ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

(๓) ภาพบรรยากาศ และ AAR การเขียนบทความทางวิชาการ และการสัมมนาเรื่องความขัดแย้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 

    ตามที่คณะทำงานได้ดำเนินการโครงการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้คณาจารย์นำเสนอในวัน "มหาจุฬาวิชาการ" ในระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๓ และลงตีพิมพ์ในงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๗ ในระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒นั้น

    เพื่อให้บรรลุัวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมทั้งสองอย่างนั้น ในวันที่ ๒๙-๓๑ มกราคม ๒๕๕๓ คณะทำงานจึงได้ร่วมกัน จัดมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีต่างๆ ทั้ง ๔ ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคกลาง  ซึ่งในครั้งนี้ คณะทำงานได้เดินทางไปติดตามการเขียนบทความครั้งที่ ๒ ณ ภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยาเขตเชียงใหม่ มหาจุฬาฯ เป็นเจ้าภาพ ซึ่งรายละเอียดของกิจกรรมประกอบด้วย

พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. (ขวา) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาจุฬาฯ
ปาฐกถา เรื่อง "มหาจุฬาฯกับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ"
พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. (ซ้าย)
รองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่ ในฐานะเจ้าภาพในการจัดงาน

ศ.ดร. นิธิ  เอียวศรีวงศ์์
ปาฐกถาิพิเศษ
เรื่อง "ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบััน"

คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา จำนวน ๑๑๐ รูป/คน
ร่วมรับฟังการปาฐกถา และร่วมเขียนบทความทางวิชาการเืพื่อตีพิมพ์ในวันวิสาขบูชาโลกปี ๕๓

นิสิตปริญญาเอกของมหาจุฬาฯ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

การอภิปรายร่วม
เรื่อง "ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบััน"
วิทยากรประกอบด้วย  พระครูพิพิธสุตาทร, ดร., กำนันอินทร กำนันตำบลสันผักหวาน อ.หางดง, พ่อหลวงไตรภพ แซ่ย่าง บ้านม้งดอยปุย อ.เมือง และศ.ดร.เฉลิม
โดยมีผู้เขียนเป็นผู้ดำเนินรายการ


บทสรุปจากการดำเนินงาน

     ๑. มหาจุฬาฯ กับการเป็นศูนย์กลางวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ  พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "มหาจุฬาฯ กับการเป็นศูนย์กลางวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ" โดยท่านได้ย้ำว่า มหาจุฬาในปัจจุบันนี้ ได้ก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแล้ว เพราะมีนิสิตต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย ร่วมไปถึงการที่มหาวิทยาลัยได้มีบทบาทความในการเป็นศูนย์กลางการจัดงาน สัมมนาระดับโลกในหลายปีที่ผ่านมา

     ๒. ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงค์ ได้ปาฐกถา เรื่อง "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน"  สิ่งที่น่าสนใจ คือ ท่านได้เน้นว่า  สังคมไทยมีภูมิปัญญาดีที่สามารถจัดการความขัดแย้งของคนในชุมได้ดี เช่น ประเพณีบายสีสู่ขวัญ ที่ญาติพี่้น้องหรือคนในหมู่บ้านทะเลาะกัน ประเพณีแห่นางแมว ที่คนในสังคมประสบปัญหาวิกฤติน้ำ จึงต้องให้คนในสังคมได้ร่วมมือกันมองเห็นปัญหาแล้วช่วยกันทำในสิ่งที่ตรงกัน ข้ามกับธรรมชาติ เพราะแมวกลัวน้ำ การสาดน้ำใส่แมวก็เพื่อประชดธรรมชาติ โดยให้คนในสัังคมได้มองเห็นความยากลำบากร่วมกัน แทนที่จะโทษกันและกัน  ถึงกระันั้น ทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าว ท่านได้เสนอว่า การเปิดพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอปัญหาและทางออกจะเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ดี การที่จะนำภูมิปัญญาดั้งเดิมของท่านมาจัดการความขัดแย้งนับเ็ป็นเรื่องยาก เพราะบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่างกันมาก ฉะนั้น ทางออกคือ "การนำจิตวิญญาณ" ของภูมิปัญญาไทยมาปรับใช้เพื่อให้สอดรับกัับสถานการณ์ปัจจุบัน

     ๓. การอภิปรายร่วม "ภูมิปัญญาไทยกับการจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดย พระครูพิพิธสุตาทร, ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่ กำนันอินทร พ่อหลวงไตรภพ และศ.ดร. เฉลิม และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร. ได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางที่สำคัญเพื่อชี้ให้เห็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย สาระสำคัญคือ การล่มสลายของระบบศีลธรรมในสังคม ได้ก่อให้เกิดความล่มสลายของระบบแก่เหมืองแก่ฝายในภาคเหนือ และในระบบอื่นๆ ตามมา  โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งคือ "ความโลภ"  ที่ำำทำให้มนุษย์ต่างฉกชิงผลประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ซึ่งเป็นการแสดงออกที่เห็นแก่ตัวมากจนเกินไป  ดังที่มหาตมะ คานธีกล่าวว่า "ทรัพยากรเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก แต่ไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว" ซึ่งสอดรับกับพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "โลกเกินก็ลามก"  ฉะนั้น  ส่วนใหญ่จึงเห็นสอดรับกันว่า ควรลดความเห็นแก่ตัว  ซึ่งประเด็นนี้สะท้อนแง่มุมในสองประเด็นหลักคือ "ในแ่ง่โลกิยะ" และ "ในแ่ง่ของโลกุตระ"  ในแง่ของโลกิยะเน้นการเห็นแก่คนอื่น หรือเห็นแก่ส้ังคมมากยิ่งขึ้น แต่ให้เห็นแก่ตัวน้อยลง เพื่อให้มนุษย์ได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรร่วมกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน  ส่วนในแง่ของโลกุตระ เน้นลดการยึดมั่นถือมั่น หรือลดตัวกูของกู อันจะนำไปสู่การเปิดพื้นที่ หรือขยาย "นิพพานให้เิ่พิ่มมากยิ่งขึ้น"


บทเรียนจากการดำเนินโครงการ

     ๑. การดำเนินกิจกรรม "แบ่งปัน" ในครั้งนี้ ได้ทำให้พบบรรยากาศของ "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น"  หลายท่านได้แสดงความเห็นและการนำเสนอที่เป็นประโยชน์และเปิดใจรับฟังกัันและกันมากขึ้น

     ๒. คณะทำงานได้รับ "หัวข้อ" และ "บทคัดย่อ" ของบทความที่ดีๆ หลายบทความ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สอดรับการ Theme ของการจัดงานประชุมนานาชาติ เรื่อง "การฟื้นคืนวิกฤติการณ์ของโลกด้วยทัศนะชาวพุทธ" ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการคัดเลือกบทความดีๆ และได้มาตรฐาน

     ๓. นิสิต และคณาจารย์ได้รับแรงบันดาลใจ จากการได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน  สิ่งที่น่าสนใจคือ นิสิตหลายท่านที่อยู่กทม. ครั้้งแรกไม่ปรารถนาจะเดินทางไปเชียงใหม่ แต่หลายท่านบอกว่า คิดถูกแล้วที่ตัดสินใจไปร่วมงาน

ปัญหา อุปสรรค และทางออก

     ๑. การตั้งหัวขอของบทความนับเป็นปัญหาสำคัญของนิสิตและคณาจารย์หลายๆ ท่าน เพราะการตั้งหัวข้อ ไม่สะท้อนปัญหาที่จะนำเสนอ และกว้างมากจนเกินไป จึงเสนอให้ทุกท่านได้เห็นว่า ตอบตัวเองให้ได้ว่า ปัญหาของการเขียนคืออะไร มีประเด็นสำัคัญอะไรอยากจะนำเสนอ โดยตีกรอบให้แคบๆ เพราะบทความมีความยาวเพียง ๑๕ หน้ากระดาษ

     ๒. การอ่านหนังสือวิชาการน้อยเกินไปทำให้ขาด "แหล่งข้อมูล" ที่จะนำมาเขียน  เพราะการเขียนวิชาการจะต่างจากการเล่าเรื่อง "Storytelling"  เนื่องจากการหาประเด็นปัญหาของการเขียน การอ้างอิงงานทั้งระดับชาติและนานาชาติ  ถ้าหากจะบอกว่าเป็นประดุจการเล่าเรื่อง แต่จะเป็นการเล่าที่มีหลักวิชามากยิ่งขึ้น มีข้อมูลหรือทฤษฏีมายืนยันสิ่งที่เราิคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่การเล่าโดยไร้กรอบและขาดทิศทางในการนำเสนอ

      ๓. ภาษา   นิสิตและคณาจารย์หลายท่านต่างก็ยอมรับว่า "อ่อนด้อยเรื่องภาษา" โดยเฉพาะ "ภาษาวิชาการ"  การเขียนมักจะเป็นภาษาพูด ซึ่งขาดประธานของประโยค จึงไม่ทราบว่า ต้องการจะสื่ออะไร อะไรคือตัวหลัก หรือแกนที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งภาษาเป็นสิ่งสำัคัญในการเขียนบทความทางวิชาการ  โดยสรุปคือ "อ่อนภาษาไทย"  เช่น ไม่รู้ว่า ทำไมจึงต้องใช่คำว่า "ฉะนั้น" หรือ "แต่"  หรือ "อย่างไรก็ดี"  บางท่านไม่สามารถตอบได้ ทั้งที่ำคำเหล่านี้ คือ "คำสรุป" หรือ "แย้งประโยคหน้า" 

อนาคตของบรรยากาศทางวิชาการ

     นักเขียนหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า  ในอดีตที่ผ่านมานั้น ในวงการพระพุทธศาสนา หรือคณะสงฆ์ในเมืองไทย มักจะสอนเรื่อง "การพูด" หรือ "การเทศน์" เป็นสำคัญ แต่นั่นอาจจะเหมาะในยุคก่อน หรือสมัยก่อน  แต่ปัจจุบันนี้ แม้การพูด หรือเทศน์จะมีความสำคัญ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ "การเขียน"

     การพูดอาจจะดังไว หรือคนอาจจะรู้ัจ้ักไ้ว แต่ทุกครั้งที่เราพูด คำพูดที่เราพูดมักจะเลือนหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว  แต่เมื่อไรที่เราจะเขียน สิ่งที่เราเขียนจะยังคงอยู่เป็น "ธรรมเจดีย์" ให้คนรุ่นต่อไปได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือวงวิชาการ เช่น หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อพระพรหมคุณาจารย์ พระธรรมโกศาจารย์ หรือแม้กระทั่่งท่าน ว.วชิรเมธี

     สถาบันภาษามหาจุฬาฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เปิดหลักสูตร "เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ"  ๔๐ ชั่วโมงต่อรุ่น  โดยเชิญนักวิชาการเด่นๆ หลายท่าน เช่น ศ.ดร. จำนงค์ ทองประเสริฐ ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ ศ.ดร.สมภาร พรมทา และ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และหลักการในการเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานทางวิชาการ  สถาบันหวังใจว่า การดำเนินโครงการในลักษณะนี้ จะก่อให้เกิดนักเขียนใหม่ๆ ในกลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่จะสะท้อนแง่มุม และแนวทางที่ดีแก่สังคมไทยและสังคมโลกสืบไป

หมายเลขบันทึก: 332931เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

อนุโมทนาด้วยนะครับที่นำกิจกรรมดี ๆ มาเผยแพร่

ทำให้คนนอกกำแพงวัดได้ทราบความเคลื่อนไหวของมจร.ไปด้วย ดีครับ

นมัสการเจ้าค่ะ

เป็นโอกาสดีมากเลยเจ้าค่ะที่ได้ความรู้จากหลายๆท่าน

ขอบพระคุณเจ้าค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ขอขอบพระคุณกับบันทึกความรู้ทางวิชาการ
  • ทำให้ได้รู้จักบทบาทของ มจร.มากขึ้น
  • และได้ข้อคิดที่ดี "การพูดอาจจะดังไว หรือคนอาจจะรู้ัจ้ักไ้ว แต่ทุกครั้งที่เราพูด คำพูดที่เราพูดมักจะเลือนหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว  แต่เมื่อไรที่เราจะเขียน สิ่งที่เราเขียนจะยังคงอยู่"

มาอีกทีเจ้าค่ะ

เมื่อกี้ส่งเมล์เรียนถาม ลืมเขียนข้อ 4 ไปอีกเรื่องเจ้าค่ะ

คือเรื่องกวางที่อาศัยพุ่มไม้หลบนายพราน พอพรานไปพ้นก็เล็มใบไม้ จนพรานย้อนมาเห็นอีกทีจึงถูกยิงตายเจ้าค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์มหาแลที่แวะมาเยี่ยมครับ ว่างๆ ขอนิมนต์ที่มจร. บ้างนะครับ

ขอบใจครูคิม และโยมณัฐรดาที่แวะมาเยือนอีกครั้ง และคิดว่า "คงจะมีโอกาสดีๆ ได้ร่วมงานกันอีกครั้ง" เจริญพร

นมัสการการพระคุณเจ้า

การพูดอาจจะดังไว หรือคนอาจจะรู้ัจ้ักไ้ว แต่ทุกครั้งที่เราพูด คำพูดที่เราพูดมักจะเลือนหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่เมื่อไรที่เราจะเขียน สิ่งที่เราเขียนจะยังคงอยู่เป็น "ธรรมเจดีย์" ให้คนรุ่นต่อไปได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือวงวิชาการ

กิจกรรมดี สังคมดี ชาติไทยจงเจริญ ดีมาก ๆคะ

โยมสิโณรัก

  • อนุโมทนาขอบใจที่แวะมา "โพสต์ย้ำ" เืพื่อให้พวกเราได้เห็นประเด็นสำัคัญอีกครั้ง
  • นิสิตรุ่นใหม่ๆ มองเห็นความสำัคัญเรื่องการเีขียนบทความเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากการ Walk in มาร่วมงาน
  • อนาคตคงได้เห็นบทความดีๆ จากเหล่านิสิต
  • เจริญพร

มหาจุฬาฯ กำลังเป็นดาวที่สุกสกาวบนโพยม โดยสีแห่งผ้ากาสาวพัสตร์ กิจกรรมคือบทพิสูจน์เพื่อทำให้แสงดาวนั้นสาดส่องไปสู่เนื้อสู่ตัวของคนจริงๆ กิจกรรมทางวิชาการด้วยการริเริ่มแสดงความคิดโดยการเขียนบทความ คือบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งครับ นมัสการด้วยความรู้สึกชื่นชมจริงๆ ครับผม

อาจารย์วุฒินันท์ กันทะเตียน

  • อนุโมทนาขอบใจที่แวะมาเยี่ยมถึงประตูกุฏิ
  • มจร น่าจะภาคภูมิใจที่มีได้มีโอกาส "ปั้นดุษฏีบัณฑิต" เช่นอาจารย์
  • ขอให้มีความสุขในการรับใช้ชาติ พุทธศาสนิกชน และเพื่อนร่วมโลก
  • เจริญพร

กราบนมัสการ พระเดชพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาหรรษา

ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เคารพรักยิ่ง

เกล้าฯ ยินดีที่ได้แวะเข้ามาหาความรู้ใส่ทุกอณูของตัวกระผม รู้สึกประทับใจได้รู้ซึ้งถึงการแบ่งปันความรู้ดีอย่างนี้เองครับ ขอขอบพระคุณเป็นล้นพ้นยิ่งครับที่มีเนือหาสาระดังเช่นนี้ครับ

ผมคงจะแวะเวียนเข้ามาใช้บริหารบ่อยครั้ง เสียดายรู้ช้าเกินไปสำหรับตัวกระผมเอง แต่ก็ยังไม่สายจนเกินไปที่ไม่รู้เลย ครับผม

ท่านเสมอเทพครับ

  • ขอบคุณที่ท่านเลขาได้แวะมาเยือนนะครับ
  • เราจะได้มีโอกาสแบ่งปันกันบ่อยๆ ณ มหาจุฬาฯ นะครับ
  • และหวังว่าจะมีความสุขกับสามเอ็มครับ

มาเยี่ยมชมภาพบรรยากาศ และ AAR การเขียนบทความทางวิชาการ ดูแล้วน่าชื่นชมสำหรับวงการวิชาทางพุทธศาสนาจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท