ประเด็นโครงการเพื่อสังคมแบบชาวบ้านจากมันสมองของสาวน้อยบ้านนา ที่ขอนแก่น


เมื่อพูดถึงงานวิจัยของนักวิชาการ มีอีกหลายคนที่มองว่า เป็นการทำผลงานเพื่อการตีพิมพ์และเป็นประโยชน์เพียงการพอกพูนทางวิชาการเท่า นั้น  แต่การทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อประชาชน (หรือในนามการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่าง) ทำออกมาแล้ว เกิดอะไรขึ้นกับชุมชนบ้าง??

 

มีนักวิชาการชาวบ้าน ไปสอบถามเด็กวัยรุ่นจบใหม่ จะว่าไปแล้ว ผลการเรียนของสาวน้อยบ้านนา ก็ไม่ถึงระดับเกียรตินิยม หรือเกรดนิยมแต่อย่างใด

ถามตรงๆว่า อยากทำอะไรเพื่อชุมชน และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนจริงๆ ให้บอกมาเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องไปค้นหาเอกสารวิชาการมาอ้างอิง บอกมาว่าจะทำอะไร เพื่ออะไร และทำแบบไหน ภายในเวลา 30 นาที

และแล้วเราก็ได้ประเด็นโครงการเพื่อชุมชนจากมันสมองของสาวน้อยบ้านนา ที่ชาวบ้านนั่งฟังแล้ว เห็นด้วย ไม่ต้องผ่านเวทีวิชาการ ไม่ต้องผ่านนักวิชาการหรือ การอนุมัติจากสถาบันใดๆทั้งนั้น ลูกหลานคิดขึ้นมาเอง และชาวบ้านอนุมัติเอง ทำเอง แม้ไม่มีผลงานตีพิมพ์เพื่อประโยชน์เพียงการพอกพูนความรู้ แม้จะเป็นเรื่องที่ดูง่ายๆ … แต่นี่ เป็นเรื่องที่ชาวบ้าน ลงมือทันที

 

และนื่คือ การนำเสนอโครงการจากมันสมองของสาวน้อยบ้านนา ในช่วงเวลา 30 นาที จากสิ่งที่พบเห็นในหมู่บ้านครับ

โครงการที่ 1

โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน

ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์ สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กที่ขาดแคลนมีอาหารไว้รับประทาน
– เพื่อเพิ่มรายได้
แนวทางการดำเนินงาน
1) สำรวจโรงเรียนที่มีพื้นที่เพียงพอและพร้อมที่จะทำโครงการนี้
2) จัดหาพันธุ์ไก่ไข่จากฟาร์ม และวางแผนสร้างโรงเรือน

3) จัดอบรมวิธีการเลี้ยง
4) จัดเวรดูแล ให้เด็กนำไข่มาทำอาหารกิน ถ้ามีปริมาณมากพอสามารถนำมาจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป


โครงการที่ 2

การแปรรูปผลไม้ในชุมชนที่มีมากตามฤดูกาลเป็นผลิตภัณฑ์

ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์

-          เพื่อเพิ่มค่าให้กับผลผลิต

-          เพื่อหารายได้

แนวทางการดำเนินงาน
1) สำรวจว่าในแต่ละฤดู ชุมชนนั้นมีผลไม้อะไรบ้าง
2) อบรมวิธีการแปรรูปผลไม้ เช่น กวน ดอง แช่อิ่ม
3) ทำการหาตลาด
4) ขายผลผลิต
5) เมื่อถึงฤดูใหม่ ทำการแปรรูปผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลนั้นๆ

โครงการที่ 3
การทำแปลงสาธิตการใช้ EM

ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์
- งดการใช้สารเคมีสำหรับการเกษตร
– เพื่อให้ได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารพิษ
แนวทางการดำเนินงาน

     1)      หาอาสาสมัครที่ให้ที่ดินเป็นแปลงทดลอง และพร้อมที่จะศึกษาไปพร้อมกับทีมวิจัย
2) ดำเนินการปรับปรุงดินโดยใช้ EM
3) ปลูกพืชหลายๆอย่าง ใช้ EM  กำจัดแมลง ใช้บำบัดน้ำเสียและใช้เป็นปุ๋ยด้วย
4) ดูว่า ผลผลิตในแปลงที่ใช้ EM และแปลงอื่นๆมีความแตกต่างกันอย่างไร
5) เมื่อได้ผลการศึกษา ทำการอบรมและเผยแพร่ให้คนอื่นที่สนใจ

 

โครงการที่ 4
การปลูกผักไร้ดิน

ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์

- เพื่อลดพื้นที่ในการเพาะปลูก สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่จำกัด
– เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และเก็บผลผลิต ดูแลง่าย
แนวทางการดำเนินงาน
1) ศึกษาว่าพืชชนิดใดสามารถปลูกได้
2) ศึกษาว่าสารเคมีที่ใช้ในการปลูกคืออะไร ส่วนผสมเท่าไร ระยะเวลาการเก็บผลผลิต?
3) ออกแบบโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์
4) เพาะต้นกล้าเล็กๆ จนได้ขนาดที่จะนำมาปลูกได้
5) เก็บผลผลิตขาย
6) อบรมชาวบ้าน หาอาสาสมัครที่ให้พื้นที่ในการจัดทำโครงการ เพื่อจัดทำเป็นศูนย์สาธิตในหมู่บ้าน เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่อไป

โครงการที่ 5
การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ
ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์

- เพื่อลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนการผลิต

แนวทางการดำเนินงาน

1) สำรวจศัตรูพืชในชุมชน ชนิดของพืชที่ชุมชนเพาะปลูก วงจรชีวิตของพืชเป็นอย่างไร
2) ในวงจรชีวิตของศัตรูพืช สามารถใช้ศัตรูธรรมชาติตัวใดมากำจัดได้ ช่วงวงจรชีวิตช่วงไหนที่มีผลต่อพืช

โครงการที่ 6
การสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน
ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์

- เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน

แนวทางการดำเนินงาน

1) สร้างบ่อรวบรวมน้ำทิ้ง และบ่อกรองน้ำ
2) รวบรวมท่อน้ำทิ้งมาปล่อยลงในบ่อน้ำทิ้ง แล้วส่งน้ำลงไปในบ่อกรอง
3) นำน้ำที่ผ่านการกรองไปใช้ประโยชน์ เช่น รดน้ำต้นไม้

โครงการที่ 7

ธนาคารวัสดุรีไซเคิล

ผู้เสนอโครงการ น.ส.สิริลักษณ์สาระฤทธิ์

วัตถุประสงค์

- เพื่อลดปริมาณขยะและกำจัดขยะภายในชุมชน โดยเฉพาะวัสดุที่ recycle ได้
- เพื่อสร้างแรงจูงใจในการกำจัดขยะ

แนวทางการดำเนินงาน

1) สำรวจตลาดก่อนว่า โรงงานจะรับซื้อวัสดุอะไรบ้าง ในอัตราเท่าไร
2) ระบุวัสดุที่ทีมผู้ดำเนินงานโครงการต้องการจะรับ เช่น ขวด กระป๋องน้ำอัดลม ฯลฯ
3) กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ขวด 12 ใบคิดราคาเท่าไร
4) รวบรวมวัสดุส่งโรงงาน

โครงการที่ 8
การศึกษาและวิจัยพืชที่ป้องกันการชะล้างสารพิษเข้าไปสู่ในแหล่งเพาะปลูก
ผู้เสนอโครงการ น.ส.สุกัญญา สุรเสียง

วัตถุประสงค์

- เพื่อศึกษาพืชหรือวิธีกลที่จะใช้ในการป้องกัน การชะล้างสารเคมีเข้าไปในแหล่งเพาะปลูก

- เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน

1) เลือกหมู่บ้านที่ลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก, เลือกพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี
2) ศึกษาและวางแผนโดยศึกษาคุณสมบัติของพืชในการดูดซับสารเคมี และวิธีกล ( เช่น การก่อดินขึ้นมากั้น ที่จะไม่ให้เกิดการชะล้างมาใส่แปลง)
3) วางแผนผังการปลูกพืช เพื่อให้สามารถดูดซับได้อย่างทั่วถึง โดยศึกษา 5 แปลง โดยปลูกพืชชนิดและแปลง จำนวน 3 แปลง ปลูกทุกชนิดใน 1 แปลง และอีก 1 แปลงที่ไม่มีพืชที่ทำการศึกษาอยู่
4) ทำการจัดหา จัดซื้อพืชที่จะใช้ในการศึกษา
5) ตรวจปริมาณสารเคมีในพื้นที่เพาะปลูก ดิน น้ำ, เปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาว่า มีอัตราการดูดซับต่างกันอย่างไร ในแต่ละฤดูมีการชะล้างปริมาณสารเคมีต่างกันอย่างไร จนได้ช่วงเวลาที่เหมาะสม

6) การศึกษาจะได้ผลออกมาว่า พืชชนิดใดเหมาะสมกับช่วงฤดูใด ตัวอย่างเช่น กล้วยเหมาะกับฤดูฝน, มะยมเหมาะกับฤดูร้อน
7) นำพืชแต่ละชนิดที่เหมาะสมกับแต่ละฤดู ปลูกในแต่ละช่วงฤดู เก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี แล้ววิเคราะห์ผล
8) สรุปผล และทำการเผยแพร่ผลการศึกษา

โครงการที่ 9
การแปรรูปปลาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ผู้เสนอโครงการ น.ส.สุกัญญา สุรเสียง

วัตถุประสงค์

- เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรปลา

- เพื่อหาตลาด
- เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภค

แนวทางการดำเนินงาน

1) เลือกหมู่บ้าน และแบ่งกลุ่มให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในโครงการนี้
2) ศึกษาทรัพยากรปลาที่มีอยู่ว่า เหมาะสมในการแปรรูปอะไร โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น จากการสอบถามชาวบ้าน
3) กำหนดการแปรรูป เลือกชนิดของปลา เพื่อให้เหมาะสมกับปลาที่นำมาแปรรูป
4) ประชุมปรึกษาหารือ และกำหนดว่าจะแปรรูปอะไร เช่น นำปลาตองไปรมควัน ปลาซิวทำส้ม
5) ศึกษาส่วนประกอบที่เหมาะสม
6) ดำเนินการแปรรูป
7) บรรจุหีบห่อ
8) หาตลาด ส่งขายและเปรียบเทียบว่า ลักษณะของหีบห่อที่ใช้แบบไหนดีที่สุด เช่น ใบตอง พลาสติก ฯลฯ
9) ทำแบบสอบถามแม่ค้า เป็นผู้ประเมินว่า ขายดีหรือไม่ ถ้าอันไหนขายไม่ดีจะได้รู้ว่า ผลิตภัณฑ์ไหนไม่ดีตรงไหน

โครงการที่ 10
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน
ผู้เสนอโครงการ น.ส.สุกัญญา สุรเสียง

วัตถุประสงค์

- เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆในการฟื้นฟูสภาพดินในมู่บ้าน
– เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมนี้ จะได้รู้ว่าพื้นที่แห่งนั้นเหมาะสมกับปุ๋ยชนิดใด
- เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

แนวทางการดำเนินงาน

1) เลือกหมู่บ้านที่จะศึกษา เลือกชุมชน จัดกลุ่มให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อดินในหมู่บ้านของตนเอง
2)  กำหนดแปลง  ทำการศึกษา 3 ซ้ำ
3) เตรียมปุ๋ยที่จะนำมาใช้ในการศึกษา ( คือ ปุ๋ยที่ชาวบ้านใช้)
4) สำรวจลักษณะดิน  สภาพของดินในชุมชนเป็นอย่างไร
5) นำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดที่ชาวบ้านใช้เข้ามาศึกษาในแปลง ดูว่าปุ๋ยชนิดใดทำให้ดินร่วนซุย,สภาพดินดีขึ้น ทำการศึกษาในช่วงระยะเวลา 6 เดือน
6) ทำการสำรวจดินหลังช่วงระยะเวลา 6 เดือน
7) วิเคราะห์ผล
8) สรุปผลการทดลองว่า สำหรับพื้นที่นั้น ปุ๋ยชนิดไหนมีความเหมาะสมแค่ไหน
9) ทำการเผยแพร่ในกลุ่มชาวบ้าน เพื่อให้เขารู้ว่า อะไรดีไม่ดี

สิริลักษณ์ สาระฤทธิ์ และ สุกัญญา สุรเสียง
เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่น 4 คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ปัจจุบัน สุกัญญา สุรเสียง ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ จากอุบัติเหตุเมื่อ


หมายเลขบันทึก: 33541เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท