มีการกำหนดตัวชี้วัดสำคัญของการดูแลคนไข้ คือ อัตราการเกิดแผลกดทับ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานก็มาช่วยกันหาวิธีป้องกันและเฝ้าระวัง และคิดว่าจะไม่ทำเป็นโครงการ แต่จะต้องทำในการปฏิบัติงานประจำในที่สุด เราก็ทำได้ จึงอยากบอกถึงวิธีการที่ทำมาเพื่อจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับที่อื่น
1. ประเมินความเสี่ยงในคนไข้ที่มาโดยรถนอน/รถนั่งทุกราย และบันทึกคะแนนความเสี่ยงไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในแต่ละเดือน ว่าเราดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงกี่ราย
2. แบ่งระดับความเสี่ยง เป็น 3 ระดับ คือคะแนนน้อยกว่า 12 คือเสี่ยงมาก คะแนน 13-14 คือเสี่ยงปานกลาง 15-16 คือเสี่ยงน้อย
3. กำหนดวิธีการป้องกัน โดยใช้เครื่องมือมาช่วย คือ ถ้าเสี่ยงมาก ให้พิจารณาเลือกใช้ที่นอนลม เสี่ยงน้อยลง ให้ใช้อุปกรณ์เสริม ได้แก่"ผ้าปูรังผึ้ง" ซึ่งประยุกต์มาจากผ้ายางรองเด็กที่อัดลมไว้ข้างใน มาปูซ้อนกัน 2 ผืน
4. จัดทำป้ายคะแนนความเสี่ยง 3 ระดับ เพื่อง่ายต่อการติดตามประเมิน คือ ป้ายสีแดง จะบอกคะแนนเสี่ยงสูง ป้ายสีเหลือง บอกคะแนนเสี่ยงปานกลาง ป้ายสีเขียว บอกคะแนน เสี่ยงน้อย (พยายามใช้สีที่จำง่ายเหมือนไฟจราจร)
5. ติดป้ายคะแนนความเสี่ยงที่ประเมินได้ไว้ที่หัวเตียงผู้ป่วยทุกคนที่เสี่ยง(ป้ายเตือน) และติดตามวิธีการป้องกันตามแนวทางที่กำหนดไว้ทุกวัน ขณะที่มีการเยี่ยมตรวจผู้ป่วย และประเมินใหม่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง(โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประเมินความเสี่ยงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติ)
6. ปูเตียงผู้ป่วยให้เรียบตึงตลอดเวลา โดยใช้ไม้พายช่วยสอดใต้เบาะ วิธีนี้ทำให้มือคนปูเตียงไม่ช้ำ และปูเตียงไห้ตึงได้ง่าย
7. จัดท่าพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ตามตารางที่กำหนด พร้อมไขหัวเตียงสูง 30 องศา เพื่อลดแรงกด ซึ่งสามารถไขเตียงให้ได้ระดับ 30 องศาได้ง่ายโดย ใช้ไม้ฉากมาวัดมุมหัวเตียง และใช้สติกเกอร์สีติดทำเครื่องหมายไว้ เพื่อให้ทุกคนไขเตียงได้ระดับเดียวกัน
8. กรณีที่อากาศร้อนอบอ้าว/ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก ให้ใช้ผ้าปูรังผึ้ง เพื่อลดความอับชื้น(ทดลองใช้มา 2 ปี ใช้ได้ดีค่ะ) ถ้าผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดบริเวณท้ายทอย หรือผ่าตัดเอากระโหลกศีรษะออก ให้ใช้ผ้าปูรังผึ้งมาทำเป็นปลอกหมอน จะลดแผลกดทับที่ศีรษะได้
9. สำรวจผิวหนังผู้ป่วยทุกวันขณะที่เช็ดตัว ถ้าเกิดรอยแดงไม่จางหาย ให้ใช้ cold pack หรือนำแข็งประคบ
10.ติดตามการปฏิบัติและผลลัพธ์ทุก 1 เดือน และบอกกล่าวข้อมูลเพื่อเป็นกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย เกษ_NEURO ใน ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย neuro
ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ