kikapo
เลิศพันธุ์ เพียรสร้างสรร

As3.0 การประกาศตัวแปร


การประกาศตัวแปร

กลับมาพบกันอีกครั้งครับ คราวนี้จะมาเว้ากันในเรื่องของการประกาศตัวแปร ตัวแปรนั่นก็หมายถึง ตัวอะไรที่สามารถเก็บข้อมูลไว้แล้วเรียกคืน หรือเรียกใช้ได้ในภายหลัง ซึ่งถือ เป็นสิ่งสำคัญในการเขียนโปรแกรมทุกๆ โปรแกรมเลยทีเดียว

สำหรับ AS3 มีข้อจำกัดในการตั้งชื่อตัวแปรที่ต้องจำกันสักหน่อย คือ ห้ามนำหน้าชื่อด้วยตัวเลข และห้ามซ้ำกับคำสงวน สามารถใช้เครื่องหมาย dollar sign ($) และ underscore (_) ร่วมในการตั้งชื่อได้ แต่ถ้าตั้งชื่อผิดก็ไม่มีอะไรมาก เพราะ AS3 จะมอนิเตอร์ส่วนที่ผิดพลาดให้ตลอดการเขียนสคลิปอยู่แล้ว

 

รูปแบบของการประกาศตัวแปร มีตัวอย่างดังนี้

var myVariable:String = "Love You"

คือ ให้เริ่มต้นด้วย var หมายถึง Variable  ตามด้วยชื่อตัวแปรที่ต้องการ แล้วใช้ semicolon สักหน่อย ก่อนจะตามมาด้วย Data type คือชนิด ประเภท ของตัวแปร ส่วนหลังของเครื่องหมายเท่ากับต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกับ type ที่ประกาศด้วยนะครับ

Data type                          ตัวอย่าง

Number                              3.8                   จำนวนใดๆ               

int                                      -3                     จำนวนเต็ม

unit                                     1                     เฉพาะจำนวนเต็มบวก

String                           "Love me"               ข้อความ

Boolean                            true                    True หรือ False

Array                             [1, 3, 8]                 ชุดข้อมูล

Object                             myObj                  ใช้เขียน object ใช้เอง

 

นอกจากนี้แล้วยังมีการเรียกใช้งานคลาสกับตัวแปร ที่เห็นได้บ่อยๆ เช่น

var myMC:MovieClip = new MovieClip();       

var nav:Sprite = new Sprite();                     

var myButton:SimpleButton;

และอื่นๆ

 

ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานกันสักหน่อยครับ

ในคราวนี้ผมจะสร้างสเตจว่างๆ ขึ้นมาก่อนครับ ต่อจากนั้นทำการ Insert New symbol (Ctrl + F8) แล้วตั้งชื่อว่า Ball พร้อมกำหนดค่าต่างๆ ตามรูปข้างล่าง

แล้วกดปุ่ม OK ต่อจากนั้นให้สร้างรูปวงกลมใช้แทนลูกบอล โดยสร้างบนหน้าต่าง scene1 > Ball ดังรูป

 

สร้างเสร็จให้คลิกกลับมาที่ scene1 จะพบสเตจเปล่าๆ เหมือนเดิม ให้เขียนสคลิปลงบน Time line ตามโค๊ตข้างล่างนี้

 1 var ball:MovieClip = new Ball();
 2 ball.x = ball.y = 100;
 3 addChild(ball);

 4 var xvel:Number = 6;
 5 var yvel:Number = -12;
 6 var yacc:Number = 1;

 7 addEventListener(Event.ENTER_FRAME, onLoop, false, 0, true);
 8 function onLoop(evt:Event):void{
 9   ball.x += xvel;
10  ball.y += yvel;
 
11   yvel += yacc;
12 }

 

โดย 3 บรรทัดแรกเราใช้ในการกำหนดให้วางลูกบอลในตำแหน่ง (100,100)

บรรทัดที่ 4-6 ใช้สร้างตัวแปรเพื่อกำหนดตำแหน่งใหม่ให้กับลูกบอล

บรรทัดที่ 7-11 จะทำการเปลี่ยนตำแหน่งของลูกบอล เมื่อรันดูจะพบว่าลูกบอลมีการเคลื่อนที่ในแนวโค้งไปทางด้านขวา หากต้องการให้สูงมากๆ ให้ลองเปลี่ยนค่าตัวแปร yvel ให้ลบมากขึ้น และถ้าต้องการให้ระยะห่างมากๆ ก็เปลี่ยนค่าตัวแปร xvel  ลองเขียนกันดูนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #data types#variable
หมายเลขบันทึก: 332929เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ค่อยๆ เขียนเพิ่มนะครับ น่าสนใจมาก หากแนะนำเพื่อไปใช้ในการพัฒนาเกมต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท