อบรมการกรีดยางพารา


การกรีดยางพารา

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ได้จับอบรมหลักสูตรการกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสมระหว่างวันที่ 16-22 ก.พ. 53 ณ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อ.ท่าชนะ ทำให้ได้รับความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งได้ฝึกปฏิบัติตั้งแต่การลับมีด ฝึกกรีดท่อนซุง การกรีดยางในสวน ตลอดจนการเก็บน้ำยางมาทำยางแผ่น และความรู้ด้านพันธุ์ยาง การปรับปรุงพันธุ์ การจัดการสวน โรคยางพารา สามารถนำไปแนะนำให้ความรู้แก่เกษตรกรได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก จึงได้เก็บภาพบางส่วนในการฝึกอบรมในครั้งนี้

   อาจารย์ผู้สอนมีทั้งหมด 5 คน แต่อาจารย์คนนี้สอนกลุ่มเรา

               

 

              นั่งเรียงหน้าฝึกลับมีดแบ่งกันเป็น 5 กลุ่ม

วางท่อนซุงเพื่อใช้ในการฝึกกรีด การกรีดยางต้องใช้วิธีการกระตุกข้อมือวันแรกก็ฝึกกระตุกข้อมือกันไปก่อน ต่อไปต้องกรีดไม่ให้ถึงเนื้อไม้ให้กรีดให้ถึงท่อน้ำยาง ซึ่งอยู่ระหว่างเปลือกยางกับเนื้อเยื่อเจริญ อย่ากรีดให้ถึงเนื้อไม้ การกรีดต้องกรีดจากซ้ายลงมาทางขวาทำมุม 30-35 องศา เพราะท่อน้ำยางวนจากขวาลงมาซ้าย

การเปิดกรีดในครั้งแรกต้องให้ต้นยางได้ขนาดเส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร สูง 150 เซนติเมตร

 

                              

ฝึกมาได้ประมาณ 5 วันก็ไปฝึกกรีดในสวนยางจริง ได้น้ำยางมาเยอะแยะถ้าเป็นของเราเองไปขายก็ดีนะ จากนั้นนำน้ำยางมากรอง แล้วตวงใส่ตะกงสัดส่วน น้ำยาง 2 ลิตร น้ำสะอาด 2 ลิตร กวน 2-3 ครั้ง ผสมน้ำส้มซึ่งใช้กรดฟอร์มิค 94เปอร์เซ็น ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ1กระป๋องนม ใส่ลงไปในน้ำยางต่อ 1 ตะกง กวนสัก 5-6 รอบ อย่ากวนนานนะจะทำให้ยางแข็งตัวเร็ว ทิ้งไว้สักพักจึงนำยางที่แข็งตัวมาทำแผ่น ให้มีความหนา 1 เซนติเมตร แล้วจึงนำไปรีดต่อไป เสร็จแล้วนำไปแช่น้ำไว้สัก 1 ชั่วโมง จึงนำไปตาก

การทำยางแผ่นต้องให้มีความสะอาดจึงจะได้ยางที่มีคุณภาพดี

คราวนี้เราลองมาดูการทำงานของคนงานในศูนย์วิจัยยางฯซึ่งใช้เครื่องจักรทำให้รวดเร็วในการทำยางแผ่น  

                                 

กรดน้ำส้มที่ใช้เป็นกรดฟอร์มิค ส่วนที่ชาวสวนใช้เป็นกรดซัลฟูริค ใส่น้ำยางในบล็อกแล้วกวนผสมกับน้ำส้ม ใช้แผ่นเสียบคั่นทิ้งไว้ 1 คืนอีกวันจึงนำออกมา จึงจะนำมารีดได้ โดยใช้เครื่องรีดมีมอเตอร์เป็นเครื่องช่วยหมุน

ในช่วงบ่ายก็จะมีนักวิชาการมาบรรยาย ตั้งแต่พันธุ์ยาง การปรับปรุงพันธุ์ และได้ไปดูการทดลองรักษาอาการโรครากขาว ซึ่งเป็นปัญหากับเกษตรกรชาวสวนยาง

  เชื้อรา สาเหตุทำให้เกิดโรครากขาว    

       ขุดบริเวณรอบโคนต้นเพื่อนำยามาราดบริเวณที่เป็นโรค        

 

นักวิชาการ(เสื้อสีม่วง)บรรยายเรื่องโรคยางพารา

ส่วนรายละเอียดเรื่องโรคขอศึกษาหาข้อมูลก่อน จดไม่ค่อยทัน

 

                                                                     มลทิรา  เพชรรัตน์

                                                                      นวส.ปฏิบัติการ

                                                                     สนง.กษ.อ.เคียนซา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 339943เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

  • มีผู้เชี่ยวชาญเต็มพื้นที่เลย
  • ขอบคุณครับ ที่นำข้อมูลดีๆมาแบ่งปันกันครับ

จะมีเปิดอบรมอีกเมื่อไหร่ครับ จะขอเข้าอบรมด้วย

จะมีการเปิดอบรมกรีดยางอีกเมื่อไรครับจะขอเข้าอบรมด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท