เสวนา "การดูแลผู้ป่วย ACS"


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทีมจัดการความรู้ได้จัดเวทีให้ทีมดูแลผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome ได้มีการ sharing กันในเรื่องการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่ ผู้ป่วยนอกจนถึงผู้ป่วยใน โดยมี คุณหมออายุรแพทย์ เป็นผู้เสริมและบอกสิ่งที่ดีกว่าให้แก่เรา พร้อมทั้งมีคุณหมอเด็กผู้เป็นประธานองค์กรแพทย์ร่วมแลกเปลี่ยนกับเราด้วย

 

เราได้เรื่องเล่าที่ดีเป็นแบบอย่างมาหลายเรื่อง อย่างเช่น เอ๊กซเรย์บอกว่า เมื่อก่อนมีคนไข้ที่มาหัวใจหยุดเต้นที่เอ๊กซเรย์ หลังจากนั้นมาก็ปรับปรุงระบบกันใหม่ มีการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ ฟื้นฟูการช่วยฟื้นคืนชีพให้แก่ทีมเอ๊กซเรย์ มีการประสานงานกับห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ทำให้การประเมินคนไข้ได้ดีขึ้น อุบัติการณ์ก็ไม่เกิดขึ้นอีก

 

อุบัติเหตุ-ฉุกเฉินบอกกับเราว่า คนไข้ที่มาที่ ฉุกเฉิน เราจะประกันเวลาในการให้การดูแลผู้ป่วยไว้ไม่เกิน 10 นาที ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจคลื่นหัวใจ การรายงานแพทย์ การส่งเลือดตรวจ การส่งเอ๊กซเรย์ การเปิดเส้นเลือดดำ

 

คุณหมอประกันกับเราว่า หมอจะมาภายใน 15 นาที และให้การรักษาโดยการให้ยาไม่น้อยกว่า 30 นาที และในบางครั้งอาจจะต้องเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ถี่หน่อย เพราะนอกจากเรื่องการวิจัยแล้วก็อาจจะต้องประเมินให้ได้ แม้จะไม่ใช่6 ชั่วโมงตามที่ ไกด์ไลน์เขียนเอาไว้ แม้ว่า การตรวจเลือดจะไม่ดีเท่าการตรวจคลื่นหัวใจก็ตาม

 

ในช่วงการดูแลผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลแล้วภายใน 48-72 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนักเพื่อเฝ้าระวังอาการเจ็บหน้าอก การเต้นผิดปกติของหัวใจรวมถึงสัญญานชีพต่างๆ หากมีการให้ยาละลายลิ่มก็ต้องเฝ้าระวังอาการที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของการมีเลือดออก ความดันโลหิตตกหรือจนอาจจะเกิดการช้อคได้ หากมีการให้ยามาจากห้องฉุกเฉิน หากจะส่งเข้าหอผู้ป่วยหนัก ก็ต้องมีการเฝ้าติดตามและใช้เครื่องในการหยดสารละลาย มีพยาบาลติดตามมาส่ง หากจะต้องส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน

 

การจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านก็ต้องดูแลเรื่องโรคร่วม ไม่ว่าจะความดันโลหิตสูง เบาหวาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ก็ต้องให้คนไข้งดและเลิกสูบบุหรี่ไปในที่สุด

 

บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนค่อนข้างสบาย มีเสียงหัวเราะ เฮฮาเป็นบางโอกาส และให้การแบ่งปันกันเป็นอย่างดี เครื่องให้สารน้ำที่ห้องฉุกเฉิน ใช้การได้ไม่ดีเพราะไม่มีชุดให้สารน้ำโดยเฉพาะ ทางหอผู้ป่วยก็รับปากจะสับเปลี่ยนให้  คนไข้ที่มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก เมื่อก่อน มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง ก็จะส่งๆไปที่ห้องฉุกเฉินตามไกด์ไลน์ที่ได้กำหนดไว้ ทำให้คนไข้ไปออที่ฉุกเฉินเยอะมาก จากนี้ พยาบาลก็จะให้การดูแลเหมือนที่ห้องฉุกเฉิน หากอาการไม่รุนแรงนัก  คนไข้ที่เคยหลุดให้เดินไปเจาะเลือดที่ห้องชันสูตร ต่อไปน้องผู้ช่วยก็จะผ่านให้พยาบาลตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และไม่ให้คนไข้เดินไปเองจะทำการเจาะส่งเองและให้คนไข้ได้นอนพัก

 

การประชุมปิดลงด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้มของทุกคนที่พึงพอใจในการแบ่งปัน ทีมงานได้ทำการ BAR หลังการประชุมบอกว่า บรรยากาศใช้ได้ทีเดียว ทุกคนยอมรับในการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ดี แถมยังได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคนที่ไม่รู้ อย่างเช่น พยาบาลรู้เรื่อง เอ๊กซเรย์  เรื่องแลบ   แลบ เอ๊กซเรย์ ก็รู้เรื่องของแพทย์ พยาบาล ซึ่งจะทำให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในได้ดีขึ้น การประสานงานก็ง่ายเนื่องจากรู้สภาพงานของแต่ละคน

 

 

 -

ประเด็นสำคัญในการดูแล คนไข้ ACS ก็คือ เวลา ในเรื่องของ

  1. การวินิจฉัยแยกอาการเจ็บหน้าอก(รวมถึงประสบการณ์ในการดูแล)
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  3. การได้รับยาละลายลิ่มเลือด
  4. การส่งเลือดตรวจหาเอนไซม์

 

สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อ ได้แก่ เรื่องของการเต้นผิดปกติของหัวใจ อาการเจ็บหน้าอก การเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนของยาละลายลิ่มเลือด

หมายเลขบันทึก: 338608เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ น้องรัก

มาทักทายด้วยความคิดถึง

รักษาสุขภาพนะคะ

มีความสุขทุกๆวันนะคะ  วัดการเต้นของหัวใจประจำเหมือนกันค่ะ เป็นอวัยวะที่ไม่มีเวลาหยุดพักเลย นะคะ

                 

      

สวัสดีค่ะ..ต้องขอบคุณแทนผู้มารับบริการ

ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ใส่ใจในรายละเอียดของการบริการ

ชื่นชมในการประสานงาน..ยอดเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

 

คิดถึงพี่อ้อยเช่นกันค่ะ

ขอบคุณน้ำมันมะพร้าวค่ะ

ขอบคุณผู้ไม่แสดงตนค่ะ

ผมขอระบายหน่อยครับที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวกวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2553 เวลาเที่ยงคืนผมพาหลานไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

หวังว่าเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะช่วยเหลือคนยากคนจนเพราะหมอและพยาบาลก็กินเงินภาษีผมอยู่ด้วยเรื่องก็คือหลานผมนอนละเมอแล้วกระโดดบ้านผมพาไปโรงพยาบาลคุณพยาบาลก็ต้อนรับได้ถูกใจคนหวังพึ่งโรงพยาบาลรัฐแห่งนี้ที่สร้างเว๊ปไซด์หลอกตาประชาชนว่าการบริการดีเลิศแต่ของจริงมันห่วยแตกตั้งแต่เข้าไปพยาบาลถามว่าอาการเป็นอย่างไร เด็กมันเจ็บจะให้พูดออกหรอพี่สาวเด็กก็ตอบแทน

คุณพยาบาลก็หันมาบอกว่าคุณไม่ใช่คนเจ็บคุณรู้หรอไม่ต้องยุ่ง เป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของพยาบาลของโรงพยาบาลที่ได้แนะนำตัวเองว่าพัฒนาคุณภาพการบริการดีเลิศพอหมอมาก็ไปเอ็กซ์เรย์ผลออกมาว่าขาไม่หักแค่บวมเฉยๆแล้วก็ให้ยาไปกินแล้วก็บอกว่าให้มาเช็คอีกทีกับหมอเฉพาะทางวันจันทร์เพราะติดเสาร์อาทิตย์โอเคผมพาหลานกลับบ้าน วันจันทร์ที่8 มีนาคม 2553 ผมพาหลานไปที่โรงพยาบาล

เพื่อเช็คกับหมอเฉพาะทางอีกครั้งพอพบหมอเขาก็เอาฟิมล์เอ๊กซ์เรย์มาดูเกิดอะไรรู้ไหมครับหมอเฉพาะทางบอกว่าฟิมล์ที่เอ็กซ์เรย์เมื่อวันศุกร์ผิดรุ่นดูไม่ได้ต้องเอ็กซ์เรย์ใหม่เอาฟิมล์ที่ถูกรุ่นใช้ทำเอาผมอึ้งเลยแล้วหมอคนที่ทำวันศุกร์ตกลงเป็นหมอหรือเปล่าเพราะผมคิดตามหลักความจริงเรื่องแบบนี้มันเป็นเบสิคของการเป็นหมอไม่ควรจะพลาดแบบนี้ถ้าเกิดเป็นคนไข้ที่ใกล้ตายก็ไปวัดแล้วหลังจากเอ็กซ์เรย์เสร็จหมอเฉพาะทางดูฟิมล์บอกว่าไงรู้ไหมครับหมอบอกว่าขาเด็กหักทั้ง 2 ข้างใช้ได้ไหมครับคุณภาพโรงพยาบาลนี้ต่อจากนั้นหมอก็เข้าเฝือก

แล้วก็ให้ยาแก้ปวดกับแคลเซียมไปกินบอกต่อว่าอีก 2 อาทิตย์ให้มาดูถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องผ่าตัดคุณว่าผมควรจะมาอีกไหมครับแค่เอ็กซ์เรย์ก็ทำเอาหัวใจชุ่มฉ่ำแล้วนี่ถ้าผ่าตัดจะเกิดอะไรขึ้นผมอยากให้ผู้บริหารโรงพยาบาลลองทบทวนนโยบายและติดตามผลอย่างจริงจังกับคุณภาพที่โปรโมตนักหนาว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้แต่เอาเข้าจริงก็ไม่เข้าท่าผมไม่รู้ว่าโรงพยาบาลนี้ได้ ISO หรือยังถ้ายังอย่าหวังเลยว่าจะมีวันนั้นเพราะหมอและพยาบาลยังไม่จริงใจและจริงจังเพื่อที่จะทำงานบริการให้กับสังคมเอาแต่จะนอนกินเงินเดือนที่เป็นภาษีของคนทำงานอย่างผมไปวันๆ

หวังว่ามันคงจะดีขึ้นสำหรับคนดำเนินสะดวก

จากคนเสียภาษีที่ไม่คุ้มค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท