วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ไปกินข้าวปุ้นฟรีทั้งเมือง และสัมผัสวัฒนธรรมของคนอีสาน


ชีวิต/การศึกษา/ศาสนา/วัฒนธรรม

 

ไปกินข้าวปุ้นฟรีทั้งเมือง และสัมผัสวัฒนธรรมของคนอีสาน 

ในงานบุญผะเวดที่ร้อยเอ็ด 

 

.............................. 

 

  โดย วัชรินทร์  เขจรวงศ์101

 

            จังหวัดร้อยเอ็ด หรือชื่อเดิมว่าเมืองสาเกตุนคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ  192 ตำบล 2,444 หมู่บ้าน/122 ชุมชน  มีพื้นที่  8,299 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  5,187,156 ไร่  อยู่ห่างจากกรุงเทพ 512 กิโลเมตร  มีประชากร  1.3 ล้านคนเศษ    มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) จำนวน 49,564 ล้านบาท คิดเป็นลำดับที่ 6 ของภาค และลำดับที่ 38 ของประเทศ รายได้ของประชากรตามผลิตภัณฑ์มวลรวม ปี 2551  จำนวน 36,702 บาทต่อคน คิดเป็นลำดับที่ 9 ของภาค  และอันดับที่ 66 ของประเทศ      

 

            ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์จัดทำขึ้น  อาทิ  บึงพลาญชัยแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด, พระมหาเจดีย์ชัยมงคล อำเภอหนองพอก มหาเจดีย์ที่เชื่อว่าสวยงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 3,000  ล้านบาท  นอกจากนี้ก็มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  เช่น  เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าผาน้ำทิพย์  แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งเป็นโบราณสถานในสมัยขอมเรืองอำนาจ  คือ กู่กาสิงห์  อำเภอเกษตรวิสัยกู่พระโกนา  อำเภอสุวรรณภูมิ  และปราสาทปรางกู่ อำเภอธวัชบุรี 

 

            จังหวัดร้อยเอ็ด  มีงานประเพณีที่สำคัญงานหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์และภาคภูมิใจของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งประเพณีจัดสืบต่อกันมาช้านานแล้ว  นั่นก็คืองานประเพณีบุญเดือนสี่  หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า บุญผะเหวด”  โดยชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ก็ได้บรรจุเอางานบุญผะเหวดไว้ในคำขวัญ ของจังหวัดร้อยเอ็ด  ที่ว่า 11 ประตูเมืองงาม  เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต  บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล  งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา  โลกลือชาข้าวหอมมะลิ   

 

            “บุญผะเวดหรือ บุญพระเวส หรือบุญมหาชาติ เป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งในสิบสองประเพณี ของฮีตสิบสอง (ประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวไทยภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

 

            ผะเหวด  เป็นการออกเสียงตามสำเนียงของคนภาคอีสาน มาจากคำว่า พระเวส”  ในภาคกลาง  ซึ่งหมายถึงพระเวสสันดร พระนามขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายก่อนที่พระองค์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ  พระเวสสันดร  ถือว่าเป็นชาติที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นชาติที่พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีอย่างใหญ่หลวง 

 

            การจัดงานบุญผะเหวดของชาวภาคอีสานที่สืบต่อกันมาแต่โบราณนั้น  มีกิจกรรมที่สำคัญ ๆ  หลายประการ   

 

- ประการแรก  คือ  การฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดร  หรือเทศมหาชาติ ที่มีจำนวน  13  กัณฑ์ ให้จบภายในวันเดียว เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระเวสสันดร  ผู้บำเพ็ญเพียรอันยิ่งใหญ่ด้วยวิธีการบริจาคทานอันยิ่งใหญ่ก่อนที่จะมาเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ชาวภาคอีสานเชื่อว่า  หากได้ฟังเทศน์มหาชาติในบุญผะเหวดครบทั้ง  13  กัณฑ์  จบภายในวันเดียวจะมีบุญและผลแห่งบุญนั้นจะส่งให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย  ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขตามพุทธคติ   

 

-  กิจกรรมสำคัญประการที่  ของการทำบุญผะเหวดก็คือ  พิธีการนิมนต์พระอุปคุต  ซึ่งเป็นพระที่ชาวภาคอีสานเชื่อกันว่าเป็นพระผู้รักษาพิธีการจัดงานบุญผะเหวดให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และปกป้องไม่ให้มีพญามารมารบกวนได้ เพราะเชื่อว่าการทำบุญใหญ่ในแต่ละครั้งมักจะมีมารมาขีดขวาง ทำลายพิธีเสมอ  ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการอัญเชิญพระอุปคุตเข้าไปประดิษฐานไว้ในสถานที่จัดงาน  เพื่อคุ้มครองให้งานดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย   

 

- กิจกรรม สำคัญประการที่  3   คือการจัดขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง  กิจกรรมที่ 4   ก็คือการฟังเทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน และการแห่ข้าวพันก้อนไปถวายพระอุปคุต  และประกาศอัญเชิญให้เทวดามาชุมนุมกัน  ก่อนที่จะนิมนต์พระขึ้นเทศน์มหาชาติตลอดทั้งวันจนครบ  13  กัณฑ์  ในการทำบุญผะเหวดของชาวภาคอีสาน  สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือทำขนจีน  หรือ ที่ชาวภาคอีสานเรียกว่าข้าวปุ้น  และข้าวต้มมัด  แจกจ่ายให้ญาติมิตร  แจกผู้คนที่มาแวะเยี่ยม และนำไปทำบุญที่วัด  จนเรียกกันติดปากของคนในภาคอีสานว่า ไปกินข้าวปุ้น  เอาบุญผะเหวด 

 

            งานบุญผะเหวดหรืองานบุญพระเวส  นั้น นิยมกระทำกันในเดือนสี่  สำหรับในภาคอีสานท้องถิ่นที่มีการจัดงานบุญผะเหวดจนเป็นที่เลื่องลือ คือ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับ ทททได้นำเอางานประเพณีงานบุญผะเหวดมาพัฒนา  ฟื้นฟูให้เป็นงานใหญ่  และจัดให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  มาตั้งแต่ปี พ..  2534   ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  โดยกำหนดเอาวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์  แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี  จัดให้มีงานขึ้นที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด  บริเวณหน้าบึงพลาญชัย .เมือง จ.ร้อยเอ็ด  สำหรับในปีนี้จังหวัดร้อยเอ็ด  กำหนดจัดให้มีงานบุญผะเหวดขึ้นระหว่างวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ที่  5-6-7  มีนาคม 2553 

 

            จังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้มีงานบุญผะเหวดประจำปี  2553   ขึ้น ณ บึงพลาญชัย - บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณี  การจัดงานบุญเดือนสี่  หรืองานบุญผะเวดในฮีต  12  ของชาวไทยภาคอีสานให้คงอยู่สืบไป  และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียง  แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมีรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

 

            สำหรับกิจกรรมที่สำคัญในงาน ตลอดทั้ง  วัน  จะประกอบด้วย  ในวันที่  มีนาคม    ช่วงบ่ายจะมีพิธีอัญเชิญพระอุปคุตแห่ไปรอบเมือง  เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา  แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด  ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน  ส่วนในช่วงเย็นจะมีการแสดงแสง-สี-เสียง  และศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี ของท้องถิ่น  จากวิทยาลัยนาฎศิลป์ร้อยเอ็ด  ณ เวทีภายในเกาะกลางบึงพลาญชัย ในวันที่  6 มีนาคม  ตั้งแต่เวลา  09.00 ก็จะมีพิธีเปิดงานด้วยขบวนแห่ตำนานเวสสันดร  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเวสสันดร  พระนามของพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ก่อนที่จะประสูติมาเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีด้วยกัน  13 ขบวน   โดยจะมีการตกแต่งอย่างสวยงาม  พร้อมการแสดงศิลปวัฒนธรรม  นอกจากนี้ก็จะมีการจัดซุ้มของชาวคุ้มวัดอำเภอ  กิ่งอำเภอ  ส่วนราชการ  หน่วยงานภาคเอกชน  นักท่องเที่ยวได้รับประทานฟรีตลอดงานตามประเพณีโบราณสืบต่อกันมา  และการแสดงเป่าโหวด, การเทศน์มาลัยหมื่น มาลัยแสน  ส่วนในวันสุดท้ายของงาน คือวันที่  มีนาคม จะมีการแห่ข้าวพันก้อนตั้งแต่เช้ามืด, การทำบุญตักบาตร, การแสดงเทศน์มหาชาติ  โดยพระนักเทศน์ชื่อดัง  ตั้งแต่เช้าจรดเย็น, การแห่ต้นเงิน หรือต้นกัณฑ์จอบกัณฑ์หลอนของข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน   ภาคเอกชน  ทั่วทั้งจังหวัด    เข้ามาถวายเป็นกัณฑ์เทศน์  ตลอดทั้งวัน  นอกจากนี้เราก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ  และของดีของเมืองร้อยเอ็ด  ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชม เลือกซื้อ  อีกมากมาย   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรสิงขร
หมายเลขบันทึก: 342248เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท