KM ที่รัก ( ตอน การจัดการความรู้ ฉบับ SUSU )


Think of information as data that makes a difference.

        บรรยากาศ ของห้องเรียนวันนี้พิเศษกว่าทุกวันเพราะมีที่ปรึกษา มานั่งสังเกตุการณ์ (ดร.ธิติพล) อ.SUSU ยังพูดเรื่อง  การจัดการความรู้ต่อ มีการเชื่อมโยงไปถึงหลายกรณีรวมถึง มีคำถามจาก อ.วรรณา เกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลช่วงแรกเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พอสรุปใด้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบ ที่เป็นการสั่งการตามแนวดิ่ง คนในองค์กร ไม่มีส่วนร่วม  ซึ่งเมื่อ เกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว จะแก้ไขค่อนข้างยาก  แต่ถ้ามีการจัดการให้คนในองกรมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม ก็จะมีการบริหารหรือสั่งการ ในแนวนอน เมื่อคนในองค์กรมีส่วนร่วม เมื่อเกิดปัญหาก็จะมีกระบวนการและความร่วมมือกัน

             สาระสำคัญและมุมมองอีกที่น่าสนใจคือ

The Challenges for KM

            Barriers to sharing

                   1.The decision has been made by others with out consultation.

                    2. No common ground to exchange expert Knowledge with others.

             Solotiong

                     1.Getting the commitment off key expert to share

                      2.Finding common ground for members to work on commonalities  togetter ie; communities  of practice.

                       3. Providing support   of the new teams  as they learn to work together.

                          ท่านใดมีข้อเสนอหรือข้อแนะนำ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ขอขอบคุณล่วงครับ..กระผม...

หมายเลขบันทึก: 34170เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องการส่งเสริมให้เกิดการทำงานในแนวราบนั้น มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว  ไม่ทราบว่าอ.ศิริพงษ์ และ อ.วรรณา มีวิธีปฏิบัติ หรือ ตัวอย่างกิจกรรมให้เห็นบ้างหรือไม่

        เรียนคุณ อ้อม,อ้อ,หญิง ณ สคส(สคส.=สามสาวคนสวย)   จริงๆแล้วเรื่องที่คุณครูSUSU สอนทั้งหมด เป็นเรื่อง ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาแนวคิดนี้เพื่อพัฒนาให้เกิดกระบวนการทำงานในแนวราบ ในความหมายของผม หมายถึงกระบวนการทำงานที่เกิดมาจาก ความร่วมมือของทุกคนในองค์กร ผมเองใด้นำไปใช้ โดยไม่รู้ตัว ในองค์กรห้องเรียนเล็กๆในระดับประถม(กลุ่มที่ไปนำเสนอในงานของ สคส.ครับ) จากการที่เราสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยคำนึงถึงการเคารพในศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ ผลจากจัดกระบวนการดังกล่าว ทำให้ผมพบกับความประหลาดใจในหลายเรื่อง ที่สามารถแก้ปัญหาที่วงการศึกษา ยังไม่สามารถแก้ได้ เช่น ปัญหาเด็กไม่อยากเรียน  ปัญหาเด็กไม่กล้าคิดและไม่กล้าทำ และอีกมากมาย (ถ้าจะเล่าทั้งหมดคงจะยาวมาก เอาไว้โอกาศหน้าครับ) สรุปง่ายๆคือ เด็กๆเขาจะค้นพบตัวเอง รู้คุณค่าของตัวเอง และคนอื่นเกิดกระบวนการคิดการทำงานและการแก้ปัญหากันเอง และสามารถจัดการองค์กรของตัวเองได้ ยังมีกรณี/ตัวอย่างอีกมากวันหลังเดี๋ยวเล่าให้ฟังครับ  ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท