โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 1


"การเริ่ม palliative care ที่ช้าไป ทำให้ดูแลยาก ผมว่า เราควรจะเริ่มตั้งแต่อยู่ OPD มาถึง ward ผมว่าก็ช้าเกินไป" พี่ธวัชชัยเปิดประเด็น

เมื่อวันอังคารบ่ายที่ผ่านมา (2 กุมภาพันธ์ 53) ทีมกัลยาณมิตร ได้มีกิจกรรมพูดคุยกันครั้งที่ 2 ของปีนี้ ครั้งแรกคือ ประชุมกำหนดวิสัยทัศน์ "ทีมกัลยาณมิตร" เป็นการประชุมโดยมีคนนอกร่วม (ผู้นำศาสนา+ จิตอาสาและ อสม.)

ครั้งนี้เป็นการประชุมในหมู่เจ้าหน้าที่ รพ. โดยใช้สุนทรียสนทนา เรามีแนวร่วมใหม่คือ พี่บุ๋ม (เสื้อสีนำเงินขวามือ) งานพัฒนาคุณภาพ มีประสบการณ์อบรม KM กับมูลนิธิสดศรี...ชวนกันคิดปรับเปลี่ยนกิจกรรมจากที่เคยเป็นในอดีต เช่น  แลกเปลี่ยนหลายมุมมอง : ทีมกัลยาณมิตร ที่ในอดีตเป็นการประชุมแบบวิชาการทั่วไป มีข้อจำกัดคือ คนที่ร่วมวงจะใช้หัว มากกว่าใช้หัวใจในการร่วมกิจกรรม

ทีมเราเลยมาคิดกันใหม่ว่า...จะจัดรูปแบบกิจกรรมอย่างไรให้เข้าถึงใจผู้ปฏิบัติ ที่เป็นการเปลี่ยนระดับทัศนคติมากกว่าให้แต่เพียงความรู้อย่างเดียว

พี่อุ้ม (หัวหน้าฝ่ายการ),พี่ธวัชชัย และหมอศิริศักดิ์

รอบนี้เรามีผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คน เป็นหมอ 4 คน คือ พี่ธวัชชัยหมอ ENT, ศิริศักดิ์ จิตแพทย์,พี่สมชาย (ศัลย์), และ ผมเอง+พยาบาลแผนกศัลย์+นักจิตวิทยา โดยมีผมเป็น facillitator และ ที่พิเศษในครั้งนี้คือ มีพี่อุ้มหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล (นั่งติดกับพี่ทวัชชัย) เป็นนิมิตรหมายที่ดีที่คนระดับบริหารเริ่มสนใจงานนี้+มีน้องหมอ fammed 2 คนมาดูงาน

ทีม note taker 4 สาว

โดยเริ่มกิจกรรมด้วยการทำความสงบร่วมกัน และตกลงกฏิกา 4 ข้อ

1.ฟังอย่างลึกซึ้ง-ปล่อยวางความคิดไม่ตัดสิน-ฟังจนจบ

2.วางหัวโขนชั่วคราว...ไม่ว่าคุณเป็นใคร

3.ปิดเสียงมือถือ

คนต้นเรื่องเริ่มเล่าเรื่องราวคนไข้ที่มาด้วยระยะสุดท้ายที่ รพ. แล้วปรึกษาทีมก่อนคนไข้เสีย 2 วันและทีมดูไม่ทัน...คุณแนท (เป็นเลขาโครงการ..เป็นอิสลาม)และ sister ประภัทสร (เป็นคริสต์) ไปส่งคนไข้ถึงบ้าน (เป็นพุทธ) อย่างสงบได้ (ศาสนามิใช่พรหมแดนจริง ๆ)

เราได้ประเด็นหลัก 2 ประเด็นคือ คือเรื่องระบบ และ กลุ่มมะเร็ง

1.เราจะพัฒนาระบบเราอย่างไร...ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและเริ่มตั้งแต่ ช่วงแรก ๆ ถึงแม้ case นี้จะทำได้ดีในตอนท้ายแต่ จริง ๆเขาควรได้รับการเยียวยาตั้งแต่เริ่มแรก เราพบว่าปัจจัยที่ทำให้ case นี้ไม่ได้รับ palliative care ตั้งแต่เริ่มแรกก็คือ

"การเริ่ม palliative care ที่ช้าไป ทำให้ดูแลยาก ผมว่า เราควรจะเริ่มตั้งแต่อยู่ OPD... มาถึง ward ผมว่าก็ช้าเกินไป" พี่ธวัชชัยเปิดประเด็น

-ขาดการประเมินด้านจิตใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่แรก (ความเห็นพี่สมชาย) ประเมินแต่ระยะโรคแต่ขาดการประเมินด้านความคิดความรู้สึก/จิตใจ 

"เรามีการประเมิน TNM staging แต่เราไม่ได้มีการประเมินใจ...เราควรจะต้องนำสิ่งนี้เข้าไปอยู่ในวิธีการปฏิบัติให้ได้อย่างแท้จริง" พี่สมชายกล่าว

-ขาดการสื่อสารที่ดีในระบบ.....แพทย์เจ้าของไข้ยังไม่ปรึกษาทีมกัลยามิตร ถามดูก็พบว่า แพทย์ยังไม่ทราบถึงกิจกรรมของทีม...หรืออาจมีทัศนคติที่ยังไม่พร้อมรับกับเรื่อง palliative care (อาจไม่เห็นประโยชน์)

"พอพี่เห็นว่าคนไข้น่าจะได้การดูแลแบบ palliative care บอกหมอเขาปรึกษาแต่เขาบอกว่าไม่ต้องก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง" พี่จิ๋มหัวหน้าพยาบาล ward ศัลย์หญิงกล่าว

-ทีมกัลยามิตร กำหนดให้แพทย์เจ้าของไข้ต้องยอมให้ทีมเข้าไปดูก็เลยมีคนไข้บางส่วนไม่ได้เข้าโครงการ...ข้อนี้ได้แลกเปลี่ยนเยอะ ระหว่างพยาบาล กับแพทย์ ว่าจะอนุญาติให้พยาบาลปรึกษาได้โดยไม่ผ่านแพทย์

"ผมมองว่า...การกำหนดแนวทางที่ชัดเจนก็เป็นเรื่องดี แต่บางครั้งเราก็คงลืมไปว่าสุดท้าย ที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องคุยกันมากกว่าวางกฏเกณฑ์" หมอศิริศักดิ์กล่าว

-บุคลากรระดับปฏิบัติยังไม่สามารถดูแล...หลายคนขาดทักษะ...อันนี้ก็เป็นประเด็น

พี่สมชายบอกว่า "การที่จะรอให้มีความรู้ก่อนแล้วค่อยทำเราคงไม่ได้ทำ ต้องลองคิด ลองทำ แล้วเราก็จะได้เห็นปัญหาและเรียนรู้ไปกับมัน"

ถึงตอนนี้ผมขอจบไว้แค่นี้ก่อน...ตอนต่อไป...ก็เป็นเรื่อง การทำกลุ่ม และ AAR (after action review)

หมายเลขบันทึก: 333921เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณหมอหัวใจ 

มาเรียนรู้และทายทัก งานคงยุ่งนะคะ

ไม่ได้เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย หากแต่มีรุ่นพี่ระยะ ๓ ค่ะ

เข้าใจ ถึงความอดทน และต้องใช้เวลานานเลยนะคะ สำหรับแต่ละเคส

ชื่นชม และเป็นกำลังใจคุณหมอ ด้วยหัวใจ  ขอบคุณค่ะ

poo ครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ

ความท้าทาย เดียวกัน  Palliative Care จะแทรกตัวเข้าไปใน Specialty อื่นอย่างไร
ผมได้เรียนรู้ว่า

  • ถ้าตัวใหญ่ อ้วน ก็หาที่แทรกยาก ต้องทำตัวเล็กๆหน่อย หมายถึง อย่าบอกว่าเขาเลว ฉันดี อย่าบอกว่าสิ่งที่เขาทำอยู่ผิด ไม่เป็นองค์รวม ไม่มีความเป็นมนุษย์ แต่บอกว่า เราจะช่วยเสริมอะไรเขาได้บ้าง
  • ไม่ต้องแทรก แต่สนับสนุนให้เขาทำเอง อันนี้ได้มาจากประชุมเครือข่ายฯที่จุฬาฯเดือนก่อน เห็นหมอ cardio, nephro, pulmo พูดสิ่งที่ตนเองทำ palliative care แล้วปลื้มมากๆ

ผมเห็นด้วย เรื่องความพยายามสร้างกฏเกณฑ์ให้คนอื่นปฏิบัติ มันตบมือข้างเดียว เขียนไป ก็ไม่มีใครทำ ยกเว้นสั่งการจากผู้บริหาร แต่ก็จำใจทำ

โรจน์เริ่มจากคนเดียว ตอนนี้มี ๔ หมอแล้ว ถ้าเอาเฉพาะคนไข้ของหมอสี่คนนี้ แล้วให้งาน palliative care มันเนียนกับงานของเราเอง แค่นี้มีภาระงานให้ทีมมากพอมั้ยครับ

ขอบคุณอาจารย์เต็มครับ ผมเองก็เห็นตรงกับอาจารย์ครับ โดยตัวกิจกรรมเองเป็นการเผยแพร่งาน palliative care โดยผลของกิจกรรมมุ่งเน้นการ

"ปรับทัศนคติมากกว่าความรู้-สร้างมิตรมากกว่าสร้างอัตตา-เรียนรู้จากกันและกัน"

 ผมโชคดีมากที่ได้ร่วมกิจกรรมของพุทธิกาสม่ำเสมอ..ได้ครูดีอย่างอาจารย์...ได้เพื่อนร่วมอุดมการณ์อย่างทีมกัลยาณมิตร

สวัสดีคะพี่โรจน์ ยินดีด้วยกับผล IELT (ที่ไม่ยอมให้บอกว่าได้ 6.5) เตรียมตัวเป็นนักเรียน Flinders :>

จากความเห็นอาจารย์เต็ม การเป็นแบบที่สอง (ไม่ต้องแทรก ไม่ต้องแยกตัวตน ให้ซึมอยู่ในทุก field) มีข้อดี คือ ไม่ต้องตั้ง criteria หรือทำความเข้าใจในเรื่องการ consult การ refer และอีกมุมหนึ่งผู้่ป่วยมี relationship กับหมอเดิมอยู่แล้วการถูกส่งต่อไปอาจสร้างความหวั่นใจแก่เขาก็ได้

การ encourage specialty ให้ทำ palliative care โดยมีฝ่ายสนับสนุน (เมื่อต้องการ) จึงอาจลดปัญหา การ palliative ช้าไปได้

สวัสดีครับแต้

ในวงถกกันประเด็นนี้ไว้ได้รายละเอียดพอสมควร...ช่วยเย็นที่ผ่านมาผมคุยกับน้องหมอ FM ที่มาดูงานจาก รพ. วชิระ เขาเข้าร่วมกินกรรมด้วย เขาถามผมว่า

"พี่ไม่กลัวเขาปรึกษามามากจนดูไม่ไหวหรือพี่ ?"

คำตอบ "พี่เองไม่รู้สึกหนักอะไร.........ทำเพราะอยากทำ ก็เลยทำ.....แต่จริง ๆแล้วต้องการให้เขาสามารถดูแลคนไข้แบบ palliative care ในแบบที่เขาต้องการ ยกตัวอย่างเช่น...ทีมศัลย์เกิดปิ๊งขึ้นมาว่าสนใจทำกลุ่มมะเร็ง...ถ้าพวกเขาเริ่มได้เขาก็จะมีความภาคภูมิใจ-คนไข้ก็จะได้ประโยชน์ เพราะอย่างน้อยเจ้าหน้าที่ก็จะฟังความต้องการของผู้ป่วยมากขึ้น"

โดสรุป "เราเป็น change agent มากกว่าจะลงไปเล่นเองในทุกสนาม"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท