สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว : การอ่านข้อเขียนเพื่อค้นหาข้อความสำคัญประเภทต่างๆ


            สิ่งสำคัญในการอ่านข้อเขียนแต่ละข้อความในเบื้องต้น  คือ  ผู้อ่านต้องจับประเด็นสำคัญของเรื่องนั้นให้ได้ 

 

การค้นหาใจความสำคัญของเรื่อง

 

          การค้นหาใจความสำคัญของเรื่อง  เป็นการอ่านเพื่อค้นหาสาระสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสื่อมายังผู้อ่าน  ใจความสำคัญที่สุดของแต่ละย่อหน้า  โดยหาได้จากที่ผู้เขียนระบุไว้แล้วอย่างชัดเจน  ประโยคใจความสำคัญดังกล่าวมักปรากฏอยู่ที่ประโยคต้น  ประโยคกลาง  ประโยคท้าย  หรือทั้งประโยคต้นและประโยคท้ายของย่อหน้านั้นๆ  ที่เหลือจากประโยคใจความสำคัญ

            การย่อความ

 

                    การย่อความเป็นการเขียนประเภทหนึ่ง  การย่อความมีทั้งการส่งสารด้วยวิธีการพูดอย่างย่อๆ  และวิธีการเขียนอย่างย่อๆ  ในที่นี้จะเน้นเฉพาะการส่งสารด้วยวิธีการเขียนเป็นสำคัญ  คำที่เกี่ยวข้องกับการย่อความ  คือ  ใจความ  พลความ  ข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็น  และความรู้สึก

 

            ใจความ  คือ  ข้อความสำคัญของย่อหน้า  ถ้าตัดข้อความสำคัญนี้ออกไปจะทำให้ไม่ได้ใจความที่ดี  ความจะเปลี่ยนไป  ทำให้อ่านหรือฟังไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดไปได้  นอกจากนั้น  ย่อหน้าบางย่อหน้าจะขาดใจความ  หรือข้อความสำคัญไป  เพราะเป็นเพียงย่อหน้าเชื่อมข้อความจากย่อหน้าเดิมกับย่อหน้าต่อไปเท่านั้น  ข้อความเหล่านี้ตัดทิ้งไปได้

 

            พลความ  คือ  ข้อความรอง  สำคัญน้อยกว่าใจความ  ทำหน้าที่ให้รายละเอียดขยายใจความในข้อความหรือย่อหน้านั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ถ้าตัดพลความทิ้งไปสารนั้นยังคงใจความตรงตามจุดประสงค์ของผู้ส่งสาร

 

            ข้อเท็จจริง  เป็นข้อความ  เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่มีที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริง  ข้อเท็จจริงนั้นมีช่วงเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ  ข้อความอาจคลาดเคลื่อนเปลี่ยนไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป

 

            ข้อคิดเห็น  เป็นข้อความที่ผู้อ่าน  ผู้ฟัง  ผู้เล่า  ผู้เขียนแสดงความคิดจากความรู้  ความเข้าใจ  ความเชื่อ  ที่ผู้กล่าวมีต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเห็นด้วยหรือมีความเห็นแตกต่างไป

 

            ความรู้สึกหรือข้อความที่แสดงอารมณ์  เป็นข้อความที่ผู้รับสารแล้วเกิดรู้ได้ว่าผู้ส่งสารหรือสารนั้นให้อารมณ์  ให้ความรู้สึกอย่างไรออกมาต่อผู้อ่าน  ผู้ฟัง  อาจเป็นพอใจ  ไม่พอใจ  ชื่นชม  เศร้าหมอง  ขุ่นเคือง  ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความแสดงอารมณ์หรือให้ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร

 

ที่มา : คู่มือการสอนภาษาไทย สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่งอ่านเร็ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย

 

หมายเลขบันทึก: 343278เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท