ประสบการณ์อันล้ำค่าของ นักศึกษาสาขาการบริหารอาชีวศึกษา รุ่น 16 สจล.‏


การนำองค์ความรู้ที่ได้นำไป ประยุกต์ใช้กับงาน

         ได้รับเมล์ของพี่ที่เคยเรียนปริญญาโท ด้วยกันที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งความประทับใจ และมีประสบการณ์หลายๆ เรื่องจากสาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา จากครู อาจารย์ และจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในรุ่นเดียวกัน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 กว่าชีวิต ได้ขออนุญาตเจ้าขอข้อความที่ส่งเมล์มาเพื่อแบ่งปันให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้เรียนสาขาวิชาบริหารอาชีวศึกษา ได้ทราบและเปิดใจรับในสาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา เพราะมีบางคำถาม บางประโยคว่า เรียนไปทำไมสาขาวิชานี้ เราทำงานในมหาวิทยาลัย ไม่ได้ทำงานในสถาบันอาชีวศึกษา และยิ่งไม่ได้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาด้วยแล้ว เหมือนไม่มีประโยชน์ เรียนไปก็เสียเวลาเปล่าเสียเงินเปล่า

           ในความคิดของผู้เขียนนั้น กลับมองว่าการศึกษา  จะเรียนสาขาวิชาใดก็ตาม เราทุกคนสามารถนำความรู้ที่เราได้ศึกษาเล่าเรียนมา ทั้งความรู้ที่ได้ในห้องเรียน ความรู้ที่ได้จากครู ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้วยตัวเอง มาประยุกต์ มาบูรณาการใช้กับการทำงานได้ทั้งสิ้น

           และสำหรับตัวผู้เขียนเองก็ยังมีความภูมิใจในสถาบัน ในสาขาวิชา และครู ที่ให้อะไรหลายๆอย่างกับเรา ถึงแม้ว่าหน้าที่การงานจะไม่ได้ตรงกับด้านที่เราจบมาซะทีเดียว แต่ความรู้ที่เราได้รับนั้น มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะสาขาวิชานี้สอนเราทุกๆ ด้านในเรื่องของการบริหารสถานศึกษา รวมไปจนถึงสามารถนำความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยอมรับเลยว่าได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ร่ำเรียนมาทุกวิชามาบูรณาการกับการทำงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาการวัดและประเมินผล วิชาครูต่างๆที่ได้เรียนปรับพื้นฐานกับผศ.ดร. มาลัย จีรวัฒนเกษตร รวมถึงการฝึกด้านการเขียน การสังเคราะห์ วิเคราะห์งาน การทำงานวิจัย การทำงานร่วมกันเป็นทีม และรายละเอียดต่างๆ ที่พี่ยุทธได้กล่าวไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในปัจจุบันการศึกษา สถานศึกษา มีการแข่งขันกันสูง ดังนั้นสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาของเราได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากจะนำประสบการณ์ที่พี่วีระยุทธ  สุดสมบูรณ์  เพื่อนร่วมรุ่น มาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น....... :-) 

                ผมยังรู้สึกประทับใจและสนุกมากในประสบการณ์ช่วงที่เรียน ป.โท บริหารอาชีวศึกษา ที่ สจล. มีครบทุกรสชาติ ผมยังคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คณาจารย์ โดยเฉพาะรายวิชาของอาจารย์ ดร.มาลัย ที่ท่านได้มอบหมายให้ค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลการวิจัย การจัดสัมมนาที่มุ่งเน้นประสบการณ์การวิจัย การนำเสนอประเด็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกการเขียนบทความวิชาการ การได้ทำงานหนัก การได้ศึกษาดูงานในสถานที่ที่แตกต่างแต่มีนัยสำคัญเหมือนกัน ผมว่าเป็นการเรียนรู้แบบยั่งยืน (Sustainable development) จริงๆ เป็นการฝึกประสบการณ์ให้เราได้รักการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง การทำงานวิชาการต้องสั่งสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคลซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มิอาจลอกเลียนแบบกันได้ ผมว่า ณ ปัจจุบัน ผมได้ซึมซับบทบทที่อาจารย์มาลัยได้มอบให้จนสามารถ produce บทความวิชาการระดับชาติที่ผ่านการพิจารณาจาก reviewers ได้ถึง 11 เรื่อง บทความวิชาการระดับนานาชาติ 1 เรื่อง รวมเป็น 12 เรื่อง จำแนกออกเป็น บทความวิจัยจำนวน 8 เรื่อง และ บทความวิชาการ จำนวน 4 เรื่อง

             การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการในคราวที่เรียน วิชาภาวะผู้นำ ผมสามารถคัดกรอง ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ จนกระทั่งทำให้ได้ประสบความสำเร็จในการได้รับรางวัล "ข้าราชการพลเรือนดีเด่น (ครุฑทองคำ) ประจำปี 2551" ก็ได้หลักการ ครองตนครองคน ครองงาน จากรายวิชานี้ ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า หากเรานำองค์ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาใช้ให้เหมาะสมกับบริบท ของแต่ละปัจจเจกชนแล้ว ความสำเร็จย่อมเกิดผลแน่นอน และ ก็ทำได้จริง เรียนที่ บริหารอาชีวฯ สจล. ได้อะไรเยอะมากกว่าที่เราคิด ทั้งการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และสังคม การจัดกิจกรรมกลุ่มภาวะผู้นำ การละลายพฤติกรรม ช่วยปรับทัศนคติของผมได้เป็นอย่างดี การได้ทำงานเป็นทีม แก้ปัญหาในรายวิชาสัมมนา ส่งผลให้ผมเข้าใจและสามารถดำเนินการได้ในงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน

                ผมรู้สึกว่าผมสนุกมากที่ได้เขียนบทความวิชาการ การทำงานวิชาการได้ส่งผลให้เรามีเสรีภาพในการนำเสนอแนวคิด ซึ่งในบทความวิชาการเรื่องต่อไป ผมได้อานิสงค์จากการเรียนวิชา การบริหารอาชีวศึกษาล้วนๆ ผมยังต้องนำ take note เมื่อปี 2545 มานั่งทบทวน เพราะเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดการอาชีวะและเทคนิคศึกษาไทย การวิเคราะห์ประเด็นของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ร่วมกับ พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 หลอมหลวมกับบทความวิชาการและงานวิจัยจากต่างประเทศ อาทิ การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะ / มาตรฐานอาชีพ ของ USA, Australia, UK หลักสูตรฐานสมรรถนะ มาตรฐานการอาชีวศึกษา และระบบคุณวุฒิวิชาชีพไทย ชื่อเรื่อง ‘Applications of Competency-Based Education: In the Context of Diversity and Change’ หากได้รับตีพิมพ์เมื่อไหร่ ผมจะส่งให้อาจารย์คนแรกครับ

                  ผมโชคดีมากที่ได้เรียนกับอาจารย์มาลัย ได้รับคำแนะนำที่มีคุณค่า ได้รับความปรารถนาดีที่มิอาจเปรียบค่าได้ ได้ศึกษางาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผมยอมรับว่ามิอาจหาได้ในช่วงเวลาของการเรียนรู้ ผมพบว่าที่ สาขาการบริหารอาชีวศึกษา สจล. สามารถเติมเต็มได้ ผมภูมิใจในความสำเร็จ และผมเชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนในรุ่น 16 ถ้าเราได้นำองค์ความรู้ที่ได้นำไป ประยุกต์ใช้ เพื่อต่อยอดแนวความคิด ถ้าเรามีจุดยืน มุ่งมั่นทำงานหนัก รักการเรียนรู้ ทุกคนก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน จึงขอกล่าวคำคารวะท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ท่านชี้ช่องทางความสำเร็จและสั่งสมความเชี่ยวชาญรวมถึงคำแนะนำต่างๆให้ผมได้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 338196เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การเรียนในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ฝึกฝนให้ข้าพเจ้ามี Professional Competency ทางด้าน Learning Innovation Areas & Academic Writing Skills หากพิจารณาตามมุมมองของคนทั่วไปแล้วก็คงจะคิดว่าเป็นหลักสูตรปริญญาเอกทางการศึกษาหลักสูตรหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้พบว่า การฝึกความเป็นมืออาชีพและมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยแบบ Multidisciplinary ด้วยการบูรณาการศาสตร์ทางการศึกษากับเทคโนโลยี ในบริบทที่แตกต่างตามการออกแบบงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอก จุดเน้นที่สำคัญก็คือ Achievement  โดยเงื่อนไขการจบของหลักสูตร นักศึกษาปริญญาเอกจะต้องนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference) ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานอย่างเข้มข้น (Peer-reviewed) อย่างน้อย 2 เรื่อง และจะต้องได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัย ประเภท Full-length Research Paper ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (International Journal) ที่มี Impact Factor มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล ISI หรือกล่าวได้อีกอย่างก็คือ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วต้องปรากฏบน www.sciencedirect.com ของ Elsevier บนฐานข้อมูล Scopus หรือ ERIC นับว่าเป็นงานที่ยากและต้องพิสูจน์ความเป็น Ph.D. ออกมาอย่างแท้จริง

แต่สิ่งที่มิอาจลืมเลือนได้เลยนั่นคือ กระบวนการเรียนรู้ ที่มาจากการทำวิจัยอย่างเข้มข้น การค้นคว้าทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การใช้ความเชี่ยวชาญในหลักสถิติ การออกแบบงานวิจัยที่ถูกต้องตามหลักสากล รวมถึงทักษะการเขียนบทความทางวิชาการในรูปแบบภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าเองยอมรับว่า ก่อนเรียนแทบไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Academic Writhing Skills มาก่อนเลย แต่กาลเวลานำพาให้ข้าพเจ้าต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกซ้อม พัฒนาองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบัน ข้าพเจ้าเอง มี บทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง และ อยู่ในช่วง Peer-reviewed อีก 1 เรื่อง บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่ในฐานข้อมูลของ สกอ. จำนวน 11 เรื่อง แบ่งเป็น บทความวิจัย 7 เรื่อง และบทความวิชาการอีก 4 เรื่อง  และ การนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติอีก 25 เรื่อง รวมแล้ว 38 เรื่อง ทั้งหมดนี้คือ Achievement ของการได้ศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ ทุกท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลบทความของข้าพเจ้าได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/rippc/sedu37.htm

บุคคลที่มีคุณูปการแห่งความสำเร็จนี้ ข้าพเจ้าต้องขอน้อมจิตคารวะ Prof. Dr. Ravinder Koul  Professor of Curriculum & Instruction, Pennsylvania State University, Great Valley Graduate Center for Professional Studies ที่ได้สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จับต้องได้จริง ขั้นตอนและวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ ได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หลักสูตรนี้ นับได้ว่ามีความแข็งแกร่งในทางวิชาการอย่างมาก เพราะ Dr.Koul เป็นอาจารย์ผู้สอน และยังมี Visiting Professor ที่มีความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงในระดับโลกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมานำเสนอองค์ความรู้ในรูปแบบของ Seminar, Colloquium, Workshop ซึ่งหาได้ยากมากในประเทศไทย รวมถึงคณาจารย์ประจำที่เต็มไปด้วยคุณวุฒิ ผลงานทางวิชาการระดับโลก ค่าเล่าเรียนเมื่อเทียบกับ ระดับปริญญาเอก ด้วยกันนับว่าถูกมาก แต่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะประมาณได้ อาจจะเรียกแนวคิดนี้ตามนักเศรษฐศาสตร์ของโลก Michael Porter “Maximize profit and minimize cost” ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพราะข้าพเจ้าอยากจะนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกที่มุ่งเน้นการทำวิจัยอย่างเข้มข้น ผลที่ได้รับก็คือ ประเทศของเราจะได้มีนักวิชาการที่สามารถทำงานวิจัยได้อย่างมืออาชีพ การเผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ ตรงจุดนี้จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการวิจัยให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยก็จะสามารถแข็งขันบนเวทีโลกได้อย่างสมความภาคภูมิและยั่งยืน  

 

 

 

  

การเรียนในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ฝึกฝนให้ข้าพเจ้ามี Professional Competency ทางด้าน Learning Innovation Areas & Academic Writing Skills หากพิจารณาตามมุมมองของคนทั่วไปแล้วก็คงจะคิดว่าเป็นหลักสูตรปริญญาเอกทางการศึกษาหลักสูตรหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้พบว่า การฝึกความเป็นมืออาชีพและมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยแบบ Multidisciplinary ด้วยการบูรณาการศาสตร์ทางการศึกษากับเทคโนโลยี ในบริบทที่แตกต่างตามการออกแบบงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอก จุดเน้นที่สำคัญก็คือ Achievement  โดยเงื่อนไขการจบของหลักสูตร นักศึกษาปริญญาเอกจะต้องนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference) ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานอย่างเข้มข้น (Peer-reviewed) อย่างน้อย 2 เรื่อง และจะต้องได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัย ประเภท Full-length Research Paper ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (International Journal) ที่มีค่า Impact Factor มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล ISI หรือกล่าวได้อีกอย่างก็คือ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วต้องปรากฏบน www.sciencedirect.com ของ Elsevier บนฐานข้อมูล Scopus หรือ ERIC นับว่าเป็นงานที่ยากและต้องพิสูจน์ความเป็น Ph.D. ออกมาอย่างแท้จริงแต่สิ่งที่มิอาจลืมเลือนได้เลยนั่นคือ กระบวนการเรียนรู้ ที่มาจากการทำวิจัยอย่างเข้มข้น การค้นคว้าทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การใช้ความเชี่ยวชาญในหลักสถิติ การออกแบบงานวิจัยที่ถูกต้องตามหลักสากล รวมถึงทักษะการเขียนบทความทางวิชาการในรูปแบบภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าเองยอมรับว่า ก่อนเรียนแทบไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Academic Writhing Skills มาก่อนเลย แต่กาลเวลานำพาให้ข้าพเจ้าต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกซ้อม พัฒนาองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบัน ข้าพเจ้าเอง มี บทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 เรื่อง และ อยู่ในช่วง Peer-reviewed อีก 1 เรื่อง บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่ในฐานข้อมูลของ สกอ. จำนวน 11 เรื่อง แบ่งเป็น บทความวิจัย 7 เรื่อง และบทความวิชาการอีก 4 เรื่อง  และ การนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติอีก 25 เรื่อง รวมแล้ว 38 เรื่อง ทั้งหมดนี้คือ Achievement ของการได้ศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ ทุกท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลบทความของข้าพเจ้าได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/rippc/sedu37.htm

บุคคลที่มีคุณูปการแห่งความสำเร็จนี้ ข้าพเจ้าต้องขอน้อมจิตคารวะ Prof. Dr. Ravinder Koul  Professor of Curriculum & Instruction, Pennsylvania State University, Great Valley Graduate Center for Professional Studies ที่ได้สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จับต้องได้จริง ขั้นตอนและวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ ได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หลักสูตรนี้ นับได้ว่ามีความแข็งแกร่งในทางวิชาการอย่างมาก เพราะ Dr.Koul เป็นอาจารย์ผู้สอน และยังมี Visiting Professor ที่มีความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงในระดับโลกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมานำเสนอองค์ความรู้ในรูปแบบของ Seminar, Colloquium, Workshop ซึ่งหาได้ยากมากในประเทศไทย รวมถึงคณาจารย์ประจำที่เต็มไปด้วยคุณวุฒิ ผลงานทางวิชาการระดับโลก ค่าเล่าเรียนเมื่อเทียบกับ ระดับปริญญาเอก ด้วยกันนับว่าถูกมาก แต่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะประมาณได้ อาจจะเรียกแนวคิดนี้ตามนักเศรษฐศาสตร์ของโลก Michael Porter “Maximize profit and minimize cost” ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพราะข้าพเจ้าอยากจะนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกที่มุ่งเน้นการทำวิจัยอย่างเข้มข้น ผลที่ได้รับก็คือ ประเทศของเราจะได้มีนักวิชาการที่สามารถทำงานวิจัยได้อย่างมืออาชีพ การเผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ ตรงจุดนี้จะสามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการวิจัยให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยก็จะสามารถแข็งขันบนเวทีโลกได้อย่างสมความภาคภูมิและยั่งยืน  

 

แวะมาอ่าน ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้อย่างต่อเนื่อง

คำว่า"อาชีวะ" ไม่ใช่หมายความว่า สถาบันอาชีวะ(กำลังขอ)หรือวิทยาลัยต่่งๆเช่น เทคนิค  การอาชีพ สารพัดช่าง ฯลฯ แต่อยากให้ผู้มี

ระดับการศึก ป.โท  ป.เอก พิจารณาใหม่...การเรียนระดับอาชีวศึกษา หรือนักเรียนอาชีวะ นั้นภาพกว้างหมายถึงผู้เรียนในระดับ ในวัย อายุ

ย่างเข้า 17-18  จะเรียน  ม.6 หรื่อวิชาชีพ  ปวช. หรือทำงานใดๆก็ตาม นั้นละ วัยอาชีวะ...ดังนั้นการบริหารจัดการจะแตกต่างกันออกไป

จากวัยประถม หรือ วัยปริญญา  เรียนสาขาบริหารอะไรก็ต้องใช้..อยู่แล้ว.ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารสถานศึกษาก็มีความสำคัญ.เช่นกัน...จาก.ป.โทบริหาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท