รมว.ศธ.ประชุมด้านการศึกษาเพื่อปวงชน ที่เอธิโอเปีย


ประเทศไทยมีนโยบายหลักด้านการศึกษาของไทยที่สอดคล้องกับการศึกษาเพื่อปวงชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ โรงเรียนดีประจำตำบล โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ราคาถูก โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้แสดงความเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทิศทางที่ดี

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมการประชุมระดับสูงด้านการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ ๙ ของยูเนสโก ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ที่กรุงแอดดิส อบาบา

การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการหาแนวทางให้ทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน แต่จะเน้นมากในเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มชายขอบ หมายรวมถึงเด็กตามแนวชายแดน เด็กชาวเขา เด็กเร่ร่อน เด็กในภาวะสงคราม ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงและจัดการศึกษาได้ยาก เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี ค.ศ.๒o๑๕ จะต้องบรรลุเป้าหมาย ๖ ข้อ คือ ๑.ให้เด็กเข้าถึงการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ๒.เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ๓.ให้เด็กมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ  ๔.ลดเป้าหมายอัตราไม่รู้หนังสือทั่วโลกจาก ๗๘๘ ล้านคนลง ๕o เปอร์เซ็นต์  ๕.เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา  และ ๖.ทุกประเทศมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ยังได้มีการหารือเรื่องผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่มีต่อการศึกษาด้วย เพื่อหาแนวทางปกป้องกลุ่มเด็กด้อยโอกาสจากวิกฤติเศรษฐกิจ

ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ รมว.ศธ.ได้หารือกับ Mrs.Irina Bokova ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ว่าทางยูเนสโกได้ขอความร่วมมือจากทุกประเทศให้เร่งเดินหน้าขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง และครอบคลุมเด็กทุกกลุ่ม เนื่องจากขณะนี้ใกล้ถึงกำหนดเส้นตายในการบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนไปทุกทีแล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ.๑๙๙๐ ยูเนสโกและประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาจอมเทียน กำหนดเป้าหมายให้เด็กทั่วโลกทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในปี ค.ศ.๒๐๑๕ ซึ่งเหลือเวลาอีก ๕ ปี แต่ปัจจุบันยังมีเด็กอีกจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มเด็กชายขอบและเด็กด้อยโอกาสซึ่งมีจำนวนประมาณ ๗๒ ล้านคนทั่วโลก เพราะฉะนั้นยูเนสโกจึงต้องการให้ประเทศสมาชิกเร่งมือในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน และยูเนสโกยินดีจะให้ความช่วยเหลือ แต่ต้องการให้แต่ละประเทศช่วยเหลือตนเองก่อนเพราะเจ้าของประเทศย่อมรู้ข้อมูลของตนเองมากที่สุด

Mrs.Irina Bokova ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ยังได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการช่วยเหลือตนเองด้านการศึกษา ซึ่งยูเนสโกต้องการให้ทุกประเทศแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา เพราะหากการเมืองไม่ให้ความสำคัญแล้ว การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนจะสำเร็จได้ยาก อีกทั้งในปัจจุบันทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ส่งผลให้หลายประเทศต้องตัดลดงบประมาณด้านการศึกษาเพื่อให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติไปได้ ซึ่งยูเนสโกไม่ต้องการให้ประเทศต่างๆ ลดงบประมาณด้านการศึกษาลง นอกจากนั้นยังขอให้เข้าไปดูแลครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #ศธ ประชุม
หมายเลขบันทึก: 339940เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณค่ะ น้องชาย 

ติดตามอ่านต่อไปค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ และมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีครับ

P
P
P
ขอบคุณครับที่มาทักทายครับ
ด้วยความยินดีครับ

การศึกษา คือกระบวนการอันทรงพลังของการพัฒนา "คน"...
เด็กๆ ยังควรต้องได้รับการศึกษาที่ดี...และทั่วถึง...
เพราะพวกเขา คือ คนของวันพรุ่งนี้...

Dsc_0635-0

ขอบคุณครับ

Dsc_0661-00

 

สวัสดีครับ
อาจารย์แผ่นดิน
Mrs.Irina Bokova ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ยังได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการช่วยเหลือตนเองด้านการศึกษา

 ยูเนสโกและประเทศทั่วโลกได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาจอมเทียน กำหนดเป้าหมายให้เด็กทั่วโลกทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในปี ค.ศ.๒๐๑๕ ซึ่งเหลือเวลาอีก ๕ ปี

 

เห็นเด็ก ๆ ....สมัยที่เป็นเด็ก อยากไปโรงเรียน...มีความสุขมากครับ

 

มาเยี่ยม มาชม มาให้กำลังใจค่ะ

จะมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

สวัสดีครับ ครูจิ๋ว
มาแต่เช้าเลยนะครับ
ขอบคุณครับที่มาทักทาย...ด้วยความยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท