อวตาร : จากหลักปรัชญาสู่มหากาพย์ภาพยนต์


ปรัชญาอินเดีย

 

 

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสนุก ๆ ดีกว่าครับ  คือ  หนังเรื่อง อวตาร  ซึ่งผมดูตั้งตอนปีใหม่เพราะเห็นชื่อเรื่อง  และชื่อผู้กำกับผมก็สนใจทันที  เจม คาเมรอน  เป็นผู้สร้างตำนานคนเหล็ก  ชื่อนี้การันตีได้  แต่ในความคิดผมหนังเรื่องนี้น่าจะสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ชาวอินเดียมากกว่า  โดยอาศัยชื่อ คาเมรอนเพื่อการันตี  ต้องยอมรับครับว่าคนอินเดียที่มีการศึกษาเก่งเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาก  ผลงานด้านคอมพิวเตอร์ของโลกส่วนหนึ่งมาจากมันสมองของคนอินเดีย  บริษัทไมโครซอฟ  ก็ยังต้องอาศัยแรงงานทางมันสมองจากอินเดียเพราะค่าแรงถูกกว่าจ้างผรั่งด้วยกันเอง

       ส่วนการอวตารนั้นเป็นปรัชญาฮินดูของนิกายไวษณพ  ชาวฮินดูเชื่อว่าพระวิษณุนั้นทรงอวตารเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ และการอวตารของพระองค์จะเป็นไปตาม การอัญเชิญขอร้องของหมู่เทวดา การอวตารของพระวิษณุบ้างก็ว่ามีมากจนนับได้ยาก แต่ปางที่มีจุดประสงค์เพื่อมาช่วยเทวดา และมนุษย์โลกนี้มีทั้งหมด 25 ปาง แต่ปางที่ถือเป็นปางที่สำคัญที่สุดมี 10 ปาง ดังนี้

  • ปางที่ 1 มัตสยาวตาร (อวตารเป็นปลา) เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสัตว์ให้พ้นจากน้ำท่วมโลก
  • ปางที่ 2 กูรมาวตาร(อวตารเป็นเต่า) เพื่อช่วยเหล่าเทวะและอสูรกวนเกษียรสมุทร
  • ปางที่ 3 วราหาวตาร (อวตารเป็นหมูป่า) มีสองตำนานหลักๆคือ 1) เพื่อปราบอสูรนาม"หิรัณยากษะ"ซึ่งลักเอาแผ่นธรณีไปโดยการม้วนแล้วเหน็บไว้ที่ข้างกาย และ 2) เพื่อยุติการประลองพลังอำนาจกันระหว่าง พระศิวะ และ พระพรหม
  • ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร (อวตารเป็นครึ่งสิงห์) เพื่อปราบอสูรนาม "หิรัณยกศิปุ" ผู้เป็นน้องชายของ "หิรัณยากษะ"
  • ปางที่ 5 วามนาวตาร (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย) เพื่อปราบอสูรนาม "พาลี" ผู้เป็นเหลนของ "หิรัณยกศิปุ"
  • ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร (อวตารเป็นพราหม์ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ) เพื่อปราบกษัตริย์ (ผู้เป็นมนุษย์) นาม "พระเจ้าอรชุน" หรือ "พระเจ้าสหัสอรชุน" ผู้มีใบหน้า 1พันหน้า ผู้ก่อยุคเข็ญและทำลายล้างศาสนา
  • ปางที่ 7 รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร (อวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งอโยธยา) เพื่อปราบอสูรนาม "ราวณะ" หรือ "ราพณ์" หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "ทศกัณฐ์" กษํตริย์ แห่งกรุงลงกา - ปางนี้เป็นหลักในการจัด จารีต และ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมอินเดีย
  • ปางที่ 8 กฤษณาวตาร (อวตารเป็นพระกฤษณะ) เพื่อขับรถม้าให้ "พระอรชุน" และสอนวิถี และวิธีการดำเนินชีวิต ให้แก่พระอรชุน
  • ปางที่ 9 พลรามาวตาร (อวตารเป็นพลราม) หรือพระพลรามซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ เป็นการอวตารคู่กับพระกฤษณะ
  • ปางที่ 10 กัลกยาวตาร หรือ กัลกิยาวตาร (อวตารเป็นมนุษย์ผู้ขี่ม้าขาว หรือ กัลกี) เป็นอวตารที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นการทำนายอนาคตไว้ว่า ในยามที่เป็นปลายแห่งกลียุค ที่ที่เมื่อผู้คนไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีอีกต่อไป โลกทั้งโลกต้องเผชิญกับยุคเข็ญไปทุกหย่อมหญ้า จะมีบุรุษขี่ม้าปรากฏตัวขึ้นเพื่อปัดเป่าความทุกข์ยาก และนำธรรมะกลับมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง

        ในหนังเรื่องอวตาร  สิ่งที่เป็นแก่นของเรื่องคือ  การเข้ามาล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกในภาพของมนุษย์  ซึ่งนำโดยบรรษัทข้ามชาติและกองกำลังทางทหารที่เพรียบพร้อมไปด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์  เพื่อครอบครองดาวแพนดอร่า  ดาวแพนดอร่าคือตัวแทนของทวีปเอเชียที่มีทรัพยากรมหาศาล  ส่วนชาวนาวีที่อยู่ในดาวแพนดอร่า เขาใช้คนแอฟริกันมาแทนเพื่อเบี่ยงเบน  

        ในการวางแผมเพื่อทำลายและครองครอง กองทัพจึงต้องส่งสายลับเพื่อมาสืบข้อมูลความเป็นอยู่ของชาวนาวี  และ เจคได้รับการคัดเลือกมาเป็นสายลับแต่เมื่อเจคมาอยู่กับชาวเอเชีย เอ้ย ชาวนาวี เขากลับประทับใจและล้มเลิกความตั้งใจ  เจคจึงกลายมาเป็นวีรบุรุษมาเป็นผู้นำ ซึ่งปรัชญาฮินดูเขาเชื่อเรื่องอวตารของพระวิษณุ  ในหนังเรื่องนี้ตัวอวตาร คือ  เจค  เจคกลายเป็นผู้นำในการขับไล่มนุษย์(ฝรั่ง)ออกไปจากดาวแพนดอร่า (เอเชีย)

        ที่ผมประทับใจคือ พลังความรักที่เจคมีต่อธิดาเผ่านาวี และความสำนึกผิดที่เขาเป็นสายลับให้พวกมนุษย์  กลายมาเป็นพลังที่ทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษ หรือ  อวตาร  นำชาวนาวีขับไล่ชาวโลก (ฝรั่ง)  ออกไปจากดาวแพนดอร่า

        นี้เป็นปรัชญาที่ผมได้จากหนังเรื่องนี้  อย่างที่ผมบอกไว้ครับหนังดี ๆ หลายเรื่องให้ปรัชญาแก่เราอย่างดีเยี่ยม  ปัญหาคือ เราจะมองเห็นปรัชญาที่แฝงอยู่หรือเปล่า  หรือดูแค่ตอบสนองความสนุก 

 

 

หมายเลขบันทึก: 343224เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2019 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นึกแล้วว่าหนังเรื่องนี้จะไม่ได้รับรางวัลออสการ์ แม้ว่าจะทำรายได้ถล่มทลาย เพราะเนื้อหาของเรื่องมันเป็นการตบหน้าพวกฝรั่งฉาดใหญ่น่ะครับ

นอกจากจะได้ชื่นชมพลังความรัก  ยังแสดงให้เห็นว่าความรู้รักสามัคคีจะนำพาให้รอดพ้นภัยพิบัติที่เกิดน้ำมือของคนชั่วได้ค่ะ.

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ โดยเฉพาะสังคมไทยเราตอนนี้ต้องมีความสามัคคีร่วมใจกัน หยุดการแตกแยกทำลายล้างกัน หันหน้ามาร่วมมือกันเพื่อปกป้องรักษาชาติและทรัพยากรที่เรามีอยู่ไว้ให้ลูกหลานของเรา

ขอโทษครับ ได้ออสการ์สองรางวัล แต่ไม่ใช่รางวัลสำคัญอะไร

ที่ผมเอาปรัชญาฮินดูมาวิเคราะห์ เพราะปรัชญาฮินดูเป็นโลกิยปรัชญาที่แกร่งมากของตะวันออก ส่วนพุทธปรัชญามีทั้งโลกิยปรัชญาและโลกุตตระปรัชญา แต่จะเน้นอันหลังมากกว่า

เป็นความรู้ใหม่ๆๆ ขอบคุณนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท