Appreciative Inquiry - Chapter 4 (3)


“ถ้าเปลี่ยนเรื่องพูด เสียงจากใจก็เปลี่ยน”

              วันนี้ ก็มาตีความกันต่อนะคะ
              หลังจากได้แนวทางแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาไปหนึ่งข้อแล้วเมื่อตอนที่แล้วคือ การสร้างมโนทัศน์ร่วม / ฝันที่เป็นจริง  (Socially Constructing Reality) โดย Professor David Cooperrider   คราวนี้ เป็นข้อที่สองคือ สมมติฐานเบนเข้าหาจุดหมาย

2)  สมมติฐานเบนเข้าหาจุดหมาย (The Heliotropic Hypothesis) 

*  สมมติฐานนี้ เป็นเรื่องของการตอกย้ำมโนภาพเชิงบวก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

*  ในการทำให้เกิดภาพที่ตอกย้ำ ต้องคิดอย่างรอบคอบว่า จะใช้วิธีการ / กระบวนการ ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ จะปล่อยให้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ถ้าต้องใช้วิธีการจัดการ ต้องดูว่า มีใครที่เกี่ยวข้อง / เมื่อไรจะเกิดภาพที่เหมาะสม / ภาพไหนที่เหมาะแก่การนำไปใช้

สำหรับข้อที่ 3 - 5   Dr. Gervase R. Bushe  เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้จากการนำ AI ไปใช้

3)  เสียงจากใจที่อยู่ภายในขององค์กร

*  Dr. Gervase R. Bushe สังเกตว่า  ถ้าคนในองค์กรมีการพูดคุยกัน เช่น มีการประชุม จะเกิดภาวะการรับรู้ภายในองค์กร 

*  นอกจากการประชุมแบบวงใหญ่ (เป็นการเป็นงาน) แล้ว ยังมีการคุยแบบวงเล็ก (คุยนอกวง-คุยเรื่องที่เป็นความลับ) ซี่งมักจะไม่นำพาไปคุยในวงใหญ่  องค์กรจึงพลาดโอกาสที่จะได้รับรู้ในส่วนนี้  ซึ่งก็เหมือนกับเสียงจากใจของคนเราที่ทำงานแบบจิตใต้สำนึก เป็นฝันกลางวัน ซึ่งเดี๋ยวเดียวก็ลืมแล้ว หรือไม่ทันได้สังเกตด้วยซ้ำไป  แม้ว่าจะเกิดจากการทำงานภายใต้จิตใต้สำนึก แต่ "การคุยแบบวงเล็ก" กลับส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการทำงานภายใต้จิตสำนึก

*  เสียงจากใจที่เกิดขึ้นในองค์กร เกิดจากเรื่องที่คนในองค์กรมักพูดคุยกันในวงเล็ก แต่ไม่พูดถึงในวงใหญ่

*  เสียงจากใจ มีพลังขับเคลื่อนอย่างมากในสังคม โดยเฉพาะการไขความนัย ในเรื่องความคิด และความรู้สึกที่แท้จริงของคนในขณะอยู่ในที่ประชุม

*  เสียงจากใจ ส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดผ่านเรื่องต่างๆ ที่คนพูดคุยกัน  ดังนั้น “ถ้าคุณเปลี่ยนเรื่องพูด เท่ากับคุณเปลี่ยนเสียงจากใจ”
    AI สามารถเปลี่ยนองค์กรได้ ถ้าองค์กรเปลี่ยนเรื่อง / ประเด็นในการพูดคุย

*  กุญแจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กร (OD) คือ เรื่องเล่า (storytelling) และ วิธีการสื่อสารในองค์กร คือ ใช้เรื่องสั้นที่ร้อยเรียงผูกพันกัน และการบันทึกเรื่องของตนเอง (written in the first person) ไม่ใช่แบบ ...เขาเล่าว่า....  แต่เป็น ... เราได้ทำอย่างโน้นอย่างนี้.......  และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ควรทำคือ หลีกเลี่ยงการสื่อสารบนแผ่นกระดาษ  ควรให้คนได้ฟังเรื่องเล่าจริงๆ ผ่านประสบการณ์จริง หรืออาจเล่าเรื่องผ่าน vdo ให้กลุ่มคนต่างๆ ได้ฟังเรื่องเล่า

*  การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้  ไม่ได้อยู่ที่การค้นหาหนทางใหม่  ... แต่ การบอกกล่าวเล่าเรื่อง และเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก จะให้ผลที่ดีกว่า

แล้วติดตามข้อที่ 4 และ 5 ในคราวหน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 34165เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท