ถึงเวลาปรับกลไกของรัฐด้านการทำงานกับคนเร่ร่อนไร้บ้าน


การที่นำแนวคิดว่า ต้องหาบ้านให้คนอยู่ หาที่อยู่ที่ไม่ใช่ถนนแล้วไม่คิดวงจรให้ครบเพื่อรองรับการทำงาน ก็จะ ทำได้เพียง เอาคน ไปอยู่ในบ้าน หรือ สถานที่พักพิง ฟื้นฟู แต่ ไม่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ขาดตอน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา จะหนักกว่าเดิม คือ มีแนวโน้มว่า หากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือแบบไม่ครบวงจรในกลุ่มของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จะไม่สามารถหยุดวิถีชีวิตเร่ร่อนได้ และอาจส่งต่อวิถีชีวิตไปยังรุ่นต่อไปผ่านลูกหลาน ที่ ถือกำเนิดในพื้นที่ หรือ สถานที่ดูแลพวกเขา
การเริ่มต้นทำงานกับ คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในประเทศไทย ต้องเริ่มจากการเข้าใจก่อนว ่า คนเราทุกคนมีบ้าน(HOME) แต่ บางคนอาจจะไม่มีบ้าน(HOUSE)  ดังนั้น การทำงานจึงไม่ใช่การหาที่อ ยู่ให้เขาเพียงเท่านั้น หากแต่ ต้องหาทางเยียวยาและให้ บ้าน(HOME) ที่เขาจากมาร่วมเยียวยาเขาเ พื่อคืนเขาสู่สังคมด้วยความสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใชเวลา และโดยมากภาครัฐที่กำหนดนโยบายโดยฝ่ายการเมืองมักไม่ค่อยใจเย็นที่จะทำแบบที่ว่า

การที่นำแนวคิดว่า ต้องหาบ้านให้คนอยู่ หาที่อยู่ที่ไม่ใช่ถนนแล้วไม่คิดวงจรให้ครบเพื่อรองรับการทำงาน ก็จะ ทำได้เพียง เอาคน ไปอยู่ในบ้าน หรือ สถานที่พักพิง ฟื้นฟู แต่ ไม่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ขาดตอน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา จะหนักกว่าเดิม คือ มีแนวโน้มว่า หากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือแบบไม่ครบวงจรในกลุ่มของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จะไม่สามารถหยุดวิถีชีวิตเร่ร่อนได้ และอาจส่งต่อวิถีชีวิตไปยังรุ่นต่อไปผ่านลูกหลาน ที่ ถือกำเนิดในพื้นที่ หรือ สถานที่ดูแลพวกเขา

วงจรการทำงานที่เพิ่มขึ้น ในการทำงานกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะนั้นคือ การทำงานกับต้นทางที่เขาจากมา และการทำงานสร้างอนาคตความหวังในชีวิตร่วมกับเขา ไปพร้อม ๆ กับ การทำงานเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใน เสริมความกล้าในการที่จะคืนกลับมาในสังคมในฐานะพลเมืองที่มีคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยที่วงจรการทำงานดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และ ภาคพลเมืองด้วยกันเอง

เริ่มจากการทำงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องร่วมไม้ร่วมมือกันในการทำงานฟื้นฟูสภาพชีวิตและจิตใจ ของ คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะสมัครใจเข้ารับการฟื้นฟูและช่วยเหลือในศูนย์พักพิงทั้งของรัฐและเอกชนที่ต้องสร้างทางเลือกที่หลากหลายในการตัดสินใจเข้ารับบริการให้ความช่วยเหลือ โดยต้องคิดค้นพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องเหมาะสมแก่กลุ่มผู้รับบริการ
ในฐานะที่ภาครัฐมีกลไกในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางครอบคลุม และเข้าถึงต้นทางของ คนเร่ร่อนไร้บ้าน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เพื่อตรวจสอบ สอบถามที่มาที่ไปของการออกมาใช้ชีวิตในสภาพที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการพบเห็น เพื่อสอบถามข้อมูลและเข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นฟูเยียวยาไปพร้อมกันกับผู้รับบริการในพื้นที่ แต่หากไม่มีปัญหาใดใดในระดับพื้นที่ต้นทาง และมีความพร้อมที่จะรองรับเขาเหล่านี้คืนกลับสู่ครอบครัว ก็จะทำให้ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือง่าย และ สามารถส่งคนกลับสู่บ้านที่เขาจากมาได้อย่างรวดเร็ว

แต่หากพบปัญหาติดขัดบางประการทั้งเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ระดมสรรพกำลังที่รัฐมีอยู่และเทคนิควิธีการที่เอกชนมี ร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูไปพร้อมกัน ก็จะเกิดแรงกระเพื่อมในการฟื้นฟูชีวิตคนยากไร้ ไร้ที่พึ่งไปพร้อมกัน 76 หน่วยย่อยทั่วประเทศ เพื่อมุ่งไปสู่การคืนกลับพลเมืองที่มีคุณภาพสู่สังคมต่อไป

หากแต่ที่ผ่านมาในอดีต รูปแบบการทำงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รวมถึงสวัสดิการสังคม มุ่งเน้นไปมนเรื่องของการทำงานแบบการให้การสงเคราะห์เป็นสำคัญ ทำให้การทำงานด้านการพัฒนาสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตอ่อนลงไปอย่างมาก จึงเกิดปัญหาความไม่เข้าใจในการขอรับบริการจากรัฐ ทำให้ ผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากเคยชิน และนั่งรอ นอนรองารให้ความช่วยเหลือจากรัฐในรูปแบบของ สวัสดิการที่ต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน หรือ การรับเงินสงเคราะห์ในรูปแบบหรือชื่อที่เรียกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ กฎหมยที่ออกมาจะบังคับให้เรียก

การทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองใมนรูปแบบใหม่ของภาครัฐต้องยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องใช้เวลาและการประเมินผลในเชิงปริมาณอาจจะต้องลดความสำคัญลงไปตามส่วน แต่ต้องให้ความสำคัญในเรืองของคุรภาพการให้บริการ คุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้รับบริการ จึงจะสามารถเดินหน้าร่วมมือกับ ภาคเอกชน และภาคพลเมืองได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลามากว่า 2 หรือ 3 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้เท่ากับการทำงานเพียง 1 ปีในรูปแบเดิม ๆ ที่ผ่านมา
คุณมองคนสนามหลวงอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 330523เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท