รายการสายใย กศน. 25 ม.ค. - 8 มี.ค.53


25 ม.ค.53 เรื่อง "การนิเทศ กศน.แบบมีส่วนร่วม", 1 ก.พ.53 เรื่อง "โครงการส่งเสริมการอ่าน", 8 ก.พ.53 เรื่อง "สถาบัน กศน.ภาคใต้กับการปฏิรูปรอบ 2", 15 ก.พ.53 เรื่อง "กศน.ตำบลโคกเริงรมย์กับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน", 22 ก.พ.53 เรื่อง "การใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551", 1 มี.ค.53 เทปซ้ำวันที่ 22ก.พ.53, 8 มี.ค.53 เรื่อง "กรอบหลักสูตรใหม่และหลักสูตรสถานศึกษา"

รายการสายใย กศน.  วันที่  8  มีนาคม  2553

 

         เรื่อง “กรอบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา”
         ดำเนินรายการโดย วราภรณ์  บุญพรวงศ์ 
         วิทยากร คือ
         - ผอ.พรทิพย์  กล้ารบ  ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน.
         - อ.ดุษฎี  ศรีวัฒนาโรทัย  นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนา กศน.

         นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรเก่าและหลักสูตรนำร่อง ให้เรียนหลักสูตรเดิมไปจนจบ ไม่แนะนำให้โอนมาเรียนหลักสูตรใหม่ ( หลักสูตรนำร่องแตกต่างจากหลักสูตรใหม่ที่จะเริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1/53 เล็กน้อย )

         หลักสูตรใหม่ (51)  มี 5 สาระ คือ สาระ
         1. ทักษะการเรียนรู้ ( การเรียนรู้ด้วยตนเอง, การใช้แหล่งเรียนรู้, การจัดการความรู้, การคิดเป็น, การวิจัยอย่างง่าย )
         2. ความรู้พื้นฐาน ( ภาษาต่างประเทศ, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ )
         3. การประกอบอาชีพ ( ช่องทางการเข้าสู่อาชีพ, การบริหารจัดการอาชีพ, การพัฒนาอาชีพ )
         4. การพัฒนาสังคม ( สังคม และ + เพิ่ม การพัฒนาตนเอง )
         5. ทักษะการดำเนินชีวิต ( ทักษะ 1 + ทักษะ 2 + เพิ่ม เศรษฐกิจพอเพียง )

         ระดับประถมให้เรียน 48 หน่วยกิต ( บังคับ 36 เลือก 12 ), ม.ต้น 56 หน่วยกิต ( บังคับ 40 เลือก 16 ), ม.ปลาย 76 หน่วยกิต ( บังคับ 44 เลือก 32 )
         สาระความรู้พื้นฐาน จำนวนหน่วยกิตไม่เท่ากันใน 3 ระดับ ส่วนสาระอื่น ๆ เท่ากันหมด
         วิชาเลือกให้เลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ผู้เรียน หรือวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา เช่น จะไปศึกษาต่อ อาจเลือกวิชาเลือกในสาระความรู้พื้นฐานทั้งหมด
         กพช. ยังต้องทำไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมงเหมือนเดิม ต้องเป็นโครงการที่มาจากผู้เรียน
         ให้ทำโครงงานเพียงระดับละ 3 หน่วยกิต  สำหรับรายวิชาการทำโครงงานจะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้ แต่น่าจะให้เรียน
         ในการจัดการเรียนรู้ มีวิธีเรียน กศน. วิธีเดียว ( ในโปรแกรม IT ไม่ต้องระบุวิธีเรียน ) แต่การจัดการเรียนรู้จัดได้มากมายหลายวิธี เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, แบบชั้นเรียน, การเรียนรู้ทางไกล ( สื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ )  วิชาเดียวอาจเรียนหลายวิธีตามลักษณะเนื้อหา

         กลุ่มจังหวัด จะดำเนินการอบรมในเดือนมีนาคม  ผู้เข้าอบรมคือ ผู้บริหาร+เจ้าหน้าที่+ครู ( ครูต้องอบรมเข้มหลายวัน )  การอบรมจะมีเอกสารให้ 9 รายการ ส่งไปให้จังหวัดประธานกลุ่มแล้ว
         การเตรียมความพร้อมตามหลักสูตรใหม่ต้องเริ่มตั้งแต่ ทุกแห่งต้องทำหลักสูตรสถานศึกษา ( การประเมินคุณภาพภายนอกจะขอดูหลักสูตรสถานศึกษา ) ทำเป็นรูปเล่ม แยกระดับ   องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย
         - ปรัชญาหลักสูตร ให้ยึดปรัชญาคิดเป็น
         - วิสัยทัศน์  กำหนดเอง
         - พันธกิจ
         - หลักการ จุดหมาย ( ใช้หลักการจุดหมายของหลักสูตร 51 เลย )
         - กลุ่มเป้าหมาย  เน้นกลุ่มใด
         -โครงสร้างหลักสูตร ( ระดับ และมาตรฐานการเรียนรู้ ) มีรายวิชาเลือกอยู่ในหลักสูตรสถานศึกษาด้วย   จัดแผนการลงทะเบียนทั้ง 4 ภาคเรียน ให้ครบทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก  ( ควรให้เรียนรายวิชาทักษะการเรียนรู้ก่อน  ระดับประถมควรให้เรียนรายวิชาภาษาไทยในภาคเรียนแรก  รายวิชาในสาระการพัฒนาอาชีพ เป็นสาระเดียวที่มีความต่อเนื่องกัน คือ ช่องทางการเข้าสู่อาชีพ -> การประกอบอาชีพ -> การพัฒนาอาชีพ ไม่ควรให้เรียนภาคเรียนเดียวกัน )
        - วิธีการจัดการเรียนรู้ ( การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สะท้อนปรัชญาคิดเป็น ), สื่อการเรียนรู้, การเทียบโอน, การวัดผลประเมินผล 4 ด้าน คือ 1. รายวิชา 2. คุณธรรม ( พอใช้ขึ้นไป) 3. กพช. ( ไม่น้อยกว่า 100 ชม. ) 4. เข้ารับการประเมินระดับชาติ, เกณฑ์การจบหลักสูตร, เอกสารการศึกษา ( บังคับแบบ ไม่บังคับแบบ )   เหล่านี้ควรแยกเล่มต่างหากให้ชัดเจน
            สถานศึกษาต้องออกระเบียบการวัดและประเมินผล ( ระหว่างภาค 60,ปลายภาค 40 ) กำหนดกรอบระหว่างภาค 60 ว่า จะวัดจากอะไรบ้าง   สำหรับปลายภาค ส่วนกลางจัดทำข้อสอบวิชาบังคับ, สถานศึกษาต้องออกระเบียบการนเทียบโอน, เตรียมแบบฟอร์มต่าง ๆ
         วิธีการจัดการศึกษาอาจทำเป็นรายวิชา ( เหมาะกับการเรียนเน้นวิชาการเพื่อการศึกษาต่อ ) หรือทำเป็นหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( เน้นให้นำรายวิชามาบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้ แต่ไม่บังคับ  โดยครูและผู้เรียนช่วยกันทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้  เนื้อหาที่บูรณาการไม่ได้ก็จัดสอนเพิ่มเติมให้ครบ  หน่วยการเรียนรู้สามารถปรับได้ทุกภาคเรียน )  และจัดเป็นแผนการเรียนรู้ ไปใช้จัดการเรียนรู้ระยะหนึ่ง แล้วทำการประเมินเพื่อตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษาของแต่ละแห่ง

         สื่อการเรียนรู้วิชาบังคับ เมื่อส่วนกลางทำเสร็จแล้วจะขึ้นเว็บให้สถานศึกษานำไปจัดพิมพ์


         การพัฒนารายวิชาเลือก ให้เลือกใช้รหัสรายวิชาในเว็บไซต์ เพื่อไม่ให้รหัสรายวิชาซ้ำกันในรายวิชาที่ต่างกัน ( ถ้าเนื้อหาเดียวกัน ให้ใช้รายวิชาที่สถานศึกษาอื่นกำหนดไว้แล้วได้เลย )

         รายการสายใย กศน.ครั้งต่อไป จะพูดถึงเรื่องการเทียบโอน และการจัดกิจกรรม กพช.


 

รายการสายใย กศน. วันที่  1  มีนาคม  2553

 

         เทป ซ้ำวันที่ 22 ก.พ.53 เรื่อง “การใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551”

 

รายการสายใย กศน. วันที่  22  กุมภาพันธ์  2553

 

         เรื่อง “การใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551”
         วราภรณ์  บุญพรวงศ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายอภิชาต  จีระวุฒิ  เลขาธิการ กศน.
         - ดร.ทองอยู่  แก้วไทรฮะ  ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน.


         หลักสูตรใหม่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป  เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาการศึกษานอกระบบ 99 %  ต่างจากหลักสูตรเดิมที่เป็นหลักสูตรเดียวกับในระบบโรงเรียน  หลักสูตรใหม่จัดตามหลักจิตวิทยาการศึกษาผู้ใหญ่ มุ่งให้
         - นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
         - นำไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในอนาคตได้

         ขอร้องบุคลากรทุกคนเปิดใจยอมรับหลักสูตรใหม่ นำไปใช้จัดการเรียนรู้สู่ความสำเร็จในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันเป็นภารกิจสำคัญของ กศน. ที่จัดให้กับคนจำนวน 45 ล้านคน

         สำนักงานทดสอบทางการศึกษา จะเข้ามาวัดผลปลายภาคระดับ ม.ปลาย ทุกคน โดยใช้ข้อสอบ N-Net  ออกข้อสอบตามหลักสูตรโดยครู กศน. แต่คัดกรองโดยนักวิชาการ สทศ.  จะส่งผลให้คุณภาพไม่เป็นรองใคร


         หลักสูตรใหม่ยึดปรัชญา “คิดเป็น”
         เรานำ “คิดเป็น” เข้ามาใช้จัดการศึกษาผู้ใหญ่ราวปี พ.ศ.2513 โดย ดร.โกวิทย์  วรพิพัฒน์ อดีตอธิบดี กศน. และอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   คิดเป็น คือเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการศึกษาผู้ใหญ่

         ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของ คิดเป็น คือ

         “ ทุกคน มีความแตกต่างกันเป็นสัจธรรมเป็นธรรมชาติ  แต่ทุกคนต้องการความสุข ( ความสุขเป็นเป้าหมายของชีวิต )  ความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ทุกคนมีปัญหามีความทุกข์เป็นธรรมชาติของมนุษย์  ต้องการแก้ปัญหาให้เกิดความสุข  การแก้ปัญหาต้องมีกระบวนการ แก้เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยการปรับตัวเองกับสังคมสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน ให้เกิดความพอดีและพอเพียง ”

         กระบวนการแก้ปัญหาต้องมีกระบวนการในการคิด การนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์-สังเคราะห์ เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
         ข้อมูลต้องมีหลากหลายและเพียงพอ อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ด้านตนเอง ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และด้านวิชาการ

         หลักสูตรใหม่เน้นให้ผู้เรียนรู้จักการนำข้อมูล 3 ด้าน มาหาวิธีแก้ปัญหา และลงมือปฏิบัติให้เกิดความพอใจ เพื่อไปสู่ความสุข   ถ้าปฏิบัติแล้วไม่พอใจก็รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาวิธีแก้ปัญหาใหม่

 


         คำว่า คิดเป็น เป็นคำเฉพาะ เป็นคำรวมแล้ว  ไม่ต้องมีทำเป็นแก้ปัญหาเป็นคิดชอบทำชอบแก้ปัญหาชอบคุณธรรมจริยธรรม

         หน่วยงาน กศน. ต้องยึดปรัชญาเดียวกัน คือปรัชญาคิดเป็น  ทุกสถานศึกษาให้ยึดปรัชญาคิดเป็น  แต่ แต่ละสถานศึกษาจะมีวิสัยทัศน์ที่ต่างกันเพื่อตอบสนองบริบทของพื้นที่   ปรัชญาของหลักสูตรสถานศึกษาทุกแห่งก็คือปรัชญาคิดเป็น  เป็นกรอบให้หลักสูตรใหม่มีลักษณะดังนี้

         - กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจ

         - กระบวนการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองตอบต่อผู้เรียนแต่ละคน มีวิธีการเรียนรู้หลากหลายให้เลือก เช่น วิธีเรียนแบบตนเอง, พบกลุ่ม, ทางไกล, ชั้นเรียน

         - มีวิชาเลือกที่หลากหลาย ให้เลือกตามความต้องการและปัญหาของตนเอง/ชุมชน

         - ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากวิถีชีวิต วิถีการทำงาน วิถีชุมชน  มากกว่าการเรียนวิชาหนังสือ  โดยจากทั้งหมด 5 สาระ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตวิถีการทำงานวิถีชุมชน 4 สาระ

         - ประเมินผลโดยตนเองและผู้เกี่ยวข้อง มากกว่าประเมินวิชาหนังสือ

         - มีการวิจัยอย่างง่าย ( การแสวงหาความจริง หาคำตอบ ง่าย ๆ ในชีวิต ที่มีข้อมูลเชื่อถือได้ )

         ฯลฯ


         จะมีการอบรมหลักสูตรใหม่ในทุกกลุ่มจังหวัด  และ ให้ติดตามการทำความเข้าใจหลักสูตรใหม่จากรายการสายใย กศน. ครั้งต่อ ๆ ไป

 

 

รายการสายใย กศน. วันที่  15  กุมภาพันธ์  2553

 

         เรื่อง “กศน.ตำบลโคกเริงรมย์ กับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายพุฒิพงศ์  สงวนวงศ์ชัย  ส.ส.แบบสัดส่วน จ.ชัยภูมิ
         - นายสุประณีต  ยศกลาง  ผอ.สนง.กศน.จ.ชัยภูมิ
         - นายวีระ  พรหมพรรษ์  ผอ.กศน.อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ
         - นายสุดท้าย  ทั้งพรม  รองนายก อบต.โคกเริงรมย์ อ.บำเหน็จณรงค์
         - วิไลเลิศ  แสงทอง  หน.กศน.ต.โคกเริงรมย์


         นายก อบต.ทุกแห่งของ จ.ชัยภูมิ ให้การสนับสนุนการศึกษา ให้ใช้อาคารสถานที่เป็น กศน.ตำบล

         จ.ชัยภูมิมี 16 อำเภอ 123 ตำบล มีวัฒนธรรมดี มีความรักความศรัทธาในเจ้าพ่อพระยาแล  สิ่งแวดล้อมดี มีอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง  เที่ยวชัยภูมิเที่ยวได้ทั้งปี  มีการเสวนาพบปะพูดคุยกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัด กศน. มีการปรับกลยุทธ์ตลอดเวลา  กำหนดสโลแกนไว้ 4 เรื่อง
         1. หนุนเสริมองค์ความรู้คนทำงาน กศน.ก่อน ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ทำงานประสานกับภาคีเครือข่าย
         2. เชิดชูภูมิปัญญา  แสวงหา ชักชวน มาร่วมจัด กศน.
         3. จะมุ่งเน้นพัฒนาเครือข่าย  จ.ชัยภูมิให้เครือข่ายร่วมจัด กศน.มากถึง 60 %  มีโรงเรียนคูปอง กศน. จำนวนมาก
         4. ยึดศูนย์การเรียนชุมชนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้


         การวางแผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต จะมอง 2 ปะเด็น คือ
         1. ผู้รับบริการ ทุกวัย  ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ถึงผู้สูงอายุ
         2. วิธีการจัด  ( ทำให้ การศึกษาในระบบ, นอกระบบ, อัธยาศัย มาประสานกันได้ )


         กศน.ตำบลโคกเริงรมย์ ตั้งอยู่ในสถานที่ อบต.  มีสถานที่ต่าง ๆ อยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม สาขาของมหาวิทยาลัย ฯลฯ ครบสมบูรณ์  การเดินทางสะดวก  ยึดหลัก 5 กลยุทธ์ของ กศน.  ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ  และครู กศน.เป็นคนในชุมชน ( ครู กศน.เป็นของ อบต. ลงเวลาทำงานใน อบต. )
         มีกลุ่มเป้าหมายหลายส่วน กลุ่มเป้าหมายด้านความรู้พื้นฐานเช่น กลุ่มผู้นำชุมชนที่เป็นผู้ใหญ่, กลุ่มหนุ่มสาว แรงงานคืนถิ่น ( มีมาก ), นักเรียนที่ออกจากระบบกลางคัน


         อบต.โคกเริงรมย์ ร่วมงานกับ กศน.มาตั้งแต่ปี 2522  ตั้งแต่เป็นพื้นที่สีชมพู ยุคครูวิบาก ฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ สร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน รณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ ( 2527-2528  กำนันได้รับรางวัลโนมาร์จากยูเนสโก )  รู้จักและชื่นชม กศน. มานาน   ปัจจุบันมอบอาคารหลังใหญ่ให้เป็น กศน.ตำบล ( แหล่งเรียนรู้ราคาถูก ) และสนับสนุนงบประมาณประจำปี


         กศน.ช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น การประกอยอาชีพของเกษตรกร ใช้พืชพันธุ์ใหม่ ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ( มี บ้านพออยู่พอกิน เศรษฐกิจพอเพียง )  เพิ่มมูลค่าผลผลิต  ปลูกหัวหอมทั้งหมู่บ้าน ราคาดีขึ้นมาก   การศึกษาจำเป็นต้องมีตลอดชีวิต เรียนฝากท่าน ส.ส.ให้ออกกฎหมาย พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต

         ครู กศน.ใช้กลยุทธ์ลุยถึงที่ ใช้ความจริงใจสร้างความศรัทธาเชื่อมั่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกภาคส่วน เช่นร่วมกับ อบต., พัฒนาชุมชน, อำเภอ จัดทำแผนพัฒนาตำบล,  บริการถึงที่ ขอความร่วมมือจากเครือข่าย พบกลุ่ม 17:00 - 21:00 น.  คนที่มาพบกลุ่มไม่ได้ก็ไปสอนถึงบ้าน  นักศึกษามีความสนใจมาเรียนกับ กศน.มากขึ้น  ครู กศน.ประสานงานได้ง่ายขึ้น ได้รับความร่วมมือจากชุมชนมากขึ้น

         ปัญหาคือ นักศึกษาและประชาชนมีความต้องการที่หลากหลาย ยากที่จะสนองความต้องการได้ต่อเนื่อง  วัยต่างกันมากทำให้เกิดปัญหาในการจัดการ

         กศน.ตำบลโคกเริงรมย์ จัดรายการวิทยุทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14:00 - 15:00 น.

 


รายการสายใย กศน.  วันที่  8  กุมภาพันธ์  2553

 

         เรื่อง “สถาบัน กศน.ภาคใต้ กับการปฏิรูปรอบ 2”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากร คือ นายอรัญ  คงนวลใย  ผอ. สถาบัน กศน. ภาคใต้

         สถาบัน กศน.ภาค เป็นสถาบันทางวิชาการ  โดย กศน.ภาคใต้ จัดตั้งมา 33 ปีแล้ว อยู่ที่ ต.เขาลูกช้าง อ.เมืองฯ จ.สงขลา

         ตาม พรบ.กศน. พ.ศ.2551  กศน.ภาคมีหน้าที่ในการ พัฒนาหลักสูตรและจัดการศึกษาต่อเนื่อง ( หลักสูตรระยะสั้นด้าน อาชีพ-ชีวิต-สังคมชุมชน ) และการศึกษาตามอัธยาศัย, การวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, การพัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในสถานศึกษา, การพัฒนาหลักสูตร-สื่อ-นวัตกรรม ทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนในแต่ละภูมิภาค

         ในการปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2 ( พ.ศ.2552-2561 )  กศน.ได้รับการให้ความสำคัญจากรัฐบาล ( กำลังจัดทำ พรบ.การศึกษาตลอดชีวิต )   กศน.ภาคใต้จะร่วมปฏิรูปรอบ 2 ใน 2 บทบาทหลัก ได้แก่

         1. การเป็นตัวแทนของกลุ่มงานต่าง ๆ ใน สนง.กศน.ส่วนกลาง  ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค  ร่วมกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในส่วนกลาง ทำภารกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิรูป คือ
            - เตรียมการจัดหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั่วประเทศ ในภาคเรียนที่ 1/2553 เช่น เตรียมสื่อให้เพียงพอ
            - การพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายสถานศึกษา 3 D ( 4 มี.ค.53 จะมีการยกย่องให้รางวัลสถานศึกษา 3 D )
            - การพัฒนาห้องสมุด 3 ดี
            - การจัดทำแบบทดสอบการวัดผลปลายภาค, การนิเทศติดตามผลการสอบ, การวิเคราะห์ผลการสอบ
            - การจัดการศึกษากลุ่มเด็กตกหล่น ( อายุไม่เกิน 15 ปี ) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( มีปัญหายังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร แต่ละภาคส่วนยังคิดต่างกัน ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสภาพภูมิประเทศก็มีปัญหา )
            - จัดการศึกษากลุ่มชาวไทยมอแกน
            - การจัดทำหลักเกณฑ์การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์สำหรับผู้นำศาสนา

         2. การดำเนินการร่วมกับสถานศึกษาและชุมชน จัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตให้ตอบสนองในแต่ละภูมิภาคได้จริง
            - พัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับภูมิภาค ให้เรียนรู้ได้ทุกกลุ่ม ตลอดชีวิต ( ปี 2553 จะพัฒนาไม่น้อยกว่า 50 หลักสูตร ) โดยเน้น
              1) วิชาชีวิต ( วิชาการเป็นลูก เป็นภรรยา สามี ผู้นำ ผู้ตาม คุณธรรม ฯลฯ )
              2) วิชาสังคมและชุมชน ( วิชาที่ตอบสนองชุมชน ให้ชุมชนพึ่งตนเอง, วิชารัฐธรรมนูญ ฯลฯ )

            หลักสูตรเหล่านี้ หน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำไปใช้ได้


         อีกบทบาทหนึ่ง เป็นการตั้งรับ โดยเปิดสถาบัน กศน.ภาคใต้ ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ เช่น มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯลฯ อยู่ในสถาบัน กศน.ภาคใต้


 

รายการสายใย กศน.  วันที่  1  กุมภาพันธ์  2553

 

         เรื่อง “โครงการส่งเสริมการอ่าน”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากร คือ ดร.ชัยยศ  อิ่มสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร ( ผอ. โครงการส่งเสริมการอ่าน )

         อัตราการรู้หนังสือของคนไทยขณะนี้คือ 92.6 %   ข้อมูลจากการสำรวจของ กศน.ปีที่แล้ว พบว่า ผู้ไม่รู้หนังสือมีอายุน้อยลง เป็นประชากรวัยแรงงาน    ผู้ที่เรียนจบ ป.6  ม.3 บางคนก็ยังอ่านเขียนไม่ได้  บางคนเรียนจบไปนานไม่ได้ใช้ก็ลืมหนังสือ  จากการสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 35 นาที  คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าวันที่ 29 ก.ค. เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ   คนไทยเป็นสมาชิกห้องสมุดประชาชนเพียงประมาณ 1 %  อ่านหนังสือปีละ 5 เล่ม ( น้อยกว่าเวียตนาม )
         การอ่านคือการถอดรหัสความรู้จากตัวหนังสือ  การกระตุ้นส่งเสริมให้คนอ่าน เป็นเรื่องที่ยากมาก   ที่ผ่านมาครูใช้วิธีบอกความรู้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรอรับความรู้   ครูต้องปรับวิธีการเรียนการสอนใหม่ ให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ  สวนดุสิตโพลสำรวจพบว่า การส่งเสริมการรักการอ่านต้องส่งเสริมตั้งแต่เด็กโดยครอบครัว ( การทำให้รู้หนังสือ เป็นการพัฒนาสมรรถนะในการอ่านขั้นต้น )
         การอ่านน้อยทำให้โอกาสที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารน้อย ได้รับความรู้น้อย การตัดสินใจใด ๆ จะไม่เหมาะสม   ประสิทธิภาพการรับรู้ข่าวสารน้อย ไม่ค่อยมีความสามารถในการวิเคราะห์ ถูกชักจูงได้ง่าย  เป็นปัญหาของชาติ
         คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552  ดังนี้
         - กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ( คือให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ   ทุกจังหวัดมีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านระดับจังหวัด โดย ผวจ. เป็นประธาน  ผอ.สนง.กศน.จ. เป็นเลขาฯ )
         - กำหนดให้ปี พ.ศ. 2553 - 2562 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ( ให้มีกิจกรรมกระตุ้นตลอด 10 ปี )
         - กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน เป็นวันรักการอ่าน
         - กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มี รมว.ศธ. เป็นประธานโดยตำแหน่ง


         คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 5 คณะ เช่น คณะอนุกรรมการรณรงค์สร้างนิสัยรักการอ่าน, คณะอนุกรรมการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในการอ่าน, คณะอนุกรรมการเสริมสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน, คณะอนุกรรมการการวิจัยและพัฒนาเพื่อการอ่าน
         คณะอนุกรรมการทุกคณะ ได้กำหนดโครงการหลักแล้วรวม 20 โครงการ เช่น แนะนำหนังสือที่ควรอ่านในวันสำคัญต่าง ๆ, รณรงค์ให้ใช้หนังสือเป็นของขวัญ, คาราวานการอ่าน, การอบรมครูภาษาไทย, การแนะนำหนังสือ, พัฒนาห้องสมุด 3 ดี, ทำเว็บไซต์ส่งเสริมการอ่าน, กศน. ปรับวิธีการเรียนการสอนให้ผู้เรียนค้นคว้าโดยการอ่านแล้วทำการบ้าน เพราะหัวใจของการเรียนด้วยตนเองก็คือการอ่าน ( ห้องสมุดตำบลในมิติของ กศน. ก็คือ ศรช. เพราะห้องสมุดตำบลต้องโอนให้ท้องถิ่นไปแล้ว   กศน.ตำบล เป็นของชุมชน ไม่ใช่ของ กศน.  ควรได้รับการสนับสนุนจากชุมชน นอกเหนือจาก กศน.    การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เปิดโอกาสให้คน กศน. ช่วยกันคิดช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านรูปแบบต่าง ๆ )
         โครงการหลัก 20
โครงการนี้ กำลังจะนำเสนอ รมว.ศธ. เพื่อขับเคลื่อนต่อไป

 

 

รายการสายใย กศน. วันที่  25  มกราคม  2553

 

         เรื่อง “การนิเทศ กศน. แบบมีส่วนร่วม”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ดร.ชลทิตย์  เอี่ยมสำอาง  หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สนง.กศน.
         - อัญชลี  ธรรมะวิธีกุล  ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ หน่วยศึกษานิเทศก์ สนง.กศน.


         การนิเทศ คู่กับการศึกษามา 60-70 ปีแล้ว  การนิเทศช่วยพัฒนาครู หลักสูตร การเรียนการสอน ฯลฯ  โดยมีศึกษานิเทศก์ชี้แนะ บอกทิศทาง ให้การช่วยเหลือ ให้กำลังใจ   เป้าหมายปลายทางคือการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

         กศน.มีหลายหลักสูตร  รูปแบบการนิเทศจึงแตกต่างจากในระบบ
         บุคลากร กศน. มีหลายประเภท จัดการศึกษาโดยหลายฝ่าย  การนิเทศโดยศึกษานิเทศก์ไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีอัตรา ศน. 30 อัตรา แต่มี ศน. 15 คน  แบ่งดูแลภาคต่าง ๆ เช่นภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคละ 2 คน  เดิมไปนิเทศครั้งละ 1-2 คน   โครงสร้างใหม่จะมี ศน.อยู่ที่ สนง.กศน.จ. จะเปลี่ยนเป็นนิเทศเป็นทีม วางแผนร่วมกัน นิเทศตามนโยบายสำคัญในแต่ละปี

         การนิเทศแบบมีส่วนร่วม นอกจากจะให้ความสำคัญการการเป็นประชาธิปไตย, การทำงานเป็นทีม แล้ว ต้องให้ความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดึงความสามารถแต่ละคนมาเสริมเติมต่อ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ผู้นิเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รับการนิเทศ  ( ผู้รับการนิเทศต้องการกำลังใจ และต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่นำไปใช้ได้ )

         การนิเทศแบบมีส่วนร่วม มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
         1. การเตรียมการนิเทศ  วางแผนงานร่วมกันระหว่างส่วนกลาง+จังหวัด+อำเภอ  ไปนิเทศอย่างน้อยอำเภอละ 3 ครั้ง/ปี
         2. กำหนดรูปแบบการนิเทศแต่ละกิจกรรม  เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน สายอาชีพ นิเทศในเวลาที่จัดกิจกรรม ตอนค่ำหรือในวันอาทิตย์, บางกิจกรรมไปดูไม่ได้ ใช้การรายงาน, ศศช. อาจใช้วิธีนิเทศทางไกล นิเทศทางวิทยุ   นิเทศทางเว็บบล็อก
         3. เตรียมเครื่องมือนิเทศ  ปี 2553 หน่วยศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาเครื่องมือนิเทศกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้มีความทันสมัยขึ้น ครบทุกกิจกรรม ระบุตัวชี้วัด  การนิเทศต้องมีการบันทึกเก็บข้อมูลด้วย ( สามารถดาวน์โหลดเครื่องมือนิเทศได้ทางเว็บไซต์ )   นอกจากนี้ได้ออกแบบสมุดบันทึกนิเทศ โดยสำนักงาน กศน. จะจัดพิมพ์ส่งให้สถานศึกษาไว้ให้ผู้นิเทศบันทึก ต่างหากจากสมุดตรวจเยี่ยม
         4. ประชุมวางแผนการนิเทศร่วมกันก่อน
         5. ออกปฏิบัติการนิเทศเป็นทีม
         6. กลับมาประเมินผล สรุปร่วมกัน รายงานผู้เกี่ยวข้องและแจ้งข้อเสนอแนะภายใน 3 วัน เพื่อพัฒนาแก้ไขจุดอ่อนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ สมศ.กำหนด

         ( เชิญชวนให้ไปศึกษาดูงาน กศน.อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ซึ่งมีการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและอัธยาศัยรวมเป็นมิติเดียวกัน )

หมายเลขบันทึก: 330944เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณอาจารย์เอกชัยครับ

วันนี้ไม่ได้ดูพอดี  มัวแต่เตรียมประกัน

เป็นอำเภอสุดท้าย ขนาด XL 

ไม่รู้จะเป็นไงบ้าง

 

เอาใจช่วยนะครับ  ไม่ต้องกังวลมาก เตรียมเพิ่มไปเรื่อย ๆ

ถ้านำผลการนิเทศมาพัฒนาก็เยี่ยมมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตามหลักการ P D C A เมื่อนิเทศและประเมินแล้ว ก็ต้องนำผลไปพัฒนาครับ รวมทั้งการประเมินภายในอำเภอ ( ถ้าหลังการประเมินคุณภาพภายนอกฯ เรานำหลักการต่าง ๆ เหล่านี้ไปดำเนินการต่อจริง ก็จะดี )

ขอบคุณมากเลยครับ อาจารย์

ผมไม่ค่อยได้ตามดูรายการ ก็ติดตามบล็อกของอาจารย์นี่แหละครับ

น้องหนุ่ย ปราจีนบุรี

สอบ พ.ราชการ ศรช.วิสัยทัศน์ต้องเขียนแบบไหนคะ อ.ช่วยแนะนำด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท