วันมาฆบูชาเราคนไทยไปวัดทำบุญกันเถอะ


วันมาฆบูชาเราคนไทยไปวัดทำบุญกันเถอะ

วันมาฆบูชาและสาระสำคัญ

ระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือเป็นวันเพ็ญกลางเดือน ๓
ความหมาย/ความเป็นมา
          วันมาฆบูชา มาจากคำเต็มว่า มาฆปุณณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ทางจันทรคติ แต่ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาศคือมีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนออกไปตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหตุที่ต้องมีการบูชาคือ รำลึกนึกถึงวันนี้ และมีพิธีกรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ อย่างมากก็เพราะในวันดังกล่าวนี้มีเหตุการณ์สำคัญ ๔ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือ
มาย ก็เพราะในวันดังกล่าวนี้มีเหตุการณ์สำคัญ ๔ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือ
          ๑. เป็นวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือเป็นวันเพ็ญกลางเดือน ๓
          ๒. เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
          ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนได้รับการอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากพระพุทธเจ้า
          ๔. พระสงฆ์ทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา

สาระสำคัญ
          ในวันที่มีเหตุการณ์ณ์สำคัญถึง ๔ เหตุการณ์ณ์มาบรรจบกันนี้ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๔ ประการ เป็นช่วงระยะเวลา ๙ เดือนโดยประมาณหลังการสถาปนาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงถือโอกาสนี้แสดง “โอวาทปาฏิโมกข์” ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญที่ถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์ประกอบด้วย สาระสำคัญ คือ
          ๑. หลักทั่วไปของพระพุทธศาสนา
              ๑.๑ ความอดทน คือ ตบะที่แท้ (ไม่ใช่การทรมานตน)
              ๑.๒ พระนิพพานคือจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
              ๑.๓ บรรพชิตในพระพุทธศาสนาต้องไม่ทำร้ายใคร
              ๑.๔ สมณะในพระพุทธศาสนาต้องไม่เบียดเบียนใคร
          ๒. หลักการปฏิบัติของพระพุทธศาสนา
              ๒.๑ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง (ตรงกับศีล)
              ๒.๒ การทำความดีให้ถึงพร้อม (ตรงกับสมาธิ)
              ๒.๓ การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ (ตรงกับปัญญา)
          ๓. คุณสมบัติของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา
              ๓.๑ ไม่กล่าวร้ายใคร
              ๓.๒ ไม่ประทุษร้ายใคร
              ๓.๓ สำรวมตนอยู่ในระเบียบวินัย
              ๓.๔ รู้จักประมาณในการบริโภค
              ๓.๕ นอน/นั่งในสถานที่อันสงบสงัด
              ๓.๖ หมั่นฝึกหัดพัฒนาจิต

กิจกรรมสำหรับชาวพุทธ
          ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธควรทำกิจกรรมที่เป็นบุญเป็นกุศล ตามความเหมาะสม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและน้อมรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้
          ๑. ให้ทาน อามิสทาน/ธรรมทาน/อภัยทาน
          ๒. รักษาศีล ศีล ๕/ศีล ๘/ศีล ๑๐/ศีล ๒๒๗/ศีล ๓๑๑
          ๓. เจริญจิตภาวนา สมถภาวนา/วิปัสสนาภาวนา
          ๔. จัดนิทรรศการ เพื่อเผยแผ่ความสำคัญของวันมาฆบูชา
          ๕. จัดอภิปราย/บรรยาย/เทศนา/ตอบปัญหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
          ๖. จัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่นับเนื่องในพระพุทธศาสนา เพื่อเผยแผ่ธรรม สร้างเสริมปัญญา เช่น เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการพระพุทธปฏิมาองค์สำคัญ ๆ ของวัด จัดฉายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น เรื่ององคุลิมาล พระเจ้าอโศกมหาราช ชมวิดิทัศน์ประวัติและฟัฒนาการของพระพุทธศาสนา, เยือนถิ่นพุทธภูมิ ฯลฯ
          ๗. จัดพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อแจกเป็นธรรมทาน ถวายเป็นพุทธบูชา เป็นต้น
          ๘. ร่วมพิธีเวียนเทียนที่ทางวัดจัดขึ้น
          ๙. ปล่อยนกปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ บริจาคโลหิต เลี้ยงเด็กและคนชราตามบ้านสงเคราะห์เด็กและบ้านพักคนชรา เป็นต้น
          สำหรับวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เปิดโอกาสให้ให้ประชาชนได้บำเพ็ญทานถวายอาหารบิณฑบาตร เปิดพระอุโบสถให้เข้าไหว้พระบูชาพระพุทธชินราช และเดินเวียนเทียนได้ตลอดวัน ปรากฏว่าทุกปีจะมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาร่วมเวียนเทียนจำนวนมาก เพราะบริเวณรอบ ๆ พระอุโบสถมีถนน สนามหญ้า กว้างขวาง ปลอดโปร่ง บรรยากาศเป็นที่รื่นรมย์
          เวลาประมาณ 20.00 น. พระสงฆ์วัดเบญจมบพิตร กล่าวสัมโมทนียกถาต้อนรับชาวพุทธ แสดงประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา และข้อธรรมสำคัญ แล้วนำกล่าวบูชา นำเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ สดมนต์ ฟังธรรมตามลำดับ.

ข้อมูล:
กองสาราณียกร “เบญจมบพิตรสัมพันธ์”

         

คำสำคัญ (Tags): #วันมาฆบูชา
หมายเลขบันทึก: 339309เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท