กำจัด "จุดอ่อน" ด้วย "จุดบวก"


ทำ AI ต้องทำ SWOT ด้วยรึเปล่า (ว่าด้วยจุดอ่อน)

สืบเนื่องจากตอนก่อน ผมอยากเขียนวิธีการทำ SWOT ในมุมมองของ Appreciative Inquiry ต่อครับ เคยเจออย่างนี้ไหมครับ คือทำ SWOT Analysis ออกมาแต่ Synthesis (เอาไปใช้ไม่ได้) จุดแข็งก็กลายเป็นจุดแข็งอยู่อย่างนั้น จุดอ่อนก็อ่อนตลอดชาติ โอกาสเห็นๆ แต่ก็เห็นอย่างกะอากาศ ภัยคุกคาม ก็คุกคามจนองค์กรเหมือนเป็น องค์กรติดคุก ไปทุกที

วันนี้มาว่าด้วยจุดอ่อนครับ ได้ยินมาบ่อยครับเช่น "พนักงานไม่มีความชำนาญ" "เงินทุนไม่พอ" "ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญทางการตลาด" "การบริหารงานไม่เป็นระบบ"

ครับพอปีต่อมาพอมาวางแผนกลยุทธ์กันอีก ก็จะออกมาคล้ายๆกันอีกครับ เกิดอะไรขึ้นหรือครับ ทำไมถ้าเราเจอจุดอ่อนแล้ว อย่างน้อยมีใครซักคนในบริษัทที่เก่งก็ควรจะแก้ปัญหาได้ซักทีสิ ก็ระบุปัญหาได้แล้วนี่ จึงยังเห็นอ่อนอย่างไรก็อ่อนอย่างเดิม

ลองถอยมาซักก้าวหนึ่ง ครับ บางที เราอาจต้องลองเปลี่ยนมุมมองในการค้นหา Weakness แล้วครับ

ในมุมมองของ Appreciative Inquiry นั้นในระบบมีอะไรที่ Work แต่ซ่อนเร้นรอการค้นพบอยู่ครับ ข้อสันนิษฐานของผม คุณอาจจะใช้วิธีค้นหาจุดอ่อนแบบหยาบเกินไปครับ คุณอาจไม่เจอจุดอ่อนด้วยซ้ำ

ลองดูตัวอย่างนี้ครับ เป็นโรงงานผลิตแผงวงจรแถวขอนแก่น ตอนแรกก็ทำ SWOT คล้ายกันนี่แหละ ก็อย่างเดิมครับ ปัญหาของเขาคือแรงกดดันจากยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ให้ต้องผลิตเยอะขึ้น แต่ของเสียก็เพิ่มตามคือต้องทำ Rework งานใหม่ เพราะคนงานเสียบสายไฟผิดสีบ่อย เราก็เลือกปัญหานี้มาลองคิดกัน ตอนแรกก็ไม่รู้จะเรียกว่าเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนไหม ไอ้ปัญหาเสียบสายไฟผิด เพราะมันก็ผิดตามมาตรฐานอเมริกันเป๊ะ คือโรงงานนี้เป็นสาขาของโรงงานในอเมริกา ที่มีอัตราส่วนของเสียจากสายการผลิตแบบเดียวกันประมาณ 5,000 ต่อล้านชิ้นครับ ที่ขอนแก่นก็เสียประมาณนี้ ตกลงมันเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนรึเปล่า

บางทีเราจะเรียกว่าเป็นขอบเขตที่ยอมรับได้ เรื่องนี้จึงไม่เคยกลายเป็นจุดอ่อนครับ

ลองท้าทายตนเองดูกันดีกว่า เราเริ่มไล่กันว่ามีกี่สายการผลิต เขาบอกสาม ถามต่อครับ แล้วสายการผลิตไหนเสียน้อยที่สุด ครับงงอยู่สักพักก็เจอว่าสายการผลิตที่สอง

มาสิครับมาสืบกัน ลองเช๊คดูรายงาน ก็ต้องตกใจครับ มีคนงานคนหนึ่งทำของเสียน้อยกว่าคนอื่น ยิ่งสาวไปยิ่งน่าตกใจครับ ตามมาตรฐานอเมริกันถ้าคนงานคนไหนทำไม่พลาดติดต่อกันสองเดือนนี่ก็เก่งสุดๆแล้ว แต่คนไทยคนนี้สองปีติดต่อกันครับ ไม่เคยเสียเลย

นี่แหละครับ เหตุการณ์ประหลาด ในที่สุดพอไปสังเกตดูปรากฏว่าเขามีวิธีการจับสายลงบอร์ด แบบของเขาเอง คือพลิกมือไปคนละทิศกันคนอื่นครับ ซึ่งแม้แต่วิศวกรเองก็งงครับ เพราะคิดไม่ถึง ไม่มีใครสั่งเขาปรับตัวของเขาเอง แต่ Work กว่าวิธีที่โรงงานในอเมริกากำหนดมา ในที่สุดเราขยายผลครับ เอาคนงานทั้งโรงงานมาดูแล้วทำตาม ถ่ายวิดีโอ ให้ดูตอนเที่ยง ปรับเอกสารปฏิบัติงานครับ ในที่สุด จากจุดนี้ เราสามารถลดของเสียลงได้กว่า 50% ครับ (ดูเอกสารได้ที่ www.aithailand.org)

สรุปแล้วในมุมมองแบบ Appreciative Inquiry ในระบบมีอะไรที่ Work ซ่อนเร้นอยู่ครับ ถ้าไม่มองก็ไม่เจอ ไอ้ที่ work นี้คือจุดแข็ง ที่เป็นคำตอบไปแก้จุดอ่อนอีกทีครับ

แล้วอย่าลืมท้าทายตนเองนะครับ จุดอ่อนที่ยังเป็นจุดอ่อนอยู่ เพราะเรายอมรับว่ามันเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ครับ ลองปลี่ยนมุมมองและวิธีการหาจุดอ่อน จากจุดแข็งสิครับ อาจได้อะไรที่นึกไม่ถึงทีเดียวครับ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกของคนทำงานทุกคน

เป็นกำลังใจให้คนสู้งาน สู้ชีวิตทุกท่านครับ

และวันนี้ "สุขสันต์วันเสาร์ครับ"

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 342239เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่แวะไปทักทายกัน

เคยอ่านในหนังสือซีเคร็ท (ถ้าจำไม่ผิด) พระคุณเจ้า ว.วชิรเมธี ก็นำ SWOT มาใช้ในการเผยแพร่พุทธศาสนาเหมือนกันค่ะ

สวัสดีวันเสาร์ครับอาจารย์

บทความนี้ได้ข้อคิดดีๆเยอะเลย

สุดยอดมากเลยครับ... ผลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

ค้นหาจากปัญฆา เพื่อให้ได้เจอวิธีแก้ที่เวิร์คสุดๆ

ขอบคุณครับอาจารย์ ^^

สวัสดีค่ะ อาจารย์

อ่านแล้ว คิดอะไรได้ หลายอย่างเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

บุญรักษาค่ะ ^^

เป็นอะไรที่สุดยอดมากเลยครับอาจารย์

วันนี้มีคำว่า "เอ็ดดูเทนนิง" มาเสนอครับอาจารย์

เอ็ดดูเทนนิงมาจากคำว่า เอ็ดดูเคชันที่แปลว่าการศึกษา รวมกับคำว่าเอนเตอร์เทนนิงที่แปลว่าการให้ความบันเทิง จึงมีความหมายว่า การให้การศึกษาโดยวิธีบันเทิงๆ หรือสนุกๆ โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

เห็นคำนี้แล้วนึกถึงวิธีการสอนของอาจารย์เลยครับ

วันนี้ผมแวะมาที่คณะ แต่ไม่พบอาจารย์ ผมเลยฝากหนังสือ The Tipping Point ไว้กับพี่ติ๊กที่ห้องสมุด MBA นะครับ

เป็นงานของคุณเอกลักษณ์ และคุณผาณิต

ขอบใจโปเต้ และไพรัชชน์

อขบใจเทพดรุณที่แวะเอาหนังสือมาให้นะ ขอบใจมากๆ

อาจารย์คะ หนูได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เขาเขียนเกียวกับ มุมมองที่จะสร้างสุขได้หน่ะคะ มันเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี

หนูไม่แน่ใจว่า อ.จะเคยได้ยินหรือเคยอ่านหรือยัง แต่หนูชอบมากกก.... เลยอยากเล่าให้ฟังคะ

เรื่อง "แอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มีวันตก"

ครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น เคยมีพายุใต้ฝุ่นที่ทำลายไร้แอ๊ปเปิ้ลของชาวสวนจนพินาศกันเป็นแถบ

ชาวสวนจำนวนมาต่างพากันเศร้าเสียใจ เพราะพืชผลได้เสียหายไปเกือบ 90%

แต่มีคนหนึ่งที่ยังยิ้มได้ และหาหนทางแก้ไข เพราะมันไม่สามารถเรียกร้องอะไรจากภัยธรรมชาติคืนได้

และ เอาเหตุการณ์นี้(จุดด้อย) มาสร้างจุดเด่นให้กับ แอ๊ปเปิ้ลที่เหลืออีก 10% ของเขา

โดย เขาตั้งชื่อให้กับแอ๊ปเปิ้ลว่า "แอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มีวันตก" คะ แล้วนำไปขายให้กับนักศึกษา ลูกล่ะ 1000 เยน

ปรากฎว่าขายเป็นเทน้ำเทท่า จนหมดเกลี้ยง.... มันสร้างรายได้ให้กับเค้าเป็นกอบเป็นกำ อาจจะมากกว่าแอ๊ปเปิ้ลทั้งสวนที่เคยขาย

นี่แหละคะที่ว่า พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และมันใช้ได้ดีด้วยใช่มั้ยคะอาจารย์

ตอบเทพดรุณอีกครั้ง ใช่ครับเทพดรุณ สอนกันให้สนุกไปเลยดีกว่า อาจารย์ก็ค่อยๆรวบรวมเทคนิคครับ ถ้าสนใจอาจารย์จะถ่ายอดให้หมดเลย

ตอบคุณ Ning AI เป็นอะไรอย่างที่คุณว่าครับจริงๆ ครับ ขอบใจสำหรับบทความนะอาจารย์ก็พึ่งเคยได้ยิน

สวัสดีตอนเช้าคุณแก้ว ขอบคุณที่แวะมานะ

สวัสดีตอนเช้าคุณแก้ว ขอบคุณที่แวะมานะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท