APHN2009: หา Consensus ด้วย Nominal Group Technique


์์Nominal Group Technique เป็นเทคนิคการหา consensus ที่ป้องกัน dominant ดังที่เกิดใน focus groups แต่ก็ยังให้โอกาสชี้แจงทำความเข้าใจ ซึ่งขาดไปในวิธี Delphi

   วันนี้ถือเป็นฤกษ์ดี แห่งการปิดฉาก การเป็นนักเรียนหลักสูตร APHN palliative care  (อย่างน้อยก็ชั่วคราว) หลังจากได้ส่ง assignment ชิ้นสุดท้ายคือ Practicum paper ที่ติดค้างอาจารย์มายาวนาน..นับจากวันที่ได้รับ comment ให้มาแก้..เมื่อเห็นสีแดงพรึบ ฉันก็มีปฎิกริยาตั้งแต่ denial (มองผ่านๆ แต่ไม่กล้าอ่าน)..anger (ทำไมอาจารย์เข้มจัง!)...bargain(เอาไว้ก่อนน่า ตอนนี้ยังไม่มีเวลา)..depression (ไม่ไหวแล้ววว) และ acceptance (เอาเถอะทำเท่าที่ทำได้ไปละกัน) ในที่สุด

    หัวข้อที่ส่งคือ "How to efficient discuss goal of care with terminal illness patient's family?  A modified nominal group technique in palliative care team."
โดยเป็นการหา consensus เรื่อง priority ของคำพูด ที่ทีมรักษาควรบอกกับญาติของผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการหา goal of care โดยเฉพาะในระยะเวลาอันจำกัด...
   ข้อบกพร่องในตอนแรก ก็คือ review liturature เฉพาะ Nominal Group technique (NGT) เท่านั้น ซึ่งที่สมบูรณ์ ควรเปรียบเทียบกับวิธีการหา consensus แบบอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ตอบคำถามว่า ทำไมถึงเลือก NGT มาใช้ในการศึกษานี้...

บอกตามตรง..ฉันมีพื้นความรู้เกี่ยวกับ Qualitative research ในระดับ 3/10 เท่านั้นเอง ดังนั้นจึงขอเอาตามที่เข้าใจจาก review มาแชร์ เผื่อท่านใดช่วยเพิ่มเติม ได้คะ

    Group technique ในการให้ได้ Consensus ที่รู้จักกันดี มี 4 อย่างใหญ่ๆ คือ โดยแต่ละเทคนิค ให้น้ำหนักคุณค่าของผลลัพธ์ด้าน ปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (social interaction) หรือ การให้ได้ข้อสรุป (consensus) ต่างกัน

                                          Social interaction             Consensus 
1. Brainstorming                              +++                        +
2. Focus groups                                 ++                        ++
3. Nominal Group technique                  +                        +++
4. Delphi technique                               -                        ++++

Brainstorming : ตัวอย่าง น่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่ม group discussion ที่ไม่จำเป็นต้องมี facilitator ก็ได้ สมาชิกกลุ่มสามารถแสดง idea กันได้เต็มที่ ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจกันไปก็ไม่มีปัญหา โดยไม่เคร่งเครียดเรื่องให้ได้ผลสรุปมากนัก  

Focus group : เป็นลัำกษณะมีแบบแผนขึ้นมา สมาชิกกลุ่มมักมี 8-12 คนภายใต้การดูแลของ modurator  ให้การ discuss อยู่ในประเด็นที่ต้องการ  เนื่องจากมี dynamic สูง รวมทั้งอาจมี dominant (เช่น คนที่มีตำแหน่งวิชาการสูงกว่า)  การทำ focus group ไม่ให้เกิด "false consensus" ต้องอาศัยความสามารถของ modurator อย่างมาก

Delphi technique : เป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญกับความถูกต้องของ consensus สูงสุด  คำว่า Delphi มาจาก Oracles of Delphi ซึ่งเป็นสถานที่ในการพยากรณ์อนาคตของชาวกรีก กลุ่มที่เข้าร่วมมักเป็นระดับ Expert ตัวจริง ที่อาจอยู่ไกล ติดต่อกันยาก ทั้งจึงไม่สามารถมาพบกันแบบ face to face ได้ทั้งหมด
ดังนั้นจึงต้องมีคณะพิจารณา (panel) เป็นผู้ส่งแบบสอบถามไปยังเหล่า Expert ด้วยไปรษณีย์ เมื่อได้ตอบรับรอบแรก panel ก็จะพิจารณาปรับแบบสอบถามใหม่ แล้วส่งให้ Expert ตอบใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ consensus ออกมา

Nominal Group Technique : มาถึงพระเอกของเราในงานนี้..ที่นักคิดนาม Van de Van and Delbecq คิดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหา dominant ที่เกิดกับ focus group และเพื่อแก้ปัญหา การขาดโอกาสพูดอธิบาย สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยสิ้นเชิง ที่เกิดกับ Delphi
Nominal Group Technique มีระเบียบขั้นตอนที่ค่อนข้างชัดเจน ประกอบด้วย
1. Introduction  เป็นช่วงที่ modurator แนะนำกฎ กติกา มารยาท ในการเข้ากลุ่ม
    รวมทั้งอธิบาย คำถามให้ชัดเจน...ตรงจุดนี้สำคัญมาก เพราะ Delbecq กล่าวไว้ว่า
    NGT เปรียบเสมือนกล้องจุลทรรศน์..หากโฟกัสประเด็นคำถามไม่ถูกจุด ไม่ชัด ก็จะ
    หลงไปเลย
2. Silent generating  ให้เวลาผู้เข้ากลุ่ม มีเวลาเขียน idea เพื่อตอบคำถามของใคร
    ของมัน ห้ามลอกกัน คล้ายทำข้อสอบอัตนัย
3. Listing of ideas " Round robin basis"  โดยให้ผู้เข้ากลุ่มแต่ละคน เสนอ idea
   ของตนเองมา 1 อย่างในแต่ละรอบ modurator จะจดไว้บนกระดาน
   แล้ววนไปคนอื่นกันไปเรื่อยๆ ระหว่างที่ใครกำลังเสนอ idea ของเขานั้นห้ามผู้อื่น
   วิพากษ์วิจารณ์ออกมา  ข้อนี้เองที่ลดการ dominant และช่วยสร้าง พื้นที่ปลอดภัยใน
   การแสดงความเห็น
4. Discussion the ideas  เมื่อ idea ทั้งหมดได้รับการจดบนกระดานหมดแล้ว จึงจะเปิดโอกาสให้ ผู้เข้าร่วมกลุ่ม สามารถอภิปรายได้ โดยไล่จาก idea ทีละข้อๆ ไป
5. Ranking to select top ten idea  หากความเห็นมีจำนวนมาก ก็ต้องคัดเลือกก่อนนำไปจัด top-ten priority คล้ายประกวดนางงามที่ต้องคัด ผู้เข้ารอบก่อน
6. Voting the top ten : วิธีการให้คะแนน และ vote นั้น คือ หาก idea ใดที่ผู้ให้คะแนนเห็นว่าสำคัญที่สุด ก็ให้คะแนนเต็ม 10  ส่วนข้ออื่นๆ ก็ให้ลดหลั่นกันลงมา

โดยหลักการ Nominal Group Technique ที่สมบูรณ์จะใช้เวลารวมกลุ่มประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง โดยช่วง discussion กับ ranking ควรให้เวลาไม่ต่ำกว่า 30-45 นาที..เหตุนี้เมื่อฉันนำไปใช้กับ Practicum ในช่วงก่อน morning round จึงต้อง "modified" ให้กระบวนการทั้งหมดไม่เกิน 30 นาที..แต่ผลตอบรับจาก ผู้เข้าร่วมกลุ่มก็เป็นไปด้วยดี 

รายละเอียดเกี่ยวกับ NGT สามารถอ่านได้ที่นี่คะ
Gallagher M, Hares T, Spencer J, Bradshaw C and Webb I. The nominal group technique: a research tool for general practice? Family Practice 1993; 10: 76-81

หมายเลขบันทึก: 335120เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 04:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณคะ คุณครูต้อยติ่ง

ปล.สอนวิธีทำโลโก้สวยๆ แบบนี้บ้างสิคะ

น่าสนใจมากครับ

จะทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ "so-called expert" ที่อาจจะ defend ความเห็นของตนเองบนกระดาน (และทำให้เกิดการ dominate group) ในตอนอภิปรายได้ล่ะครับ? เพราะถึงแม้จะไม่ได้พูดตอนเสนอของตน แต่ก็ได้พูดตอน ranking อยู่ดีใช่ไหมครับ

มีหนังสือภาษาไทยมั๊ยครับอาจารย์

เรียนอาจารย์สกล ขอบคุณที่ชี้จุดให้กลับมาทบทวนคะ

ในตอน ranking นั้น แต่ละคน จะเขียนไว้ในกระดาษส่วนบุคคล ก่อนจะนำมา pool

ซึ่งใน reference เขียนไว้อย่างนี้คะ " They each record items on a personal priority sheet"

ในตอน discussion ถึงแม้จะให้อภิปราย ก็ควรเป็นการเสริม ทำให้กระจ่าง มากกว่าการ defend idea ของตัวเอง

และยังอนุญาตให้เพิ่ม idea ได้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ตัดออก

ซึ่งในตอนปฎิบัติจริง..ค่อนข้างยากอยู่คะ ที่จะไม่ให้ so-called expert วิพากษ์วิจารณ์ความเห็นคนอื่น

คุณหมอสีอิฐคะ ใน reference นี้ ผู้นิพนธ์ทำไว้ดี จนไม่กล้าแปลคะ ถ้ามี email จะส่งฉบับเต็มให้คะ

ขอบคุณครับ

ผมคิดว่า culture การแสดง/รับความเห็นมีส่วนสำคัญต่อ results ใน system นี้ค่อนข้างเยอะ

ดูเหมือนว่าจะให้สนทนาใน level II มากกว่าใน level III หรือ IV คือเป็น debate without emotion/feeling ใช่ไหมครับ

แวะมาอ่านครับ...อ่านดูแล้ว งง ๆ ครับ...ยากจัง

คุ้นๆ เรื่องระดับของการสนทนา อาจารย์เคยสอนที่เชียงใหม่หรือเปล่าคะ ?

เรื่อง culture น่าจะมีคะ อย่าง นศพ. อเมริักัน ตอนแสดงความเห็น เขาก็จะเป็นตัวของตัวเอง แม้ว่าจะอยู่ใน วงเดียวกับ attending staff

อย่างเวลาเรียกกันก็แบบเดียวหมด เรียกเพื่อน เรียกอาจารย์ เหมือนกัน เป็น you, I, Wendy

ซึ่งในเมืองไทย คงทำแบบนี้ไม่ได้แน่นอน

พี่โรจน์ งงๆ เหมือนกันคะ ผลออกมาก็ analyze ยากเพราะเราไม่ชำนาญ แต่ ผลพลอยได้จากการลองเอามาทำที่ รพ.มหาราช

คือการได้มีโอกาส introduce ตัวเอง กับ อาจารย์แพทย์ พยาบาล ที่มีประสบการณ์ หรืออาจเรียกว่าเป็น "ตัวจริง" palliative ของ รพ.

เพื่อเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์กันต่อไปคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท