สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี.


สมรรถนะการพยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลในช่วงเวลา 1 กรกฎาคม 2552 – 30 พฤศจิกายน 2552 รวมระยะเวลา 5 เดือน กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน    37 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบประเมินสมรรถนะด้านการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพศัลยกรรม        ออร์โธปิดิกส์ของ อรุณี    มรกตพิทยารักษ์ (2550)  การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ในด้านความตรงตามเนื้อหา(Content validity) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) 1.00 และ ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient  และวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต ( Inter rater  reliability ) ด้านความรู้ใช้แบบวัดความรู้ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 ด้านการปฏิบัติใช้แบบประเมินพฤติกรรมหลัก (BARS) 4 สมรรถนะ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81  และ 0., 0.90 และ  0.89 , 0.70 และ  0.93 , 0.83 และ  0.84  ตามลำดับ ด้านการปฏิบัติใช้แบบสังเกตพฤติกรรม (Observation  checklist) 2 สมรรถนะ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1.0  และ 0.98 ตามลำดับ

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (Multivariate Analysis of Variance)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ด้านความรู้ และ ด้านปฏิบัติการ อยู่ในระดับดี   

                2.      ความสัมพันธ์ของหอผู้ป่วย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งราชการ ที่มีต่อสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ทดสอบด้วย Multivariate Tests(c)   พบว่าหอผู้ป่วยที่ต่างกัน ทำให้ สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านการปฏิบัติ ต่างกัน  (P < .05)  ผลการทดสอบอิทธิพลของตัวแปรต้นด้วยสถิติ Tests of Between-Subjects Effects ที่มีต่อตัวแปรตาม โดยการแยกทดสอบแต่ละสมรรถนะ พบว่า  หอผู้ป่วย มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการปฏิบัติ (P < .05)  

 

คำสำคัญ : สมรรถนะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ, การพยาบาลศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

หมายเลขบันทึก: 339219เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2010 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท