คนฟังคือ คน สื่อสารเก่ง


การ “ฟัง” คือการ “ทำความเข้าใจ”  

สำหรับคนทำงาน วันๆ คงต้องมรการพบปะพูดคุยกับคนอื่นๆ ไม่ว่าเป็นคนๆนั้นจะเป็นคนที่เราจะชอบหรือไม่ก็ตาม

ถ้าลองสังเกตคนที่เวลาทำงานแล้วสามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี และเป็นที่รักของคนที่ทำงานด้วยกันแล้ว
สิ่งที่สำคัญอย่างแรกที่คนเหล่านี้มีก็คือ “การเป็นผู้ฟังที่ดี” !!

ถ้าจะแปลความหมายให้ลึกลงเป็นก็เพราะการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นเท่ากับ การเอา “ใจ” ไปใส่ให้กับคนพูด ตั้งใจฟัง
และพยายามจะเข้าใจอีกฝ่าย

วันนี้เราลองไปดูเทคนิคในการฝึกให้ตัวเองเป็น “ผู้ฟังที่ดี” ค่ะ


ฝึผฝนเทคนิคเพื่อการเป็นผู้ฟังในการทำงานที่ดี




อยู่ในท่าที่ “ตั้งใจ” ฟัง 

ไม่ว่าจะกำลังยุ่งยังไง  ก่อนจะเป็นผู้ฟังที่ดีได้ ต้องเริ่มที่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ตั้งใจจะฟัง มองไปทางคู่สนทนาและมีสมาธิในการฟัง ความจริงเป็นเรื่องง่ายมากๆ แต่มักจะหลงลืม โดยเฉพาะคนที่เป็นรุ่นพี่หรือเป็นนายที่อาจ
จะยุ่งจนลืมใส่ใจจุดเล็กๆ นี้ เพราะตัวเองอาจจะรู้ว่าเราตั้งใจแม้ไม่ได้มองหน้าคนพูด แต่คู่สนทนาอาจจะไม่รู้
ด้วย คิดไปว่าเราไม่ใส่ใจ

นอกจากนั้นยังทำให้เราเห็น Body Language และเข้าใจความรู้สึกของคนพูดได้มากขึ้นด้วย เป็นไปได้ลองปิดประตู หรือ หาสถานที่ที่ไม่มีสิ่งรบกวนการฟัง

 


ฝึกฝนการเป็นผู้ฟังที่ดี


“ฟัง”

ก่อนที่จะพูดหรือแสดงความเห็นอะไร อย่าลืมตัว
พูดแต่สิ่งที่ตัวเองอยากพูด แม้จะคันปากแค่ไหน
แต่ต้องเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายพูดอย่างเต็มที่

ฟังให้จบเรื่องก่อน ข้อห้ามคืออย่าเพิ่งไปขัด เพราะ
นอกจากอาจจะทำให้ตีความหมายผิดแล้ว ยังอาจจะ
ทำให้อีกฝ่ายเสียอารมณ์ได้อีกด้วย

 

ส่งเสียงให้รู้ว่าฟังอยู่

คนที่เคยพูดแล้วคนฟังเงียบ...บ ไม่มีเสียงตอบจาก
สวรรค์คงรู้สึกถึงความกระอักกระอ่วนนี้ดี

การฟังที่ดี ไม่ใช่แค่เปิดหูฟัง แต่ต้องให้อีกฝ่ายรู้ว่า
เราฟังอย่างตั้งใจอยู่
ส่งเสียงเออออกันเป็นระยะ
การสนทนาจะได้ลื่นไหล ไม่รู้สึกว่าพูดอยู่คนเดียว

 


ใช้คำถามเพิ่มความเข้าใจ

พอเราฟังอีกฝ่ายพูดจนแน่ใจว่าเริ่มเข้าใจประเด็น ถ้ามีจุดที่ไม่แน่ใจ ลองถามกลับไปตามสมควร อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้  การทำแบบนี้ยังแสดงให้คนพูดรู้ว่าเราพยายามจะทำความเข้าใจให้มากขึ้น    


“ลด” อคติหรือความลำเอียง

ความรู้สึกส่วนตัวต่างๆ ถ้าเป็นไปได้ควรตัดให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ระหว่างการฟัง เพราะอาจจะทำให้เราฟังด้วยความลำเอียงได้  พยายามตั้งใจและฟังด้วยความรู้สึกที่เป็นกลาง โดยเฉพาะเรื่องประเภท "เค้าเล่าว่า" เพราะถ้าคนเล่าก็มัน คนฟังก็ผสมโรงไปด้วย ก็อาจจะทำให้ต่อมการตัดสินใจของเราทำงานผิดพลาดไปได้


คอนเฟิร๋มความเข้าใจด้วยภาษาของตัวเอง

เพื่อความเข้าใจที่ไม่ผิดพลาด ลองสรุปความอีกครั้งด้วยประโยคของตัวเองให้อีกฝ่ายฟัง เพราะเมื่อเราพูดด้วยการอธิบายเป็นภาษาของเราเองแล้ว อะไรที่เข้าใจผิดพลาดหรือตกหล่นก็จะได้ปรากฎออกมา ลดความผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย



เทคนิคเหล่านี้เป็นเพียงแค่พื้นฐานของการฝึกให้ตัวเองเป็นผู้ฟังที่ดีเท่านั้น แต่การที่จะทำให้การสื่อสารเป็นไปได้ราบรื่นขึ้น
นอกจากเทคนิคพวกนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่ลืมไม่ได้นั่นก็คือ “ความจริงใจ” ต่อกัน ที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ให้เที่ยงแท้และยั่งยืนค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ผู้ฟัง
หมายเลขบันทึก: 331721เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...."ความสามารถในการฟังเป็นพรสวรรค์ที่หายากอย่างหนึ่งที่พระเจ้าประทานให้แก่ผู้หญิง"

ด้วยรักครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท