ทำอย่างไรให้สว.ใช้ไอทีได้


สว. ส่วนใหญ่ใจร้อน การวางแผนส่งผ่านความรู้(อบรม ฝึกปฏิบัติการ) คงใช้รูปแบบทั่วไปไม่ได้เสียแล้วกระมัง ได้คิดรูปแบบการแลกเปรียนเรียนรู้ แทนการฝึกอบรม ทั่วๆไป ไม่ให้ผู้ใหญ่(สว.)มีความรู้สึก ถูกสอนเหมือนแบบนักเรียนโค่ง แต่อยากให้ เป็นความรู้สึกร่วมว่า อยากรู้อะไร อยากทำอะไร อยากใช้อะไรเป็น ฯลฯ. ควรได้รู้ ควรได้ทำ ควรได้ใช้ ฯลฯ. คงสนุกไม่เบาเลยค่ะ คิดว่าจับปูตัวใหญ่ใส่กระดง คงมีอะไรที่น่าเรียนรู้จากงานนี้มากเอาการค่ะ เป็นการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ที่ท้าทายมากค่ะ อันดับแรกผู้จัดควรทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน จนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยการทำ บาร์ (BAR) รูปแบบคร่าวๆ พอสรุปได้ดังนี้

การจัดห้องส่งผ่านความรู้(ห้องอบรมคอมพิวเตอร์) การจัดโต๊ะคอมฯ. เป็น กลุ่มๆ ละลายห้องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะละลายพฤติกรรม(ความกลัวเทคโนโลยี)…..นี่คือโจทย์ข้อที่หนึ่ง(สร้าง บรรยกาศ ให้มีการเคลื่อนไหว เดินออกจากโต๊ะคอม มายืนมุง วิทยการผู้ ทำหน้าที่เหมือนคนเล่านิทานที่สนุกเร้าใจ จนเกิดอาการอยากรู้ อยากเห็นอยากลอง เมื่อเกิดความพร้อมที่จะรับรู้องค์ความรู้ ที่ผู้จัด เตรียมไว้ให้ เป็นขั้นเป็นตอน แต่มิควรลืมว่า สว.ใจร้อน ไม่ต่างกับเด็ก วิทยากร จึงควรเตรียมการที่แยบยลเท่านั้น ที่จะทำให้ปูตัวใหญ่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ …..
- ทำอย่างไรให้ สว.ลดความเครียด(ความกลัว )เรื่องเทคโนโลยี ไอที วิธีแก้ คือ คลายความเครีดด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองเน้น สนุกกับการ มาทำความรู้จักกับ ไอที ที่มีทั้งภาพ และเสียง(เพลง) และกลิ่นหอมจากมวลดอกไม้หรือน้ำมันหอมละเหยที่ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำความรู้จักกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
- การจัดกลุ่ม มีเพื่อนร่วมรุ่นที่เหมือนกับตัวเอง(อายุ และความไม่คุ้นเคยกับ ไอที) จะช่วยให้ บรรยากาศสร้างความคุ้นเคยกับเครืองมือสมองกล(คอมพิวเตอร์)จะสะดวกขึ้น ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสามารถ ประสิทธิภาพ ที่ มันทำอะไรได้สารพัดอย่าง
จนเกิดความเข้าใจ กล้าลอง กล้าจับ กล้าเล่น กล้าลองผิดลองจนถูก จนสามารถสร้างความคุนชินกับเครื่องคอมพิวเตอร์(ละลายความกลัวคอมพิวเตอร์ ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น อย่างมีความสุข)
- ทำอย่างไรที่ให้ท่าน สว.กล้าคิดกล้าถาม เพราะแสดงให้เห็นถึงภาวะ ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สำหรับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในเรื่องใดบ้างอะไร? เป็น หน้าที่ของทีมวิทยากร เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน กระจายกัยดูแล สว.ทุกกลุ่มให้ทั่วถึง เริ่มลงมือทำการเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการลงมือปฏิบัติการ การใช้จริง โดยจะมีวิทยากรหลัก หนึ่งคนที่จะบอกถึงกระบวนการเรียนรู้ คือขั้นตอนการทำงานของเครื่อง แล้วให้สว.ทุกท่านทดลองทำตาม โดยมีทีมงานวิทยากรคอยช่วยเหลือ หรือ แม้สว.ในกลุ่มที่เข้าใจแล้ว รู้แล้ว ทำได้แล้วช่วยเหลือเพื่อนร่วมกลุ่ม อีกแรงหนึ่งด้วยยิ่งทำให้เกิดความสนิทสนมในกลุ่มมากขึ้น เป็นการผ่อนแรงทีมงานวิทยากร หรืออาจจะเกิดดาวดวงใหม่มาช่วยเสริมทีมวิทยากร ก็เป็นได้ ทุกขั้นตอนเน้นความสนุกสนานเป็นหลัก ยึดหลักการ “ไม่ลองไม่รู้”
ทำได้ ได้ทำ ทำอย่างมีความสุข น่าจะบรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นค่ะ
ส่วนรายละเอียดคงต้องเข้าบาร์กันบ่อยๆค่ะ…..อิอิอิ


หมายเลขบันทึก: 343273เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตามมาอ่านต่อจากบันทึกที่แล้วครับ...

แหะ แหะ ผมนเข้าใจผิดต้ังนาน คิดว่า

สว. ส่วนใหญ่ใจเย็น ครับ

  • แหะ แหะ....อิอิ สว. ทำอะไรช้า....แต่ใจร้อน (เร็ว)....5555

ไม่มีอะไรผิดหรือถูกหรอกค่ะ บางเรื่องผู้ใหญ่ก็ใจเย็น บางเรื่องก็ใจร้อนกว่าวัยรุ่นค่ะ คงใช้ประสบการณ์ที่พี่เจอมาเยอะนะค่ะ แต่อะไรๆ ก็แปลเปลี่ยนได้เสมอค่ะ น้องหนานเกียรติ

เป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยค่ะ ท่านแพนด้า ถ้าจับจุดได้(รู้เท่าทันธรรมชาติ) ก็จะจัดการบริหารธรรมชาตินี้ได้ไม่ยากค่ะ...ไม่ลองไม่รู้ ...อิอิอิ

สวัสดีค่ะ

  • สว อ้อย มารายงานตัวค่ะ
  • พยายามอยู่เหมือนกัน ที่จะพา เพื่อน สว อ้อย กับ พี่ สว อ้อยชอบ ไอที
  • แต่ไม่สำเร็จค่ะ

มาให้กำลังใจ สว.ทุกคนค่ะ

แต่ละท่านมากมีประสบการณ์หลากหลาย

การเรียนรู้เทคโนโลยีไม่เกินความสามารถของเหล่าสว.แน่ๆค่ะ

ครูอ้อยค่ะ สว.แต่ละคนมีความรู้ความสามารถเป็นเลิศอยู่แล้วหากอยู่เดี่ยวๆ เพราะไม่มีข้อเปรียบกับคนอื่น ควรมีวิธีการที่แยบยล สร้างกลุ่มขึ้นมาเห็นความแตกต่างของสว.ๆ  คนที่ใช้เทคโนโลยีอย่างมีความสุข ย่อมมีส่วนกระตุ้นต่อมอยากเรียนรู้ของสว.ก็ได้ค่ะครูอ้อย

นั่นปะไร จริงอย่างน้องที่นารีว่า การสร้างบรรยากาศเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจมากๆค่ะ อายุเป็นเพียงตัวเลข ความรู้สามารถเรียนทันกันหมด เพียงแต่เร็วช้า ต่างกัน ต้องให้เวลา และให้โอกาส หากเรามีปรัชญา การสอนคือการสอนให้รู้ เข้าใจ และทำได้ จริงไหมค่ะน้องนารี

สวัสดีค่ะ

โอกาส และเวลาค่ะ

สวทุกท่านมีความเป็นเลิศด้านผู้นำอยู่แล้ว

เมื่อมีโอกาส มีบรรยากาศ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทุกท่านค่ะ

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ

ครูต้อยเคยผ่านความรู้สึกที่ไม่รู้เรื่องITมาแล้ว

โชคดีที่มิตรภาพบน g2k ทำให้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะครูต้อยติ่งที่ให้กำลังใจสว.ค่ะ

กล้วยหิน หน้าตาคล้ายกล้วยตานีหรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท