E-Environment
E-Environment E-Environment สภาพแวดล้อมอิเล็กทรอนิกส์ E-Environment สภาพแวดล้อมอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

สังคม กฎหมาย และจริยธรรม ของอิเล็กทรอนิกส์


สังคม กฎหมาย และจริยธรรม ของอิเล็กทรอนิกส์

ปัญหาสังคมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม และกฎหมาย


ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เช่น การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นจะต้องทำการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป
เช่น การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ จะส่งผลต่อความสามารถในการเขียนตัวหนังสือของมนุษย์

มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีผลกระทบซึ่งกันและกัน
เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบการติดต่อสื่อสารของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจำนวนมากจะติดต่อกันด้วยอีเมล
แทนการเขียนจดหมาย มีการติดต่อซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการใช้ล่อลวงกันโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อมากขึ้น

มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
เช่น จากการที่มีเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้นทำให้มีการสืบค้นข้อมูลหรือมีการเก็บข้อมูลประจำตัวของมนุษย์เข้ามาใช้มากขึ้น
การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็ง่ายขึ้นแค่เพียงมีแค่ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นฐานข้อมูลเฉพาะบุคคลก็เป็นสิ่งง่ายขึ้นแต่เนื่องด้วยจากการที่เราใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกมากขึ้นบางครั้งก็
ทำให้มีผลเสียตามมาในหลายๆเรื่อง บางทีการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปก็อาจจะมีผลเสียต่อตัวเรามากขึ้นเช่นกัน


แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 


1.ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
2.สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
3.ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีนั้นสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ การดำรงอยู่และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและ
4.การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคม พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาการป้องกัน
5.ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ
6.ใช้แนวทางการบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
มีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime)
คุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
คุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI)
เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law)
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer)
เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law)
เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ
อนุญาติให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

ในส่วนของกรณีของกฎหมายในปัจจุบันได้มีการทำพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่ลิงค์ตามที่อ้างอิง

 

http://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf

ต่อมาเราจะมาศึกษาในส่วนย่อยๆ สิ่งจะยกตัวอย่างมาใน 5กรณี จากบทเรียนที่ได้สรุปมา
กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
ในการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name และ Password
ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของคนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail
มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้น ๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail
ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail
สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์
ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน
เพราะหากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา
โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ซึ่งตามกฎหมาย การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง “
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น
ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น”

กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
การอ้างอิงเว็บไซต์ของผู้อื่น มาใส่ไว้ในเว็บของเรา มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์
 แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย
หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า
ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ

กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น
ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

      http://51533316.exteen.com/20080921/entry

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 335127เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท