ทีมบูรณาการสนับสนุนการขับเคลื่อน รพ.สต. โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์


            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้จัดประชุมชี้แจงทีมบูรณาการสนับสนุนการขับเคลื่อนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)เชิงรุกโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(Strategy Route Map) โดยเน้นให้บุคลากรได้เข้าไปเรียนรู้กับชุมชนในใพื้นที่

เปลี่ยนนั่งโต๊ะแบบพิธีการมาเป็นนั่งพื้นกันแบบกันเอง (หลายคนบ่นเมื่อยแย่)

1. ชี้แจงความเป็นมาและแนวทางการขับเคลื่อน รพ.สต. โดย นพ.พิศิษฐ์  ศรีประเสริฐ  

- นโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยยกระดับสถานีอนามัยให้เป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” เพื่อดำเนินการสร้างสุขภาพเชิงรุก โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM), M&E, KM เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน

- โครงการน้ำพระทัยจากในหลวงของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นการคัดกรองผู้ป่วย NCD (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

- การดำเนินงานกองทุนสุขภาพ, หมู่บ้านจัดการสุขภาพ, และชุมชนลดเสี่ยง โดยใช้ SRM เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน

- นโยบายการสร้างขวัญกำลังใจบุคลากรในเรื่องค่าตอบแทน

2. ชี้แจงการบริหารจัดการและการควบคุมกำกับติดตามประเมินผล โดย คุณมาโนชญ์  ชายครอง      

- ได้จัดทำคู่มือสำหรับทีมสนับสนุนการเรียนรู้ให้ทีมละ 1 เล่ม

- ให้แต่ละทีมลงไปศึกษาเรียนรู้ร่วมกับอำเภอ/ตำบล เพื่อพัฒนา รพ.สต.เชิงรุก โดยให้มีการรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน เมื่อสิ้นปีให้สรุปเป็นรูปแบบการพัฒนารพ.สต.ของแต่ละอำเภอ

- แบบเครื่องมือในการคิดตามประเมินผลให้ใช้ตามแบบที่ได้กำหนดไว้ อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

3. ชี้แจงเรื่องแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) โดย คุณอรุณรัตน์  อรุณนุมาศ

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์คือเครื่องมือในการสื่อสารและบริหารจัดการที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างวิธีปฏิบัติหรือยุทธศาสตร์ทั้งหมดที่เราเลือกที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ในหลายๆ มิติ หรือหลายๆ มุมมอง มีกระบวนการและขั้นตอน 7 ขั้นตอน

            ส่วนที่ 1 การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ มี 3 ขั้นตอน คือ

                        ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์บริบท/สถานการณ์ของพื้นที่

                        ขั้นตอนที่ 2 การกําหนดจุดหมายปลายทาง (Destination Statement)

                        ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับหลัก (SRM)

            ส่วนที่ 2 การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (หรือการถ่ายระดับแผนที่ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ) มี 3 ขั้นตอน คือ

                        ขั้นตอนที่ 4 การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (SLM)

                        ขั้นตอนที่ 5 การนิยามเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์จาก SLM และการกําหนดตัวชี้วัดผลงาน(PI) และตัวชี้วัดความสําเร็จ(KPI) รายประเด็นที่พื้นที่กำหนด           (Issues base)

                        ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการย่อย หรือแผนปฏิบัติการ(Mini-SLM)

                        ขั้นตอนที่ 7 การถ่ายระดับไปสู่การปฏิบัติ (การเปิดงานและติดตามผล)

4. ชี้แจงเรื่องเครื่องมือ 7 ชิ้นของ นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  โดย คุณนฤมล  สวัสดิผล

1) แผนที่เดินดิน

2) ผังเครือญาติ

3) โครงสร้างองค์กรชุมชน

4) ระบบสุขภาพชุมชน

5) ปฏิทินชุมชน

6) ประวัติศาสตร์ชุมชน

7) ประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจ

5. ฝึกทดลอง AAR โดย คุณจินตนา  จันทร์ดี  

 หลังจากนี้แต่ละทีมก็จะลงไปเรียนรู้ในพื้นที่ อำเภอละ 1 ตำบล แล้วบันทึกการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ครบ ๓ เดือนก็กลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันความรู้กัน และสังเคราะห์เป็นความรู้ในการพัฒนา รพ.สต.ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

หมายเลขบันทึก: 335629เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณพ่อน้องซอมพอ สบายดีนะคะ

มาทายทัก พร้อมเรียนรู้กลยุทธ์อันเยี่ยมยุทธ์

ชื่นชมเป็นกำลังใจ เพื่อเป้าหมายสุขภาพที่ดีของชุมชนค่ะ

พี่ถนัดครับ (ป้อน้องซอมพอ)

อ่านบันทึกพี่ถนัดเเล้ว รู้สึกมีพลังใจทุกครั้งเลย มีความรู้สึกว่า คนสาธารณสุข ก้าวย่างแต่ละก้าว เป็นการย่างก้าวด้วยปัญญาจริงๆ

ให้กำลังใจคนหน้างานเมืองน่านครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท