หลักสูตร พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา


หลักสูตร พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
       
   
 
   

1. หลักการและเหตุผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                    ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 80 บัญญัติให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งและบางวิทยฐานะ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสมในอันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่ราชการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดตามหนังสือสำนักงาน   ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 18  ลงวันที่ 8  ตุลาคม  2553 ไว้ว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้ได้รับการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภาวะผู้นำทางวิชาการ และมีการบริหารและการจัดการในสถานศึกษา มีความยืดหยุ่น มีความพร้อมที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

                              ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ผู้ผ่านการพัฒนามีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ บุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการเป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สามารถนำการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างวัฒนธรรมคุณภาพและวัฒนธรรมประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

 

 

 

 

 

 

 

ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว 18 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการต้นสังกัดกับสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา  เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายละเอียดหลักสูตรและพัฒนาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานอื่น

 

 

3.1      เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้รับการพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

3.2      เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้ฝึกทักษะการบริหารการศึกษา วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.3      เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนานำความรู้ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาไปใช้ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

     โครงสร้างหลักสูตรพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ตาม ว 18  ประกอบด้วย 2 ส่วน

ส่วนที่ 1  การพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา   ประกอบด้วย 

           - กิจกรรมฝึกประสบการณ์รองผู้อำนวยสถานศึกษา แบ่งเป็น

                 ประชุมรับฟังคำชี้แจงการฝึกประสบการณ์

                 ฝึกประสบการณ์และรายงานผลในสถานศึกษาต้นแบบ  จำนวน 2 แห่ง

           - กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา  แบ่งเป็น 3 หมวด

                 หมวดที่ 1 คุณลักษณะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์

                             หมวดที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ 

                             หมวดที่ 3 การบริหารและการจัดการในสถานศึกษา

ส่วนที่ 2  การจัดทำและนำเสนอผลงาน

- กิจกรรมสัมมนา จัดทำรายงานและนำเสนอผลงาน โดยการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้จากการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแล้วนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

 

แผนภูมิโครงสร้างหลักสูตรและการประเมินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 

       
       
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายละเอียดหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 

ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา (181 ชั่วโมง) ประกอบด้วย กิจกรรมฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาต้นแบบ (90 ชั่วโมง) และกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา (91 ชั่วโมง)

หมวด

สาขาวิชา 

กิจกรรม 

รวม

ฝึกประสบการณ์ 

พัฒนาสมรรถนะ 

1. คุณลักษณะรองผู้อำนวยการ

สถานศึกษาที่พึงประสงค์

การพัฒนาสุขภาพกาย

-

7

7

การพัฒนาบุคลิกภาพ

3

3

6

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร

5

9

14

การพัฒนาเจตคติ  ค่านิยมและสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ

6

3

9

การพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม

6

3

9

การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

4

3

7

การพัฒนาจิต

3

6

9

ศึกษาดูงาน

-

3

3

รวม

27

37

64

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการ

ผู้นำทางวิชาการและการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีภาวะผู้นำทางวิชาการ

3

6

9

ปรัชญาการศึกษาของชาติและการจัดการศึกษา

6

3

9

การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6

3

9

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3

3

6

การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพฯ

3

6

9

องค์กรแห่งการเรียนรู้

3

3

6

ศึกษาดูงาน

-

3

3

รวม 

24

27

51

3.การบริหารและการจัดการ

ในสถานศึกษา

นโยบาย ภารกิจของสถานศึกษาและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรองผู้อำนวยสถานศึกษา

7

6

13

การบริหารจัดการในสถานศึกษา

15

12

27

การพัฒนาระบบภาคีเครือข่าย การนิเทศ กำกับติดตามประเมินผลและรายงานผล

10

3

13

กฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

7

3

10

 

ศึกษาดูงาน

-

3

3

รวม 

39

27

66

 

รวมทั้งสิ้น 

90

91

181

ส่วนที่ 2  การจัดทำ รายงานผล และนำเสนอผลงาน (20 ชั่วโมง) ประกอบด้วยกิจกรรมการสัมมนา จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้จากการพัฒนาสมรรถนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแล้วนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้      รายละเอียดหลักสูตรและวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 

หมวดที่ 1 คุณลักษณะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์ (64 ชั่วโมง)

คำอธิบาย 

การพัฒนาสุขภาพกาย  การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การพัฒนาเจตคติและค่านิยมที่ดี การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ การมีความมุ่งมั่นและเกิดแรงบันดาลใจในการบริหารจัดการศึกษา           การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพ และการพัฒนาจิต โดยใช้วิธีการเรียนรู้และการประเมินผลที่หลากหลาย เพื่อให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 

 เป้าหมายการพัฒนา

1.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรัก ศรัทธา ภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของความเป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

2.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีความมุ่งมั่นและแรงบันดาลใจในการบริหารจัดการศึกษา

3.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีเจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมคุณภาพ

4.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

5.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่ง

 

ความคิดรวบยอด 

รองผู้อำนวยการสถานศึกษายุคใหม่มีคุณธรรมจริยธรรม บุคลิกภาพดี มีความรู้สู่สากล เป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สามารถบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เพื่อนร่วมงาน ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน อันเป็นการพัฒนาการศึกษาของชาติ

 

สาระการเรียนรู้ 

1. การพัฒนาสุขภาพกาย 

2. การพัฒนาบุคลิกภาพ

3. การพัฒนาทักษะการสื่อสาร

4. การพัฒนาเจตคติ ค่านิยม และการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ

5. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

6. การเสริมสร้างวินัย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

7. การพัฒนาจิต


เกณฑ์การประเมิน 

การประเมินคุณภาพของผู้เข้ารับการพัฒนา ใช้ผลงานระหว่างการเข้ารับการพัฒนาและผลการประเมินการปฏิบัติงานจริงเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลงานต่าง ๆ โดยต้องสะท้อนให้เห็นระดับคุณภาพตามมิติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

มิติการประเมิน 

ความเข้มข้น 

1

2

3

4

กรอบความคิด

เสนอแต่ละองค์ ประกอบ ข้อมูล อธิบายทีละอย่าง

มีการจัดข้อมูลเป็นกลุ่ม เสนอเป็น        ใยแมงมุม ความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว

เสนอถึงความ สัมพันธ์ แบบต่าง ๆ ในรูปผลกระทบ        ต่อกัน

เสนอความคิดเชิงระบบ หรือ ภาพรวมใหญ่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ

การมีส่วนร่วม

มีการเข้าร่วมกิจกรรม

กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม

เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความกระตือรือร้นและปฏิบัติตามได้

มีการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น        ทุกครั้งและปฏิบัติตามได้อย่างดี

ค่านิยม

มุ่งพัฒนาตนเอง       ผลต่อตนเอง

มุ่งพัฒนางานให้มีคุณภาพ

มุ่งพัฒนาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลงาน

มุ่งพัฒนาแต่ละคนให้เป็นผู้นำ และเกิดผลงานที่มีคุณภาพ

ผลงาน

ผลงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน

มีผลงานตามที่กำหนดและมีแผนแก้ไขปรับปรุงให้มีคุณภาพ

ผลงานแสดงถึงการดำรงความยั่งยืนขององค์กร

ผลงานเป็นประโยชน์ต่อปวงชนและมี

แนวทางการพัฒนาระยะยาว

 

ขั้นตอนการพัฒนา 

ก่อนเข้ารับการพัฒนา

1. ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

2. เตรียมความพร้อมของตนเองตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

 

ระหว่างการพัฒนา

ณ สถานที่พัฒนา

1. เข้ารับฟังการบรรยาย/ อภิปรายเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

  1. ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

ณ สถานศึกษาฝึกงาน

3.   นำเสนอผลงานตามใบงานที่กำหนด

4.   ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบประเมินผู้เข้ารับการพัฒนาตามแบบประเมินที่กำหนด

 

หลังการพัฒนาและฝึกประสบการณ์

                   -     สรุปและนำเสนอผลงาน

 

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

  1. เอกสาร/ใบงาน
  2. แบบฝึกปฏิบัติ
  3. Power Point
  4. สื่อเทคโนโลยี
  5. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  6. สถานศึกษาฝึกงาน
  7. สถานที่ฝึกปฏิบัติ

 

วิธีการประเมินผล

  1. สังเกตพฤติกรรมผู้เข้ารับการพัฒนาระหว่างการทำกิจกรรม
  2. การมีส่วนร่วมในกลุ่ม
  3. การนำเสนอผลงานบุคคล/กลุ่ม
  4. การประเมินตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรม
  5. การประเมินผลการพัฒนา

 

 

 

 

หมวดที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ (51 ชั่วโมง)

 

คำอธิบาย

ศึกษาด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของชาติและหลักการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเป็นผู้นำทางวิชาการเพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา          มีภาวะผู้นำทางวิชาการ  การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ตลอดจนกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ

ฝึกปฏิบัติ ประเมิน วิเคราะห์และวางแผนเกี่ยวกับความเป็นผู้นำทางวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตลอดจนการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 

 

เป้าหมายการพัฒนา

1.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีความตระหนักในความสำคัญของภาวะผู้นำทางวิชาการของตนเองและการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีภาวะผู้นำทางวิชาการ

2.   ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของชาติและหลักการเรียนรู้

3.   ผู้เข้ารับการพัฒนาฝึกปฏิบัติจริงในสถานศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของตนเองและเพื่อนร่วมงาน จนสามารถบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้

4.   ผู้เข้ารับการพัฒนาสามารถวางแผนส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ และประเมินการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

ความคิดรวบยอด

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งเป็นความคาดหวังของบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าสามารถมีภาวะผู้นำทางวิชาการเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการเช่นกัน อันจักนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาซึ่งส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง ตลอดจนมีความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรที่ทันสมัยโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐาน

 

สาระการเรียนรู้

1.   ผู้นำทางวิชาการและการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีภาวะผู้นำทางวิชาการ

2.   ปรัชญาการศึกษาของชาติ  หลักการจัดการศึกษา

3.  การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4.   ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

5.   การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

6.   องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินคุณภาพของผู้เข้ารับการอบรม ใช้ผลงานระหว่างการฝึกอบรมและผลการประเมินการปฏิบัติงานจริงเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลงานต่าง ๆ โดยต้องสะท้อนให้เห็นระดับคุณภาพตามมิติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มิติการประเมิน

ความเข้มข้น

1

2

3

4

กรอบความคิด

เสนอแต่ละองค์ ประกอบ ข้อมูล อธิบายทีละอย่าง

มีการจัดข้อมูล          เป็นกลุ่ม เสนอเป็นใยแมงมุม ความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว

เสนอถึงความ สัมพันธ์ แบบต่างๆในรูปผลกระทบ       ต่อกัน

เสนอความคิด    เชิงระบบ หรือ ภาพรวมใหญ่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ

การวางแผน

มีแผนไม่ต่อเนื่อง อธิบายทีละตอน  ทีละงาน                 ใช้คำใหญ่

ลำดับงานเป็นขั้นตอนต่อเนื่อง แต่ยังมีงานที่ไม่จำเป็นอยู่

รายงานที่ทำสู่ผลอย่างชัดเจนต่อเนื่อง บรรลุได้ผลจริง          มีแต่งานสำคัญ

เสนอแนวทางปรับปรุงเพิ่มพูน จนมีผลไปถึงความคุ้มค่าพร้อมพัฒนายั่งยืน

การสื่อความ

อธิบายไม่ชัดเจน มองไม่เห็นภาพรวม ไม่ใช้สื่ออื่นประกอบ

อธิบายได้ชัดเจน เป็นที่เข้าใจ           แต่ขาดตัวอย่าง

นำเสนอได้ผลต่อผู้ฟังทุกระดับ นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

เน้นย้ำผลต่อเนื่องของงาน นำผู้ฟัง  ให้เห็นความสำคัญ ชื่นชมต่องาน

การพัฒนาองค์กร

นำเสนอแต่บทบาทของตน  ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง

เน้นผลตอบสนองรางวัลเป็นหลัก         ในการพัฒนา

เน้นผลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นคณะ เป็นหลัก

พัฒนาผู้ร่วมงานให้เป็นสังคมเดียวกัน กลมกลืน พัฒนาร่วมกัน

ค่านิยม

มุ่งพัฒนาตนเอง ผลต่อตนเอง

มุ่งพัฒนางาน         ให้มีคุณภาพ          มีประสิทธิภาพ

มุ่งพัฒนาผลดีร่วมกัน เกิดผลงานร่วมกัน

มุ่งพัฒนาแต่ละคนให้เป็นผู้นำ เป็นแนวทางของตนเอง

ผลงาน

ผลงานตามแผนที่กำหนด ทำเท่าที่แผนกำหนด

เพิ่มคุณภาพ            ให้ดีกว่าเดิม          แผนปรับปรุงได้ ประหยัด

ผลงานเพิ่มพูน        ไปถึงความยืนยาวขององค์กร

ผลงานเป็นประโยชน์ต่อ    ปวงชน พัฒนา แบบยั่งยืน

 

 

ขั้นตอนในการพัฒนา

 

ก่อนเข้าอบรม

1.    ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องต่อไปนี้

1.1  ปรัชญาการศึกษาของชาติ

1.2  หลักการจัดการศึกษา

1.3  การบริหารจัดการหลักสูตร

1.4  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.    เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับทักษะในการเป็นผู้นำ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับพื้นฐาน ตลอดจนสถิติและการวิจัยเบื้องต้น

 

ระหว่างอบรม

1.    รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ องค์กรแห่งการเรียนรู้                        

2.       ฝึกปฏิบัติฐานการเรียนรู้ปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา   

4.    วางแผนการส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

5.    การใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกปฏิบัติจริงและอบรมที่สถานที่อบรมเพื่อสร้างภาวะผู้นำและจิตสำนึกรับผิดชอบ          

6.    ฝึกปฏิบัติจริงที่สถานศึกษาต้นแบบเพื่อรับฟังติดตามและศึกษางานจากวิทยากรพี่เลี้ยงเป็นเวลาอย่างน้อย 8 วันตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนด

 

หลังอบรมและฝึกประสบการณ์

1.    สรุปและนำเสนอผลการศึกษาและปฏิบัติจริงเป็นแฟ้มสะสมงาน

2.    เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาของตนเองเมื่อได้รับการแต่งตั้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

1.    เอกสารใบงาน

2.    แบบฝึกปฏิบัติ

3.    VTR สถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

4.    สื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ

5.    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

 

วิธีการประเมินผล

1.    สังเกตพฤติกรรมผู้เข้ารับการอบรมระหว่างการทำกิจกรรม

2.    การมีส่วนร่วมในกลุ่ม

3.    การนำเสนอผลงานรายบุคคล/กลุ่ม

4.    การประเมินตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมวดที่ 3 การบริหารและการจัดการในสถานศึกษา (66 ชั่วโมง)

 

คำอธิบาย

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ นโยบาย ภารกิจของสถานศึกษาบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ สามารถบริหารจัดการทางวิชาการ ทรัพยากรทางการศึกษา  งบประมาณ การเงิน สินทรัพย์ บริหารทั่วไป พัฒนาระบบภาคีเครือข่าย การพัฒนาสถานศึกษา นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผล การวิเคราะห์กฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร ฟังการบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอภิปราย การศึกษาดูงานและการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้สามารถจัดการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อให้รองผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการบริหารและจัดการ สถานศึกษา

2.   เพื่อให้รองผู้บริหารสถานศึกษานำความรู้ทักษะ และเจตคติไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขอบข่ายเนื้อหา

1.   นโยบาย ภารกิจของสถานศึกษา และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

2.   การบริหารจัดการในสถานศึกษา

3.   พัฒนาระบบภาคีเครือข่าย การพัฒนาสถานศึกษา นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล

4.   กฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่                 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมการเรียนรู้

1.   การศึกษาเอกสาร

2. การบรรยาย

3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4. การอภิปราย

5. การศึกษาดูงาน

6. การฝึกปฏิบัติจริง

 

การประเมินผล

1.   สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม

2.   สังเกตความสนใจ

3.   สังเกตการณ์มีส่วนร่วม

4.   ประเมินผลงาน

5.   ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติจริงที่สถานศึกษา

6.   ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม

 

เวลาที่ใช้  27 ชั่วโมง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กำหนดให้ผู้เข้ารับการพัฒนาเตรียมความพร้อมจากการศึกษาด้วยตนเองและศึกษาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อที่กำหนด แล้วสรุปองค์ความรู้ ก่อนเข้ารับการพัฒนาในกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา อย่างน้อย 15 วัน โดยกำหนดรูปแบบและระยะเวลาในการพัฒนาเป็น 2 ส่วน และ 3 กิจกรรม รวม 201 ชั่วโมง ดังนี้

 

ส่วนที่ 1  การพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา                       (181 ชั่วโมง)

                    กิจกรรมฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาต้นแบบ (15 วัน)                                 (90 ชั่วโมง)

การฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาต้นแบบ กำหนดรูปแบบให้เรียนรู้และฝึกทักษะการบริหารจากสถานศึกษาต้นแบบ ดังนี้

- ประชุมรับฟังคำชี้แจงการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาต้นแบบ         6 ชั่วโมง

- ฝึกประสบการณ์บริหารในสถานศึกษาต้นแบบ                                         84 ชั่วโมง

                    กิจรรมพัฒนาสมรรถนะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา (12 วัน)

มีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้                                                                                                           (91 ชั่วโมง)

                    หมวดที่ 1 คุณลักษณะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์                    (37 ชั่วโมง)

                                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.1   การพัฒนาสุขภาพกาย                     7 ชั่วโม

คำสำคัญ (Tags): #ยโสธร6
หมายเลขบันทึก: 342581เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2010 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท