นอนไม่หลับ...ถามนักกิจกรรมบำบัด


อ้างอิงจาก Hofmann, A.O. (2008). Waking up to new practice areas: sleep apnea and OT. AOTA News. และ Vgontzas, A.N. & Kales, A. (1999). Sleep and its disorders. Annu. Rev. Med; 50:387-400.

หลายครั้งที่ผู้ป่วยนอนไม่หลับแล้วได้รับการรักษาทางยาเท่านั้น...บันทึกนี้ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการให้คำปรึกษาและจัดกิจกรรมบำบัดเพื่อการนอนหลับอย่างมีความสุข ได้แก่

  • นักกิจกรรมบำบัดจะประเมินรูปแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงตื่นนอนเปรียบเทียบกับระยะเวลาตั้งแต่เข้านอนและตื่นนอน โดยเน้นให้ผู้ป่วยพิจารณากิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงสองวันที่ผ่านมา แล้วให้คะแนนความสำคัญและความพึงพอใจของการทำกิจกรรมนั้นๆ รวมทั้งรับรู้ความหมายหรือประเภทของกิจกรรมว่าเป็น กิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียน การพักผ่อน การใช้เวลาว่าง และการเข้าสังคม
  • นักกิจกรรมบำบัดประเมินสภาวะความเครียดและความล้าหลังสภาวะการนอนไม่หลับ/นอนมากไป/นอนน้อยไป/นอนกรนมากเกินปกติ/มีปัญหาร่างกายและจิตสังคมอื่นๆ ร่วมด้วย
  • นักกิจกรรมบำบัดประเมินและจัดกิจกรรมการจัดการตนเองโดยใช้เทคนิคการสงวนพลังงานและการวิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรมการผ่อนคลายที่หลากหลาย
  • นักกิจกรรมบำบัดใช้กรอบความคิดด้านจิตสังคมให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มแรงจูงใจและสมรรถนะแห่งตนในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความสุข เช่น ค้นหาปมทางจิตสังคมแบบพลวัต ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกตนเอง และการใช้เวลาว่างผ่านสื่อการรับความรู้สึกที่หลายหลาย ซึ่งมีผลกระทบทางประสาทสรีรวิทยาและ Vital sign ที่วัดการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน
  • นักกิจกรรมบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์แนะนำวิธีการหายใจผ่านเครื่องมือ Continuous positive airway pressure (CPAP) และอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ ตามประสบการณ์การอบรมเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการนอนหลับที่ดี
  • นักกิจกรรมบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์ทบทวนข้อมูลที่สำคัญ เช่น ปัญหาการนอนที่เฉพาะเจาะจง สภาวะทางการแพทย์ที่มีผลต่อวงจรการนอนหลับ (ปกติไม่ควรน้อยหรือมากกว่า 6.5-8 ชม.) ความคงที่ของการเข้านอนและตื่นนอน รูปแบบการนอนใน 24 ชม. ประวัติครอบครัวที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ ปัญหาส่วนบุคคลและสังคมที่มีผลต่อการนอนไม่หลับ
  • ข้อมูลอื่นๆ เช่น การรับประทานเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ คาเฟอีน การใช้ยาอื่นๆ การสูบบุหรี่ การฝืนไม่งีบหลังบ่ายสองโมง การออกกำลังกายก่อนเข้านอน การทบทวนปัญหาที่วิตกกังวลก่อนเข้านอน ปัญหานอนกรนและการหายใจขัด ความพยายามทดลองเทคนิคการผ่อนคลายด้วยตนเอง เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 330530เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท