โครงการเชิงรุก การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรในการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เบื้องต้น (Participatory Action Research) ระยะที่2 (มอ.)


สืบเนื่องจากการจัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรในการทำวิจัยปฏิบัติ
การอย่างมีส่วนร่วม เบื้องต้น (Participatory Action Research)
ระยะที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ส่งผลให้นักศึกษาหลังปริญญาและบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ผู้เข้าร่วมโครงการได้ริเริ่มจัดทำ โครงการและงานวิจัยภายใต้แนวคิดการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research)และสร้างเสริมพลังของกลุ่ม ขึ้นมาเป็นรูปธรรมจำนวน 2 โครงการ และมีผู้สนใจ
อีกส่วนหนึ่งที่จะประยุกต์เครื่องมือในการทำงานเพื่อใช้ในการดำเนินงานวิจัยในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดการมีส่วนร่วม โดยการทำงานลักษณะนี้ต้องใช้
เครื่องมือการเก็บข้อมูลที่หลากหลายโดยเฉพาะเครื่องมือเชิงคุณภาพ  ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์และประเมินผลการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้วิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมศักยภาพดังกล่าวให้กับนักศึกษาหลังปริญญาและบุคลากร คณะทันต-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดโครงการการพัฒนาทักษะในการดำเนินงานวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม พร้อมกับจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละพื้นที่ และสร้างเสริมพลังของกลุ่มผู้วิจัย เพื่อนำไปใช้ในการทำโครงการวิจัยได้อย่างแท้จริง

กิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (จำนวน 4 วัน) ประกอบด้วยกิจกรรมหลักได้แก่

  1. นำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการดำเนินโครงการและการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
  2. จัดอบรมเครื่องมือการเก็บและวิเคราะห์ ข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม และฝึกปฎิบัติภาคสนาม
  3. จัดอบรมเครื่องมือการประเมินผลกระบวนการการมีส่วนร่วม และฝึกปฎิบัติภาคสนาม
  4. นักศึกษาหลังปริญญาและบุคลากรนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในโครงการวิจัย
  5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย/ผู้เข้าร่วม และขยายแนวคิด แนวทางร่วมกับวิทยากร ในการนำไปใช้ในกิจกรรมจริง (จำนวน 2 วัน)
  6. สรุปรายงานการฝึกปฏิบัติการฯ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรวบรวมเนื้อหาความรู้ที่สำคัญ เช่น Powerpoint เอกสารประกอบการสอน เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลเพื่อประกอบการศึกษาต่อไป
หมายเลขบันทึก: 343279เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการ งานวิจัย การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรในการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เบื้องต้น (Participatory Action Research) ระยะที่2 (มอ.) ฉบับแก้ไข

สืบเนื่องจากการจัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรในการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เบื้องต้น (Participatory Action Research) ระยะที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ส่งผลให้นักศึกษาหลังปริญญาและบุคลากร

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ริเริ่มจัดทำ โครงการและงานวิจัยภายใต้แนวคิดการ

ทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research)และสร้างเสริมพลังของกลุ่ม ขึ้นมาเป็นรูปธรรมจำนวน 2 โครงการ และมีผู้สนใจอีกส่วนหนึ่งที่จะประยุกต์เครื่องมือในการทำงานเพื่อใช้ในการดำเนินงานวิจัยในการดำเนินงานร่วมกับ

ชุมชนที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดการมีส่วนร่วม โดยการทำงานลักษณะนี้ต้องใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูลที่หลากหลายโดยเฉพาะเครื่องมือเชิงคุณภาพ ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์และประเมินผลการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการปรับให้สอดคล้อง

กับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้วิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมศักยภาพดังกล่าวให้กับนักศึกษาหลังปริญญาและบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดโครงการการพัฒนาทักษะในการดำเนินงานวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม พร้อมกับจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่ละพื้นที่ และสร้างเสริมพลังของกลุ่มผู้วิจัย เพื่อนำไปใช้ในการทำโครงการวิจัยได้

อย่างแท้จริง

กิจกรรม

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

1. ประชาสัมพันธ์โครงการ และ เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม

พร้อมกับส่งโครงการ (มีนาคม- เมษายน 2553)

2. จัดอบรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรใน

การทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในประเด็นเครื่องมือ

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลกระบวนการการ

มีส่วนร่วม และฝึกปฎิบัติภาคสนาม ( จำนวน 4 วัน)

และประเมินผลการอบรม (เมษายน – พฤษภาคม 2553)

3. ติดตามประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมอบรมในการนำความรู้

ที่ได้ไปปฏิบัติ (มิถุนายน – กันยายน 2553)

4 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย/ผู้เข้าร่วม

ถอดบทเรียนจากประสบการณ์นำไปใช้จริง และขยายแนวคิด

แนวทางร่วมกับวิทยากร ในการนำไปใช้ในกิจกรรมต่อไป

(จำนวน 2 วัน)และประเมินผลการอบรม ร่วมกับการสังเคราะห์

การเรียนรู้ในเบื้องต้น (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2553)

5.ติดตามประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมอบรมในการนำความรู้ที่

ได้ไปปฏิบัติ (ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554)

6.สรุปผลการประเมินการอบรมและติดตามรายงานการวิจัย

ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 2 โครงการ

(เมษายน 2554)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท