ตัดเกรด มันมักง่ายดีนะ การศึกษาแบบเร่งรีบ


พวก ครู อาจารย์   ทำไม ชอบใช้  การประเมินผลแบบ " ตัดเกรด "  กันจังเลย



อาจจะให้ เหตุผลว่า

๑) ง่ายดี  เพราะ  โง่ ทั้งห้อง   ไงๆ  ก็ต้องมี คน สอบผ่าน  ... จบๆไป   จะได้  ไม่เปลือง งบ ฯ ของรัฐ  

๒) ฉันจะได้ ไม่ต้อง เสียเวลา มา สอนซ้ำ ...  เอาเวลาปิดเทอม ไปเที่ยว ไปหากินดีกว่า

๓) โดน ผู้บริหาร บีบมาให้ตัดเกรด   ใจจริง ก็ไม่ชอบ   แต่  อย่าขัดใจนาย
 
๔)   ตัดเกรด  มาเป็น สิบๆ ปีแ ล้ว    เข้าระบบคอมพิวเตอร์ได้สะดวก    ง่ายในการพิมพ์ transcript มั้ง  ...  ใครๆเขาก็ตัดเกรด   "อีตาวรภัทร์ อย่ามาเปลี่ยน นะ" 

๕) เพื่อ ให้ เด็กๆ   แข่งขันกัน  ฝึก การต่อสู้   ใครดี ใครอยู่  ตัวใครตัวมัน  ถีบได้ถีบ  แข่งขัน เมื่อเรียนจบแล้ว  จะได้ ออกไป แก่งแย่ง เลื่อยขา เก้าอี้   กัดกัน ต่อไป

๖) มหา ฯ ลัย  ชุ่ย ๆ    เกิดได้มากมาย  เพราะ จับกลุ่มเรียน   ยังไง ก็ มี คนได้ เอ   แต่   เอ ของสถาบันหนึ่ง อาจจะหมายถึง ซี ของ อีก สถาบันก็ได้  .......   คุณภาพการศึกษา พังทะลาย   แต่  ก็ดี ที เอา เด็กๆ  ไป ถ่วงเวลา ๔ ปี ใน สถานศึกษา  ดีกว่า ปล่อยออกมาเผ่นพล่าน  เดินห้าง  ติดเกมส์ 

๗)  ฯลฯ

ผมว่า คิดแบบ ข้างต้น   นี่แย่มากเลยนะ
หรือเป็น เพราะว่า "การศึกษา แบบท่องจำ"   ก่อให้ เกิด "การศึกษาแบบมักง่าย"   เร่งผลิต  ฯลฯ  

คน จะเป็นครู  สมัยโบราณ ต้อง ประสบความสำเร็จมาในวิชาชีพนั้นๆ   ไม่ใช่  คนไม่กี่กี่คน บอกว่า "คนๆนี้ ได้ปริญญา   เพราะ คิดตรงกับพวกเรา" 
ปริญญา ด็อกเตอร์ ของผม  มันก็แค่  วิจัยลงลึกเรื่องเดียว คน ห้าคน บอกว่า ผม คิดเหมือนเขา สร้างผลงานใหม่ในโลกหนึ่งชิ้น  ฯลฯ  แต่ พอ กลับมาเมืองไทย  ลองไป ปลุกข้าว  ที่ สุพรรณ   ผมหน้าแตกเลย  .... อาย ชาวนามากๆ  เพราะ ปลูกข้าวไม่เป็น
ไปเข้าวัด  ก็ บ้าอ่าน บ้าจำ    สู้ พ่อเฒ่าแม่แก่ ที่วัดไม่ได้   เดินจงกรม นั่งสมาธิกันข้ามคืน   


ใน สมัยโบราณ   การจะเรียนผ่าน วิชาอะไร  เขาใช้แบบ สอบๆๆๆๆๆ  จนผ่าน    เรียนไปกี่ปีก็ช่าง  เช่น  หมอชีวก ไปเรียนที่ตักศิลา    สอนวันสุดท้าย อาจารย์ถามว่า "ในระยะ ๑ เส้น รอบตึกนี้   ต้นไม้ใดทำยาไม่ได้บ้าง"

หรือ เส้าหลิน  ใช้ การ ผ่านด่าน ๑๘ อรหันต์ 

การ ศึกษา ยุคใหม่ แบบ ชุ่ยๆ    จบๆไป   เร่งให้จบ ๔ปี     ใช้ ระบบตัดเกรด  มัน "มักง่าย"ดี .....  พอจบ  แล้ว  โยนภาระ ให้ องค์กร หน่วยงานต่างๆ  รับ ภาระ ไป สอนต่อ

ระบบเกรด  ได้ติดตาม มารังควาญ  ทำให้ พวก HR ฝ่ายบุคคล  ชอบให้ เจ้านาย ตัดเกรด ลูกน้อง    พร้อมกับ ขู่ว่า "คุณเป็นนาย คุณ ต้องรู้ว่า  ใครเอ ใครบี "    ผมว่า ทำแบบนี้   เป็นวิธีคิด แบบ ชุ่ยๆ     สร้าง ความแตกแยกในองค์กร

หมายเลขบันทึก: 334451เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

โดนค่ะ โดนใจ คงต้องปรับทั้งระบบกระมังคะ ? ขนาดองค์กรระดับใหญ่ๆ ที่บอกว่ามีธรรมาภิบาลเลิศ สร้างจิตสำนึกเพื่อสังคมแยะ ... เวลารับสมัครพนักงาน ก็ยังกำหนดว่า คุณต้องจบสถาบันนี้ นั้น และเกรดเท่านี้ ห้ามต่ำกว่านี้ ไม่งั้นก็ อย่าได้แหยม แบบไม่มีสิทธิ แม้แต่กรอกใบสม้ครค่ะ

ไม่แน่ใจว่าสมัยใหม่นี้ ยังเป็นแบบนี้อีกไหม คือบางครั้งกระแสสังคม ค่านิยมแปลกๆ ในบ้านเรา ชี้นำด้วยรึเปล่าคะ ถ้าปรับได้อย่างท่านว่ามา เยี่ยมยุทธ์เลยค่ะ  เรียนมาด้วยจิตคารวะ ค่ะ;) 

ในหลายๆองค์กรสมัยใหม่ เขาเลิกดู วุฒิ เกรด สถาบัน กันแล้ว

หัน มาดู "จิตอาสา"

นักการศึกษายุคอุตสาหกรรม ยัง เมาอยู่กับ การคิดแบบเชิงเดียว คิดแบบแบ่งแยก ตัดเกรด ตีตรา จัดชนชั้น ตั้งสเป็ค ตรวจ QC ฯลฯ ยังกะ ตรวจสอบวัตถุดิบและสินค้า กัน อยู่เลย

นึกถึง มนุษย์ ในเรื่อง "อวตาร" ก็นึกถึง ระบบการศึกษาตอนนี้ได้เลย

คาเมลอน คนสร้าง อวตาร พยามจะสื่อ เรื่้อง softside management ด้านจิตใจ สมดุลชีวิตและงาน แต่ เชื่อหรือไม่ว่า นักวิจารร์หนังของไทย ตกม้าตาย คือ ไม่รู้เรื่องเลย วิจารณ์ว่า เนื้อเรื่องเดิมๆ ดีแต่ effect ฯลฯ นี่แหละ สะท้อนให้เห็นว่า คนที่ยึดๆๆๆๆๆ ไม่เข้าใจเรื่อง "ดุลยภาพแห่งชีวิต" ยังตกค้างอยู่อีกมากมาย ..... ยังไม่ I see you สักที

หลายคน อ่านบทความนี้ แหยงไปเลย มันโดน เข้า "ใจดำ" ความมักง่าย มาจาก สถานศึกษานี่เอง ปนเปื้อน ผ่องถ่ายพฤติกรรมลงไปสู่ ลูก หลาน อย่างรวดเร็ว

ครู และ ศิษย์ ขาด "ความเชื่อม" (connect) ทางใจ แบบ ชาวนาวี และ นกอีกราน และต้นไม้ (จาก หนัง อวตาร)

เพราะ มีแต่ ถุยๆๆๆ ปิ้ง power point จบๆไป วันๆ สอบไล่ คือ ไล่ไปไกล ไล่ไปจากชีวิตฉัน สนใจแต่วิชาการที่จะยัดๆๆๆ ไม่สนใจ เรื่อง คุณภาพจิตใจ ความรักระหว่างครูและศิษย์ ฯลฯ

หลายคน มึน แล้วจะเอา อย่างไง

ก็คงต้อง ออกไป สร้าง สถานศึกษา ที่ ห่างไกล จาก คนบริหารการศึกษาชุดเดิมๆ นอกกรอบ นอกระบบ เรียนตามอัธยาศัย และ พวกองค์กรต่างๆ HR ต่างๆ คงต้อง เลือกคน จาก จิตอาสา จาก "สันดาน" มากกว่า เกรด และ สถาบัน

ขอบคุณครับ

โหด ร้าย ทารุณ มากครับคลิปนี้

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เห็นด้วยค่ะอาจารย์  เด็กจบมัธยมต้นอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
  • เด็กจบมหาลัย...สะกดภาษาไทยไม่ถูก
  • เด็กจบปริญญาโท ไม่ทราบว่า  ความหมายของตัวแปรคืออะไร  เงินครบจบได้
  • ตอนนี้พี่ครูคิมทำค่ายจิตอาสาฯ อยู่ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓ ยโสธรค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

บันทึกนี้ถูกใจจังค่ะ

เด็กบางคนได้เกรดในระดับสูง แต่พอไปทำงานจริง กลับทำงานไม่ได้ในสาขาที่ตนเองจบมา มันน่าเศร้ามากเลยนะคะ

กลายเป็นการผลักดันภาระให้กับที่ทำงานและตัวเด็กเอง ส่งผลถึงชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอีกค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะอาจารย์ 
เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว ที่ได้เรียนรู้อะไรมามากมาย ทำให้เห็นว่า "ระบบตัดเกรด"  สร้างให้เกิดความไม่พอเพียงแห่งจิตใจ   ซึ่งบางครั้งมันก็สวนทางกับเป้าหมายการจัดการศึกษาที่เราต้องการผลิตคนที่มีคุณภาพสู่สังคม....

เคยได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า  ตัดเกรดของมหาวิทยาลัยต้องมี A B C เป็นสัดส่วนเท่านี้ๆ นะ   ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นในตนเองว่า   หากครูไม่มีอิสระในการจัดการเรียนการสอนแล้วจะมีครูไว้ทำไม   เมื่อครูผู้สอนยังไม่มีความเป็นอิสระทางความคิด (ภายใต้ระเบียบของธรรมชาติและสังคมในการอยู่ร่วมกัน)  แล้ว เราจะสร้างสรรค์ผลผลิต คือศิษย์ที่มีจิตอิสระ จิตคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไรกัน

และที่สำคัญ ดิฉันก็เห็นด้วยอย่างยิ่งที่น่าจะล้มล้างความคิดเดิมๆ  ที่บางครั้งมองแคบมาก  ตัดสินความเก่งความฉลาดของคนแค่  "เกรด" หรือ สาขาวิชา  ทั้งๆ ที่แนวคิดปัจจุบันมีนักวิชาการ /นักวิจัยที่แสดงให้เห็นถึง "พหุปัญญา" ว่าคนเรามีความเก่งที่แตกต่างกัน   และมิหนำซ้ำ  ระบบราชการกลับเป็นตัวที่มากำหนดเกรด และคุณวุฒิ ในการรับคนเข้าทำงาน   .... ทั้งๆ ที่บอกว่า "คนเราเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง"  เพราะดิฉันก็ได้เห็นเพื่อที่สนิทมากทำงานได้เก่ง เป็นคนดี  แต่หากดูคุณวุฒิสาขาที่จบกับเกรดแล้ว หากสมัครงานราชการคงจะไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะสมัครแล้ว...

เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับอาจารย์  และอยากให้สังคมการจัดการศึกษาของเราได้ตระหนักถึงความสำคัญในส่วนนี้  เพื่อการพัฒนาที่ดีในอนาคตหากเป็นไปได้ค่ะ 

กระทู้แบบนี้ ครูอย่าน้อยใจ

อยากให้ สังเกตๆๆๆๆๆๆ เปิดใจ แล้วแก้ไข คิดใหม่ ทำใหม่ Open mind , open heart และ กล้าที่จะ ทำใหม่ Open will

ระบบตัดเกรด เป็น ระบบ มักง่าย ชุ่ยๆ เพิ่ง เข้ามาในประเทศไทย ไม่กี่ปี นี้เอง

ระบบของ เส้าหลิน มวยจีน พระป่า ช่างปั้นหม้อ ฯลฯ ไม่มีตัดเกรด มีแต่ เรียน จนกว่าจะ "ผ่าน"

พอครู ใช้ ระบบตัดเกรด สร้างบัณฑิตชุ่ยๆ ออกมา ฝ่าย HR ก็ ชุ่ยๆ วันสอบสัมภาษณ์ คือ วันที่ แต่ละคน "โกหก" ได้มากที่สุดในชีวิต

ทำไมต้องโทษครูด้วยคะ

เอามาตรฐานตัวเองเป็นเกณฑ์มากไปหรือเปล่า

ระบบตัดเกรด...เป็นเพียงตัวชี้วัดระดับความสามารถ

ของคนๆนั้น มันเป็นเพียงการวัดทางอ้อม...

หากคนนั้นมีความสามารถจริง

เขาก็ต้องได้เกรดออกมาดี

การตัดเกรดเป็นเพียงการแยกผู้เรียนว่ารู้ ไม่รู้ มากน้อยเพียงใด

มีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกัน

พหุปัญญาของคนเราแตกต่างกัน

การตัดเกรด...อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า

ใครอ่อน เก่ง ปานกลาง

คนทุกคนมีพัฒนาการ

การเรียนรู้...สามารถเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของคนเรา

ตอนที่คุณรู้แล้ว มีพื้นฐานแล้ว...การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ย่อมทำได้

สำหรับฉันแล้ว...แม้ว่าจะเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

แต่ฉันก็ยินดีมาก...ที่จะมีครูคอยอยู่เบื้องงหลัง

คอยแนะนำ ชี้แนะ...

ครูมีข้อดีมากกว่าการตัดเกรด...

ครูที่ดี ครูมืออาชีพ ยังมีอยู่

คนที่คิดว่าตัวเองเก่ง สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง

น่าขำนัก...

ไม่ใช่พระพุทธเจ้า...ที่เกิดมาจะต้องเดินได้ 7 ก้าว

เพราะฉะนั้นลองทบทวนความคิดดูอีกที...อย่าพูดหรือคิดเพียงบางมุม

----------------------------------------------------------------------------

"ระบบตัดเกรด" เป็นส่วนหนึ่งของการวัดและประเมินผล

ก่อนจะได้มาซึ่งการตัดเกรด...

ไม่ได้มาเพียงซึ่งสอบเก่ง สอบได้

การสอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

คะแนนที่ได้มาอีกส่วนสำหรับการตัดเกรด

ก็มาจากคะแนนเก็บ อาจจะการเรียนรู้ในชั้น

นอกจากนี้การได้มาซึ่งคะแนน

ครูเขาหลายๆ ท่านก็ต้องวัดตาม KPA

K = วัดทักษะ(Skill)

P = วัดกระบวนการ(Process)

A = วัดจิตพิสัย ทัศคติ(Attitude)

ตามหลัก...ครูเป็นผู้สอน ผู้สอนจะรู้ความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

สามารถวัดแต่ละคนได้ แต่การวัดก็มิได้หมายความว่า "จะหลับหูหลับตาตัดเกรด"

ครูหลายๆท่าน ทุกคนละ เขาก็ต้องตัดตามเกณฑ์ที่มีไว้

เช่น 80 คะแนน ได้เกรด 4 หรือ A

ต่ำกว่า 50 ได้ 0 หรือ F

แต่ในระดับอุดมศึกษา บางสาระการเรียนรู้

เขาก็จะอิงกลุ่ม...ซึ่งการอิงกลุ่ม

เป็นข้อดีสำหรับนักศึกษามากเลยล่ะ

แต่ว่าถ้าคะแนน...แย่ร้ายกาจจริงๆ สมัยฉันเรียน

อาจารย์ก็ไม่ได้ให้ผ่านเลยนะ

ต้องทำการซ่อมเสริม...จนกว่าจะผ่าน

บางอย่างที่เราเรียนรู้...

มันไม่ใช่แค่ภาคปฏิบัติ...ภาคปฏิบัติ เช่น รำมวยเจ๊ก มวยจีน ช่างปั้นหม้อ ฯลฯ

ไม่มีตัดเกรด ทำจนกว่าจะผ่าน ... คำว่า "ผ่าน" มันเป็นการประเมินค่า ค่ะ

กว่าจะได้มาซึ่งคำว่า "ผ่าน" ครูที่ฝึกที่สอน ก็ต้องเทียบเกรดด้วยสายตาและมันสมองแล้ว

กำลังจะบอกว่า ถ้าเทียบการตัดเกรดในไทยสมัยนี้

ก็คือ ... ถ้าคุณ ได้เกรด 1 ขึ้นไป ก็ถือว่า คุณ "ผ่าน" หลักสูตร

หรือเนื้อหานั้นแล้ว...

แต่ทีนี้ระดับของเกรด...จะสามารถบอกคุณต่ออีกว่า

คุณมีความสามารถ...มากน้อยเพียงใด

เช่น คนที่ได้เกรด 1 ย่อม ไม่มีความรู้มาก เท่าคนที่ได้ เกรด 4

ที่คุณบอกว่า...คนที่ได้เกรดน้อย....พอได้ทำงาน ทำได้ดีกว่าคนที่ได้เกรด 4

เป็นไปได้ค่ะ เพราะชีวิตหลังจากจบแล้ว...เป็นการใช้ทักษะชีวิตของแต่ละคน

คนที่มี IQ สูง อาจจะมี EQ MQ ต่ำ

คนที่มี IQ ต่ำ อาจจะมี EQ MQ สูง

อันนี้ก็ขึ้นกับตัวแปรรอบข้างค่ะ

หรือบริบทในที่ที่คนนั้นอยู่

ไม่ได้ขึ้นกับเกรด

เกรดที่ทุกคนได้หลังจากจบ...บนใบทรานสคริป ใบปริญญา ประกาศนียบัตร หรือ ปพ.ต่างๆ

เป็นเพียงใบเบิกทาง...นำคุณไปสู่สถานที่เหมาะสมกับคนนั้น...เท่านั้นเอง

เราอย่ามองการตัดเกรด...เป็นเรื่องมักง่าย

ไม่มีอะไรดีที่สุด...

วันนี้เราอาจคิดว่า "ระบบการตัดเกรด" ไม่ดี มักง่าย

แต่มันอาจจะเหมาะกะบางเรื่อง บางกลุ่มคน

แต่สำหรับฉันแล้วคิดว่า...ถ้าเราจะจำแนกคนด้านความรู้ความสามารถการตัดเกรดก็เหมาะสมนะ

เพราะกว่าจะได้มาซึ่งเกรด ...ก็มาจากการประเมินการปฏิบัติ และทฤษฎีบ้าง

เมื่อเทียบเปอร์เซนต์ เทียบเกณฑ์ ก็ถือว่าดีอยู่

ฉันเชื่ออยู่อย่างว่า "การศึกษา คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

เราอย่าเพียงยึดติดกับเกรดตลอดสิคะ

บางครั้งคนเรามันไม่เก่ง...เวลาทำงานก็ต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์คอยสอน

คอยแนะนำ... ไม่งั้นจะมีรุ่นพี่ รุ่นน้อง เหรอคะ

คนเราเมื่อมันชุ่ย...จะยอมให้เขาชุ่ยจมปรักเหรอคะ

ก็ต้องมีน้ำใจ..เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

คนที่คอยช่วยเหลือกัน น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ฉันเชื่อว่า "งานออกมาดี" แน่นอน

มันคงจะไม่ชุ่ยตลอดปีตลอดชาติค่ะ :D

เอ้า...วกมาที่ระบบการตัดเกรด

ผู้เรียนหลายคน...บางครั้งอาจจะต้องซีเรียส เครียดกับการสอบ

เพราะต้องอ่านหนังสือหนักๆ

สำหรับตัวฉันเองที่ผ่านการเป็นผู้เรียนมาพอสมควร

คิดว่าหากว่าเราขยันเรียนสม่ำเสมอ...ข้อสอบไม่ใช่เรื่องน่ากลัวนัก

การเรียน...ไม่ใช่แค่ไปนั่งฟัง ไปเรียนตามหน้าที่

ในระหว่างที่เรียน...สงสัยไม่เข้าใจ สามารถถามผู้สอนได้

ผู้สอนเขาก็จะตอบ เฉพาะคำตอบที่ตอบได้ อันไหนไม่ได้

เราก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน แสดงความคิดเห็นอภิปรายร่วมกัน

ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน...

คุณอย่าไปดูถูกคนสอนว่ารู้ไม่มาก...

ความรู้น้อย...สอนคุณไม่ได้

แล้วตัวคุณเอง...เก่งมาตั้งแต่ในท้องรึเปล่า

คนเราไม่ใช่จะรู้หมดไปซะทุกเรื่อง...

แต่ฉันเชื่อว่าในสาขาที่เขาจบมา...เขาย่อมแม่นกว่าเราแน่นอน

บางเนื้อหา...ถ้าเราคิดว่าเราแน่กว่าครู เราก็สามารถทักท้วงได้ด้วยเหตุและผล

คงจะไม่เป็นการหักหน้าครูเขาหรอก

หรือถ้าเกรงใจ...ก็ถามเป็นการส่วนตัวก็น่าจะได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------

การตัดเกรด..."ระบบมันดี"ค่ะ

แต่ "คนนำไปใช้...อาจจะดี และไม่ดี ไม่เท่ากัน"

อันนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้สอนแต่ละคน

(อยากให้เน้นผู้สอน มากกว่าคำว่า "ครู" เพราะคนที่สอนไม่ใช่ครูโดยวิชาชีพก็มีน่ะค่ะ) :P

การตัดเกรด เป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมินผล

ซึ่งการประเมินผล...ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลักสูตรของแต่ละสถาบัน หน่วยงาน

ถ้าว่าระบบการตัดเกรดไม่ดี มักง่าย คนนำไปใช้ เช่น ครู มักง่าย อะไรประมาณนี้

แล้วทำไม...ไม่ลองนึกถึง การตัดเกรด ที่ ผู้เรียนบางคน ได้ 0 ได้ F ล่ะ

บางคนต้องเปอร์ เรียนเพิ่มปีสองปี

ซึ่งเพื่อนก็จบไปทำการทำงาน หรือไม่ก็เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

จะเห็นว่าโอกาสของคนที่เปอร์ ซ้ำชั้น ... ทัดเทียมของคนที่ผ่านเกณฑ์ไหมล่ะ

เราต้องโทษตัวเองบ้าง ความใส่ใจของผู้เรียนบ้าง

อย่ารำไม่ดี โทษหมีโทษหมาสิคะ มันไม่น่าภิรมย์นักหรอก

แต่คนเรา...มันก็มักชอบเล่นตลกนะ

คนที่ซ้ำชั้น หรือติดเอฟ แก้แล้วแก้อีก จนล่วงรู้ ชำนาญ

ทำให้ฉลาดขึ้นก็มี พอจบอาจจะได้ดีกว่าคนที่ได้เกรดเอ ก็ได้

เพราะเขาเรียนหลายปี เรียนซ้ำๆ จนกว่าจะผ่านนั่นไง

เพราะฉะนั้นข้อดีของการตัดเกรดก็ยังมีอยู่

สำหรับความมักง่าย...ของคนสอน

ที่หลับหูหลับตาให้...

อันนี้อาจจะมีบ้าง...

แต่ฉันเชื่อว่าคงจะไม่เป็นทุกคน ทุกสถาบัน ทุกรายวิชาหรอก

ลองมอง ลองนึกถึงคนเก่งๆ ที่เขาจบมาด้วยเกรดสูงๆ

ทำงานดีๆ ตรงตามสาขาที่เรียนมาบ้าง

จะรู้ว่าคนกลุ่มนี้เขาภูมิใจมากน้อยแค่ไหน

เราไม่ควรมีอคติมากจนเกินไป

เราลองมองข้อดี เทียบข้อเสียบ้าง

เพราะทุกอย่าง...อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า

"มันไม่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด เปอร์เฟคที่สุด เลวที่สุด"

มันขึ้นอยู่กับว่า "เราตัดเกรด ด้วยความเที่ยงและเป็นปรนัย" มากน้อยเพียงใด

คนที่บอกว่า ต้องปรับทั้งระบบ

คน...เหมือนคน แต่คนไม่เหมือนกัน

คำว่า ปรับ พูดแสนง่าย ใครๆ ก็พูดได้ ถ้าไม่ใบ้กิน

ปรับ...จะปรับอย่างไร ปรับทั้งระบบ มันเป็นวาระแห่งชาติเลยนะ

แต่ใช่ว่า...ถ้าระบบใหม่มันดี...แล้วเราจะไม่ยอมรับ

เราก็ต้องมองว่า...

ข้อดี...ดีมากน้อยเพียงใด

ข้อเสีย...เสียมากน้อยเพียงได้

ผลที่ได้...เหมาะสมกะใครบ้าง

กับผู้เรียนทุกคนหรือเปล่า...

ถ้ามีระบบใหม่ที่ดี หน่วยเหนือเขาก็ต้องปรับเปลี่ยนอยู่แล้ว

เหมือนกับการปรับหลักสูตรการเรียนแต่ละภาค (ภาคพื้นฐาน ภาคบังคับ ภาคไม่บังคับ ของเอกชน รัฐบาล) เป็นต้น

แต่ก่อนจะได้มาซึ่งระบบต่างๆ

หน่วยงานที่เขารับผิดชอบ...เขาก็ต้องมีการทดลองใช้ก่อน

ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า ว่าจะเปลี่ยนแล้วใช้เลย

นักเรียนไม่ใช่ "หนูทดลองยา"

เพราะงั้นต้องให้เวลา...

สิ่งที่มีอยู่ และใช้ในปัจจุบัน

เช่นว่า ระบบการตัดเกรด ไม่ใช่ว่า ไม่มีการประเมิน ว่ามันดี ไม่ดี

หลายๆ เสียงก็วิพากษ์วิจารณ์เหมือนกันว่า มันใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ได้

เพราะคนเรามัน...มีความเที่ยงไม่เท่ากัน

จะเห็นได้จากระบบการสอนเข้ามหาวิทยาลัย

ที่ปรับการใช้เกรด และไม่ใช่เกรด เข้าเลือกแต่ละคณะ

อันนั้นก็เป็นข้อผิดพลาดเหมือนกัน

แต่ฉันเชื่อว่า ผู้เรียนน่าจะรู้ขีดความสามารถของตน

สามารถเลือกคณะที่ตน คิดว่าจะเข้าไปเรียนแล้วมีความสบายใจ มีความสุข

ก็อย่าเลือกคณะที่สูงเกินกว่าความสามารถตัวเองสิคะ

คนเรามันน่าจะมีวิสัยทัศน์ประมาณตนเองได้

บางคนคิดว่าตัวเองได้เกรดดีดี แต่ไม่อ่านหนังสือสอบ ไม่ใส่ใจในเนื้อหาก่อนสอบ มันก็อาจพลาดเป้าได้

บางคนเกรดไม่ค่อยดี แต่ถ้าขยันสม่ำเสมอ มันก็ย่อมทำได้

อีกอย่างฉันคิดว่า "การท่องจำ" มันยังจำเป็นอยู่

คนเรามันก็ต้องท่องจำบ้าง ไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอด

ไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ใด ทัดเทียมสมองของเราหรอกค่ะ :D

หากเราไม่หมดลมหายใจ...อย่างน้อยก็ต้องมีติดตัว

เทคโนโลยีสมัยใหม่...วันไหนที่มันใช้งานไม่ได้

มันจะช่วยคุณได้ดีเท่าสมองคุณไหมล่ะ

อีกอย่าง...คนเราเรียนรู้ด้านใด ปฏิบัติจริงเรื่องใด มันก็ต้องเชี่ยวชาญด้านนั้น

ปัญหา...มันมีให้แก้ สำหรับคนที่ลงมือทำ... เมื่อไม่ได้ผล เราก็ต้องปรับ เมื่อไม่เป็น เราก็ต้องฝึก ต้องเรียนรู้

ไม่ใช่เรียน ดร.ด้านเกษตร(สมมุติค่ะ) แต่พอลงแปลง แล้วทำไม่ได้ การประเมินผล เราไม่ได้วัดหรือตัดเกรดแค่ปีเดียว

เราประเมินตัวเราเองไปทุกช่วงชีวิตแหล่ะค่ะ มันไม่ใช่เรื่องน่าอาย

ในทางกลับกัน ถ้าให้ชาวนาไปนั่งในห้องทำข้อสอบเมือนคุณ เค้าก็อาจจะทำไม่ได้

เพราะงั้นคุณมีทฤษฎี ชาวนามีความเชี่ยวชาญ

สองคนต้องมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

โดยใช้พื้นที่ของชาวนา เป็นแปลงทดลอง

บางทีคุณมีทั้งทฤษฎี เมื่อคุณได้ลงปฏิบัติจริงในพื้นที่ของชาวนา

หลายปีผ่านไป ฉันเชื่อว่า คุณต้องเก่งกว่าชาวนา แน่นอน เพราะคุณมีทั้งความรู้และประสบการณ์จริง จริงม่ะ :D

อืม...ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้น้อยใจ ที่หลายๆคน โทษคุณครูหรอกนะคะ

กลับเป็นเรื่องดีซะอีก... จะได้มุมมองของแต่ละคนไป

ที่จริงๆ อยากบอกว่า "การตัดเกรดนี้" หลักสูตร เป็นตัวกำหนดโครงสร้าง

ซึ่งกว่าจะได้มาซึ่งหลักสูตร ก็คิดว่ามาจากผู้เชี่ยวชาญใหญ่ๆ โตๆ หลายสาขา

ถ้ามันมักง่าย...ไม่ดีจริงๆ สำหรับคนส่วนใหญ่

คาดว่าเค้าคงจะปรบหล่ะค่ะ

ครูที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่

ใช่ว่าจะมักง่ายกันทุกคน

คนที่ไม่เคยใช้...ไม่เคยสัมผัส ก็จะพูดเอง เออเองตามที่คิดหรือได้รับข้อมูลที่ให้ผลกับตัวเอง

สำหรับครูแล้ว...เชื่อว่าเรามีมาตรฐานในการตัดเกรดพอสมควร

ไม่ได้ปล่อยเกรด หรือแพงเกรดแต่อย่างไร

เราตัดตามความสามารถของนักเรียนโดยแท้จริง

เมื่อมันเหลือบ่ากว่าแรง เราก็ต้องซ่อมเสริม

บางครั้งพบว่าเด็กที่ขึ้นมัธยมยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

อันนี้ก็มีจริงๆ

ถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็คงคิดว่าปึกตามพันธุกรรม

อุดมศักษา โทษมัธยม

มัธยมโทษประถม

ประถมโทษอนุบาล

อนุบาลก็ไม่น้อยหน้า..โทษบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณเลย

แต่ว่า ณ ปัจจุบัน คนสามารถเรียนรู้ได้

จะโทษแบบนั้นก็ไม่ได้

มันก็ต้องขึ้นกับตัวนักเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง ใส่ใจมากน้อยเพียงไหน

ทุกวันนี้...คนที่สอน ขอเพียงแค่ว่านักเรียน หรือผู้เรียน เป็นคนดี มีความสุข สามารถเอาตัวรอดได้

ไม่ตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดแกมโกง ก็น่าจะภูมิใจ

สำหรับการแข่งขันในระบบสถานศึกษา

มันก็ต้องมีล่ะ เพราะมันเป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่ง

ตามหลักจิตวิทยาของมาสโลว์ไง

ความต้องการ 5 อย่างน่ะ

มันก็ต้องมีบ้างที่ต้องแข่งขันกัน

ปล. พิมพ์ไปพิมพ์มาอาจจะวกวนบ้าง

ก็ต้องขออภัยค่ะ เพราะพิมพ์ตามที่คิด ณ ขณะนั้นเลย

หากไม่สุภาพต่อท่านใด ก็ขอโทษมากๆค่ะ :D

ขอบคุณค่ะ

ผมอ่านดู เห็นว่า อ.วรภัทร์ท่านหมายถึงคนที่ "คิดแบบข้างต้น" คือ 6-7 ข้อที่ว่านะครับ ส่วนอาจารย์/ครูที่ตัดเกรดอย่างมีสติ และประเมินนักเรียนด้วยความรักและเมตตา อาจจะอ่านด้วยปัสสัทธิได้

ผมมีอาชีพเป็นครูเหมือนกัน และ​ "ได้" อะไรๆจากเด็กเยอะ เห็นด้วยกับคำที่ supervisor ของผมเคยพูดทิ้งไว้ก่อนจากกันว่า "เป็นครูนี่ เราได้เรียนจากเด็ก เยอะกว่าที่เราสอนไว้มากเลยนะ จำเอาไว้" ขณะที่เราตัดเกรด หรือประเมินอะไรเด็ก ควรจะศิโรราบในความโชคดีและในบุญคุณของนักเรียนให้เยอะๆ เมื่อนั้นจิตเมตตาอาจจะทำให้เราทุกข์น้อยลง ด่วนสรุปอะไรต่อมิอะไรน้อยลง มองเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆมากขึ้น ตัวเราเองก็เติบโตขึ้น รักอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น วางอะไรต่อมิอะไรลง ถืออะไรต่อมิอะไรน้อยลง

เบาสบาย

เอ clip นี้ มาจาก ประเทศไหน หนอ คุณครู น่าจะมาเรียนรู้ นะ ครับ

เห็นด้วยและมันก็จริงอย่างที่อาจารย์ว่าอะครับ โลกเรามันก็เปลี่ยนไปทุกวันทุกวัน 555

อาจารย์คิดเหมือนผมเลย

ขอออกนอกเรื่อง ข้ามเรื่องการศึกษาไปพูดเรื่องหนังนะครับ

เรื่อง อวตาร Avatar ผมดูแล้วได้แง่คิด สิ่งที่ cameron พยายามสื่อให้คนดูรู้เรื่องของจิต ร่างกาย และความคิด แยกออกจากกัน

และความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่มนุษย์พยายามที่จะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเลียนแบบธรรมชาติ คือเรื่องของการเกิดใหม่ในร่างใหม่ของจิตดวงเดิม แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ คือทำได้เพียงชั่วคราว คือแค่ช่วงหนึ่งของการตื่น เมื่อหลับก็จะกลับสู่ร่างเดิม เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบกับหนังเรื่อง hurt locker ที่แซงหน้ารับรางวัลต่างๆไป ผมดูแล้วกลับไม่ได้อะไรที่เป็นสาระซักเท่าไหร่เลย งง มาก

ไม่รู้ว่าเขาตัดสินกันอย่างไร ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสิน หรือว่ากรรมการชอบที่เทคนิคการถ่ายทำ ที่ออกมาสมจริง ดูระเบิดน่ากลัวแล้วสมจริงสมจัง ดูแล้ว in แปลกตา และเข้ากับเหตุการณ์ของโลกปัจจุบันที่สะท้อนความโหดร้ายอย่างเดียว หรือว่าเขาดู Avatar แล้วไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้สร้างต้องการถ่ายทอด เรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ทางโลก แต่สำหรับคนที่ศึกษาธรรมะ จะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้ไม่มากก็น้อย

ยังไงเกรดก็ไม่ได้วัดคุณภาพคนอยู่ดี สุดท้ายขึ้นอยู่กับคนคนนั้นมีคุณภาพข้างในมากเท่าไหน

เทอมนี้จะลองลงต่อ ป.โทดูซะหน่อยเพราะรู้สึกว่าจบตรี วิวะ นี้ไม่มันเลย วิวะเมืองไทยจบไปเพื่อจะสั่งของนอก สเปคนอกถูกตามข้อกำหนดแค่เนี้ยะ *หมายเหตุ ในวงการก่อสร้างนะครับ __สายอื่นไม่รู้เป็นงั้ย

ระบบตัดเกรดมักง่ายวัดผลกันตื่นๆ สมัยเรียน มาหาอะไร (มหาวิทยาลัย)มีวิชาหนึ่งต้องลอก ต้องคัดรายงานส่งผมไม่ชอบเลยไม่ลอกส่ง ผลออกมา D ส่วนใครที่ลอกแล้วส่ง __ได้ C ห่วยจิงๆ

เรียนกับคนที่กำลังเร่งเอาผลงาน คงจะได้ความรู้หรอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท