บันทึกการเยี่ยมกัลยาณมิตร คุณ นายชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง


บันทึกการเยี่ยมกัลยาณมิตร 

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์ 

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒  วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒  เวลา ๑๐.๓๐ -๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ

 ผู้ที่เข้าพบ                     :        คุณ นายชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :        อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ หัวหน้าโครงการ ฯ

                             :        คุณอารยา ชินวรโกมล

:        คุณ สุรวดี รักดี

:        คุณสาวิตรี อริยชัยเดช

:        คุณสถาพร จิรัตนานนท์

 

 

 

วันนี้ทีมโครงการวิจัยมีนัดพบกับตัวแทนสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติเพื่อฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเกณฑ์ของภาพบุหรี่ในภาพยนตร์ ว่าควรจะเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และหาแนวทางในการทำงานร่วมกันในประเด็นดังกล่าว   โดยสมาพันธ์เป็นองค์กรเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านภาพยนตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเลิศทางด้านภาพยนตร์ เราได้มีโอกาสพบคุณชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง  อดีตนายกสมาพันธ์ ซึ่งคุณชัยวัฒน์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำงานเรื่องการของข้อกำหนดต่างๆตามพรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พศ. ๒๕๕๑

 

เมื่อเริ่มแนะนำโครงการวิจัย คุณชัยวัฒน์ได้ให้ข้อเสนอไว้ในเบื้องต้นก่อนเพื่อจะดำเนินขับเคลื่อนกฎกระทรวงต่อไปว่า...ขณะนี้การดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังนั้นคาดว่าจะมีเวลา ๑-๒ สัปดาห์ในการเข้าพบเป็นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อหารือประเด็นกฎเกณฑ์ของการปรากฏตัวของภาพบุหรี่ เนื่องจากหากข้อที่นำเสนอนั้นไม่ขัดในหลักการอาจจะสามารถเพิ่มเติมถ้อยคำลงไปได้..ทันท่วงที

 

 

ระบุไว้ในกม.ช่วยเพื่ออุ้มหนังไทย

          เพื่อไม่ให้มีสองมาตรฐานในการพิจารณาเรื่องบุหรี่ในภาพยนตร์ คุณชัยวัฒน์มองว่าควรจะมีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ให้ชัดเจนในกฎหมายไปเลย เพราะเมื่อมีภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะเข้ามาฉายในบ้านเราก็จะต้องบังคับตามกฎหมายไทย รวมถึงเรื่องการปรากฏตัวของบุหรี่ด้วย  เพราะหากมีการณรงค์กันในภาพยนตร์ไทยกันเองเป็นเพียงจรรยาบรรณของคนในวงการ แต่ภาพยนตร์ต่างประเทศเขาไม่ได้ทำตามด้วยเพราะไม่ใช่กฎหมายที่เขาต้องทำตาม เป็นการปิดโอกาสภาพยนตร์ทั้งเรื่องความสร้างสรรค์และเรื่องการตลาดมากขึ้นอีก  ซึ่งปัจจุบันตลาดหลักก็มีแต่เมืองไทยเท่านั้น หากภาพยนตร์ไทยขายคนไทยไม่ได้ก็ถือว่าเจ๊งไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ดังนั้นการระบุไว้เป็นกฎหมายที่ชัดเจนก็จะได้นำมาใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ

            โดยส่วนตัวของคุณชัยวัฒน์เห็นว่าอาจจะมีการระบุห้ามไว้ไนอนุมาตร ๑-๔ และเริ่มมีได้ในอนุมาตรา ๕ คืออายุ  ๑๘ ปีขึ้นไปโดยจะให้มีสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ โดยอนุมาตร ๖ ก็เว้นที่ว่างไปเพื่อการสร้างสรรค์ต่อไป

การกำหนดสัดส่วนภาพยนตร์ เรื่องดีที่อาจจะยังไม่จำเป็น

เนื่องจากจะทำให้ภาพยนตร์ไทยมีปัญหามากกว่า ปัจจุบันภาพยนตร์ต่างประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ ๒๐ ของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ และเมืองไทยไม่ ภาพยนตร์ (software) เพียงพอที่จะนำมาฉายในโรงภาพยนตร์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ผลิตรายย่อยจะขอโอกาสเพื่อให้ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย ซึ่งในบางครั้งผลงานก็ยังไม่ได้รับความสนใจ เจ้าของโรงภาพยนตร์ก็มีความจำเป็นต้องถอดภาพยนตร์ดังกล่าวออก ดังนั้นหากกำหนดสัดส่วนว่าต้องมีภาพยนตร์ไทยเท่าไร ภาพยนตร์ต่างประเทศเท่าไรแล้วนั้นแต่เมืองไทยไม่พร้อมจะมีปัญหามากกว่า จึงมีทางออกเป็นบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงว่า “ยังไม่กำหนดสัดส่วนเพราะยังไม่มีความจำเป็น”

 โดยได้เล่ากรณีศึกษา ประเทศเกาหลีว่าเขามีการกำหนดสัดส่วนเนื่องจากได้รับงบประมาณเป็นหลักพันล้านในการอัดฉีดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทำให้มีภาพยนตร์เกาหลีจำนวนมากพอที่จะกำหนดสัดส่วนได้

และในอดีตที่ ประเทศไทยไม่มี LAB เป็นของตัวเองแล้วเวลากลับเข้าในประเทศจะมีการเสียภาษี ฟิล์ม คุณนายแดง ขอให้ช่วยภาพยนตร์ไทยทางอ้อมโดยให้ออกฎกระทรวงว่าภาพยนตร์ไทยเสียภาษีฟิล์มเมตร ๒ บาทและภาพยนตร์ต่างประเทศเมตรละ ๓๐ บาท ก็เกิดปรากฏหารเขาไม่นำภาพยนตร์เข้ามาฉายเลย โดยในขณะนั้นมีการบีบกันในระดับรัฐบาล/รัฐบาลให้ลดลงจาก ๓๐ บาทเป็น ๑๕ บาท แสดงให้เห็นภาพยนตร์ต่างประเทศยังคงมีอิทธิพลต่อการคนไทยอยู่มาก

 

แนวทางในการทำงานร่วมกัน

นอกจากหารือเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรากฏตัวของภาพบุหรี่ยังเรียนเชิญสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดเสวนาในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่จะจัดขึ้นที่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  โดยคุณชัยวัฒน์มีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือพร้อมกันนี้ยังให้ทางโครงการส่งเรื่องไปยังนายกสมาพันธ์ได้

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 334826เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท