อนาคตของการจัดการความรู้


การบูรณาการจัดการความรู้กับงานประจำ มองให้ทะลุ กุศลเกิดแน่ๆ

  ผมได้รับคำถามจากท่านรองคณบดีฝ่ายวางแผนฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถึงอนาคตของการจัดการความรู้ ผมพยายามคิดสังเคราะห์ นำเสนอ เพื่อขอความคิดเห็นครับ

เรียน ท่านรอง ณรงค์

 อนาคตที่ผมคาดไว้น่าจะมีดังนี้

 ๑. เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้  และ มีการสร้างเครือข่าย เพื่อ พัฒนาองค์กร งาน และ คน โดยดึงความรู้ ที่เรียกว่า Tacit Knowledge มาใช้สามระดับ

   ๑.๑ ภายในหน่วยงาน

   ๑.๒ ข้ามหน่วยงาน ในมหาวิทยาลัย เดียวกัน

   ๑.๓ ข้ามมหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานนอก มข

 ๒. ทุกคน ทุกระดับ สามารถ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ โดยยึดติดกับงานประจำ สามารถบูรณาการ ได้ ทั้ง QA/HA/กพร หรือ เรื่องอื่นๆ ทุกรูปแบบ โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือในการจัดการ

 ๓. เกิดการสร้างความรู้ใช้เองจากการนำความรู้ซ่อนแฝง หรือ ดูดดึง ความรู้ จากที่อื่นมา ต่อยอด มาพัฒนาให้ เข้ากับวัฒนธรรม หรือ บริบท หรือ ภาระกิจ ของเจ้าของ เกิด มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ซึ่งหมายถึง R2R สี่ ประเด็น

  ๓.๑ วิจัยทั้งในสิ่งที่เป็นสุดยอดของวิชาการ ตามสาขานั้นๆ

  ๓.๒ วิจัยด้านการเรียนการสอน โดย benchmark หรือ ใช้ TQA

  ๓.๓ วิจัยสถาบันของหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นการเรียนการสอนตามหลักสูตร เน้นการวิจัย ตามบริบท( ความเป็นตนของตนเอง หรือ ตาม ภาระกิจ )

 ๔. คน งาน หน่วยงาน ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรุ้ เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้กันเอง เรียนรู้กับผู้อื่นที่รู้มากกว่าเรา

 ลองให้ความเห็นครับท่าน

JJ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3319เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2005 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท