้สื่อ  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล  ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และงบประมาณในการเรียนรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ช่วยสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้  การเรียนการสอน การนำเสนอได้ทุกขั้นตอน        ทุกระดับทั้งในและนอกระบบการศึกษา   ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในระดับต่างๆได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ไม่รู้หนังสือสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น   โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนที่เป็นวัยที่สามารถปลูกฝังพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม และสติปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โดยเน้นทักษะการเรียนรู้ที่สนุกและสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก  อันจะส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของเด็กต่อไป

กิจกรรม

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง) ช่วงเวลาดำเนินการ
1.  ติดต่อประสานงานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเป้าหมาย                                   มกราคม 2553
2. ออกเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาศึกษาความต้องการในการใช้สื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และผลจากการทำ Focus group discussion กุมภาพันธ์  2553-   มีนาคม 2553
3. ศึกษาข้อมูลสื่อในท้องตลาดเพิ่มเติมและหารือกับผู้ชำนาญเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กเล็ก เมษายน 2553- พฤษภาคม 2553
4. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และผลจากการทำFocus group discussion รวมถึงจากมุมมองของผู้ชำนาญ พฤษภาคม 2553- มิถุนายน 2553
5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตและพัฒนาสื่อ (หากเป็นสื่อที่สามารถจัดทำได้โดยผู้ดูแลเด็ก)     มิถุนายน 2553
6. ผลิตและทดลองใช้สื่อ กรกฎาคม 2553- กันยายน 2553
7. ประเมินผลการใช้สื่อ (ความพึงพอใจ การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายในเรื่อง การปฏิบัติ) ตุลาคม 2553- มีนาคม 2554
8. ปรับปรุงและแก้ไข เมษายน 2554 – พฤษภาคม 2554
9. จัดทำสื่อฉบับปรับปรุงและ เผยแพร่สื่อ พฤษภาคม 2554 – มิถุนายน 2554
หมายเลขบันทึก: 343746เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โครงการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท

จากการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ปี 2549-2550 พบว่า สภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุเพียง 2 ปี โดยพบร้อยละของเด็กที่มีประสบการณ์โรคฟันผุ 80.64 ค่า เฉลี่ย dmft 5.43 ซี่/คน การเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 5 ปีทั้งประเทศ พบมากในเขตชนบท และพบสูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 85.50 เฉลี่ย dmft 6.00 ซี่/คน (กองทันตสาธารณสุข,2551)

โรคฟันผุในเด็กเล็ก ( Early Childhood Caries หรือ ECC ) มีลักษณะฟันผุหลายซี่ในช่องปากของเด็กเล็ก ฟันผุในฟันน้ำนมจะลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันมีน้อยกว่า ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่น ใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม ได้แก่ ตัวฟัน อาหาร และเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกัน พฤติกรรมการเลี้ยงดู การทำความสะอาด พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการกินนมขวด ฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาของพ่อแม่ รวมทั้งประวัติการมีฟันผุของคนในครอบครัว

แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ในการพัฒนาด้านใด ๆ ก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก โดยเฉพาะผู้ดูแลเด็กที่สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งด้านความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของเด็กในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากได้โดยตรงและอาจมีการสื่อสารผ่านผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง

ฝ่ายทันตสาธารณสุขชนบทภาคใต้ ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบสื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเอื้อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สู่เด็ก เพราะ สื่อมีผลดีต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งหลายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยประสานความรู้ ความเข้าใจ ที่ผ่านประสาทสัมผัสในการรับรู้ การจดจำ นำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีและมีการปฏิบัติจนเกิดทักษะความชำนาญ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ถาวร พร้อมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของผู้เรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษาและนักสาธารณสุข ได้พยายามเน้นว่า สื่อมีคุณค่าสามารถช่วยให้การเรียนรู้หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ สื่อมีผลดีต่อการเรียนรู้ คือ ช่วยสนับสนุนการรับรู้และการแปลความหมายของแต่ละบุคคลให้รวดเร็วขึ้น ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างทัศนคติเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ช่วยสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้เกิดการเสริมแรง โดยทำให้ผลการกระทำ หรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทันที ช่วยเสริมสร้างได้เกิดการจดจำได้มากขึ้น รวดเร็วและมีความคงทนขึ้น ช่วยในการโน้มน้าวจูงใจให้เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดทักษะความชำนาญได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ในทางปฏิบัติ ช่วยดึงดูดและรวบรวมความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมาที่สื่อและผู้ใช้สื่อ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และงบประมาณในการเรียนรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ การเรียนการสอน การนำเสนอได้ทุกขั้นตอน ทุกระดับทั้งในและนอกระบบการศึกษา ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในระดับต่างๆได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ไม่รู้หนังสือสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนที่เป็นวัยที่สามารถปลูกฝังพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โดยเน้นทักษะการเรียนรู้ที่สนุกและสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก อันจะส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของเด็กต่อไป

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งขั้นตอนการสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ขั้นดำเนินการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ขั้นดำเนินการผลิตและพัฒนา ตลอดจนขั้นถอดบทเรียนถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ว่าผลที่ได้หรือการเปลี่ยนแปลงเกิดจากขั้นตอนใด ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมพลังของชุมชนในการร่วมกันแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

กิจกรรม

1. ติดต่อประสานงานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่เป้าหมาย (กุมภาพันธ์ 2553)

2. ออกเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาความต้องการในการใช้สื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และผลจากการทำ Focus group discussion (มีนาคม 2553- เมษายน 2553)

3. ศึกษาข้อมูลสื่อในท้องตลาดเพิ่มเติมและหารือกับผู้ชำนาญเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กเล็ก(พฤษภาคม2553)

4. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และผลจากการทำFocus group discussion รวมถึงจากมุมมองของผู้ชำนาญ(มิถุนายน 2553- กรกฎาคม 2553)

5.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตและพัฒนาสื่อ (หากเป็นสื่อที่สามารถจัดทำได้โดยผู้ดูแลเด็ก) (สิงหาคม 2553- กันยายน 2553)

6.ผลิตและทดลองใช้สื่อ (ตุลาคม 2553- มีนาคม 2554)

7. ถอดบทเรียนกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนปลงจากการศึกษาครั้งนี้ (เมษายน 2554)

8. ปรับปรุง แก้ไขและเผยแพร่สื่อ (พฤษภาคม 2554)

9. จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัย (มิถุนายน 2554)

ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ สำหรับโครงการวิจัยของพี่วาลีรบกวนทีมงานช่วยปรับชื่อโครงการให้ตรงหันได้มั้ยค่ะ ใช้ชื่อหลังสุดที่ทพ. สส. อนุมัติโครงการแทนชื่อทีึเสนอก่อนอนุมัติโครงการ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท