แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 10 มีนาคม 2553


CT และ MRI เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย หากนักรังสีเทคนิค ที่ควบคุมการใช้งานมีความรู้ความเข้าใจเครื่องมือดังกล่าวเป็นอย่างดี จะช่วยให้การตรวจวินิจฉัยโรคประสบความสำเร็จมากขึ้น

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวที่นักศึกษารังสีเทคนิค 3 คน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในช่วงเวลา 8.00 - 8.30 น. จากการไปฝึกงานในวันที่ผ่านมาดังต่อไปนี้ ครับ

 

  

 

1.การตรวจ MRI Spine

เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง เป็นเครื่องตรวจวินิจฉัยหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับการตรวจหาความผิดปกติบริเวณของกระดูกสันหลัง เส้นประสาท ไขสันหลังและหมอนรองกระดูก ดูการกดทับเส้นประสาท ซึ่งความผิดปกติที่บริเวณเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวด และแขน ขา อ่อนแรง

 

ขดลวดที่สำคัญที่เลือกใช้ประกอบการตรวจกระดูกสันหลัง คือ Phase array coil

 

ภายในของ Phase array coil จะมีการวางขดลวดเป็นแถวต่อเนื่องกัน เพื่อใช้สำหรับตรวจกระดูกสันหลังที่อยู่ตำแหน่งแตกต่างกัน 

 

  

นักรังสีเทคนิค ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเครื่องมือ การทำงานของเครื่องมือ และต้องเลือกขดลวดให้ตรงกับอวัยวะที่ต้องการตรวจจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการในการตรวจวินิจฉัยโรค

 

ดังนั้นในการจัดท่าผู้ป่วยสำหรับการตรวจวินิจฉัย ต้องวางตำแหน่งของอวัยวะที่สนใจให้สอดคล้องกับตำแหน่งขดลวด เช่น

 

กระดูกสันหลังส่วนต้น (Cervical spine) จะเลือกใช้ CTLTOP (ลูกศรสีน้ำเงิน)

 

กระดูกสันหลังส่วนกลาง (Thoracic spine) จะเลือกใช้ CTLMID (ลูกศรสีฟ้า)

 

กระดูกสันหลังส่วนปลาย (Lumbosacral spine) จะเลือกใช้ CTLBOT (ลูกศรสีแดง)

 

  

การเลือกขดลวดสำหรับตรวจ สามารถเลือกได้ตามตัวอย่างเป็นการเลือก CTLBOT (ลูกศรสีเขียว)

 

กรณีศึกษา : ผู้ป่วยหญิง อายุ 58 ปี น้ำหนัก 79 กิโลกรัม

Lumbosacral Clinical Diagnosis : ปวดหลัง Clinical Information : ขาชา 2 ข้าง มา 3 ปี ปวดเวลาเดิน 

ตัวอย่างภาพ

 

ภาพซ้ายมือ แสดงภาพแบบเน้นน้ำหนักที 1 (T1w image) เห็นรูปร่างของกระดูกและไขสันหลังที่ผิดปกติ ภาพขวามือ แบบเน้นน้ำหนักที 2 (T2w image) เห็นการทรุดของกระดูกมากดทับไขสันหลังชัดเจนมากกว่า T1w   

 

2.การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ผู้ป่วยชาย อายุ 52 ปี มีประวัติแขน ขา อ่อนแรง ก่อนหน้านี้เคยตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง พบว่ามีเลือดออกในสมอง แพทย์รอสังเกตอาการ หากพบการเปลี่ยนแปลงจากให้การรักษาต่อไป

 

 

คำนิยามที่น่าสนใจ คือ 

Hemorrhage หมายถึง ภาวะที่มีเลือดออกนอกเส้นเลือด หรือ ภาวะเลือดออก

Hematoma หมายถึง ภาวะที่มีเลือดออกและสะสมภายในเนื้อเยื่อ จนเกิดเป็นก้อนขึ้น

  

 

ในภาพเลือกใช้ W:124 (หมายถึง Window Width) C:50 (Window Center หรือ Window Level) มองเห็นบริเวณที่มีความผิดปกติได้ไม่ชัดเจน (ศรชี้)

 

 

 

แต่เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ W:66 (หมายถึง Window Width) C:47 (Window Center หรือ Window Level) มองเห็นบริเวณที่ผิดปกติชัดเจนมากขึ้น  

 

การปรับ Window Width และ Window Level มีความสำคัญ หากเลือกใช้ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถมองเห็นพยาธิสภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน ทำเกิดผลเสียต่อผู้รับบริการในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้เช่นกัน (ประสบการณ์และองค์ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่นักรังสีเทคนิคต้องให้ความสำคัญ)  

 

3. การตรวจ MRI brain ผู้ป่วยชายอายุ 25 ปี มาด้วยมี hydrocephalus เคยทำ vp shunt มี over drainage of shunt และchronic subdural hematoma ได้ follow up clinical ไม่มีอาการอะไร แต่ได้ทำ CT พบว่ามี brain stem tumor 

 

(ภาพซ้ายมือ) ยังไม่ฉีด Gd-DTPA

(ภาพขวามือ) หลังฉีด GD-DTPA

จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันบริเวณก้อนเนื้องอกในสมอง เนื่องจากบางส่วนของสมองผิดปกติไป ทำให้ความสามารถของเซลล์ผนังหลอดเลือดที่กั้นไม่ให้สารบางอย่างในเลือดผ่านเข้าไปยังนิวรอนในสมองได้(Blood Brain Barrier) มีความบกพร่อง จึงทำให้เห็นเส้นสีขาวปกติในก้อนเนื้องอกในสมอง  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 343236เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อามิตย์ นี้ไม่ได้เข้าฟัง มา เป็นวิทยากร 11th HA national forum ที่ กทม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท