ออกกำลังช่วยสมอง+ความจำดี [EN]


การศึกษา ใหม่ 2 รายงานพบ การออกแรง-ออกกำลังแบบแอโรบิค (aerobic) หรือคาร์ดิโอ (cardio) เป็นประจำ่ช่วยให้สมรรถนะสมองดีขึ้น ทั้งความสามารถในการคิด (thinking) และความจำ (memory) 

นอกจากจะทำให้อะไรๆ ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ "อายุสมอง" หวนกลับ (help turn back the clock = ช่วยหมุนเข็มนาฬิกากลับ = ทำให้อ่อนเยาว์; turn = หมุน; turn back = หมุนกลับ ย้อนหลัง) ไปสู่สมองวัยหนุ่มสาวได้ด้วย [ Reuters ]

...

การศึกษา รายงานแรก, อ.ดร.ลอรา เบเกอร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอทเทิล US ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ที่มีสมองเสื่อมเล็กน้อย 33 คน

เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่ "ถีบ (active = เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย, ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ)" กับพวกที่ "ไม่ถีบ"

...

ผลการศึกษา พบ การออกแรง-ออกกำลังแรงปานกลาง เช่น เดินเร็ว (brisk walking), ว่ายน้ำ โยคะ ฯลฯ ในวัยกลางคนขึ้นไปช่วยลดความเสื่อมสมองในการคิด ซึ่งพบเพิ่มขึ้นตามอายุ ให้น้อยลง

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบ คนสูงอายุที่สมองเสื่อมเล็กน้อยมีอาการดีขึ้นหลังฝึกออกแรง-ออกกำลังแบบแอโร บิคอย่างหนัก เช่น วิ่ง ขึ้นลงบันได ฯลฯ นาน 6 เดือน

...

สมรรถภาพที่ดีขึ้นมีหลายอย่าง เช่น ความจำดีขึ้น ฯลฯ ทำให้จำชื่อคน-สถานที่ได้ดีขึ้น

ประชากรทั่วไป (สูงอายุ) มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) 1-2% ต่อปี, ความเสี่ยงนี้เพิ่มเป็น 10-15% ต่อปีในคนที่สมรรถภาพสมองตกลง (เช่น จำอะไรไม่ค่อยได้ คิดช้า พูดจาไม่รู้เรื่อง ฯลฯ)

...

นั่นคือ ถ้าปล่อยให้สมองเสื่อมสภาพแล้ว... โอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมเต็มตัวจะเพิ่มขึ้นมากกว่าประชากรทั่วไปเกิน 10 เท่า

การศึกษาก่อนหน้านี้ทั้งในสัตว์ทดลอง (animals) และคน (humans) พบว่า การออกแรง-ออกกำลังช่วยให้สมองดีขึ้น ทั้งในด้านการคิด (thinking) และความจำ (memory)

...

ข่าวดีสำหรับ ผู้หญิง คือ ผลของการ "ถีบ ('active' = เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ)" ช่วยเพิ่มสมรรถนะสมองผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย

กลไกที่เป็นไปได้ คือ การออกแรง-ออกกำลัง หรือ "ถีบ (active)" เป็นประจำทำให้กล้ามเนื้อดึงน้ำตาล-ไขมันจากเลือดไปใช้งานได้ดีขึ้น พึ่งพาฮอร์โมนอินซูลินน้อยลง โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังออกแรง-ออกกำลัง และหลังจากนั้น 30 นาทีแรก

...

การนำน้ำตาล จากเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อใ่นระหว่างการออกแรง-ออกกำลังใหม่ๆ และหลังจากนั้นใหม่ๆ (ดีที่สุด คือ 30 นาทีแรก, รองลงไปเป็นช่วง 1/2 - 17 ชั่วโมงหลังออกแรง-ออกกำลัง)

กลไกดังกล่าวส่งผลดีที่สำคัญ 3 ประการได้แก่

(1). ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งให้หลอดเลือดเสื่อมเร็ว

(2). กล้าม เนื้อจะเก็บน้ำตาลส่วนเกินในรูปแป้ง ทำให้มีกำลังงานสำรองมากขึ้น การออกแรง-ออกกำลังครั้งต่อๆ ไปเหนื่อยน้อยลง ไม่เหนื่อยง่าย-เพลียง่ายแบบคนที่นั่งๆ นอนๆ (sedentary)

(3). เอนไซม์หรือน้ำย่อย (enzymes) ที่ช่วยต้านทานความเป็นกรด และต้านอนุมูลอิสระจะทำงานได้ดีขึ้นอย่างมากมาย

...

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งทำโดย อ.ดร.โยนัส อี. เกดา และคณะจากสถาบันเมโย คลินิก, โรเชสเตอร์ มินนีโซทา, US 

กลุ่มตัวอย่างเป็นคนสูงอายุ 1,324 คน พบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังแรงปานกลาง เช่น เดินเร็ว (brisk walking), เต้นแอโรบิค, โยคะ, เล่นเวท-ออกกำลังต้านแรง-ยกน้ำหนัก, ว่ายน้ำ ฯลฯ ในวัย 40s-50s (= 40-49 & 50-59 ปีตามลำดับ) ให้ผลดีกับสมอง

...

ผลดีที่ว่านี้ คือ โอกาสสมรรถภาพสมองเสื่อมอย่างอ่อน หรือความคิดอ่านแย่ลง (cognitive impairment) ลดลง 39% ถ้าออกกำลังในวัย 40-59 ปี

ถ้าออกกำลังในวัยสูงอายุหรือ 60 ปีขึ้นไป... ความเสี่ยงนี้จะลดลง 32%, สรุป คือ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด, "ถีบ (active)" เข้าไว้ละดี" ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง

...

การออกแรง-ออกกำลังเพื่อให้สมองทำได้ไม่ยาก โดยการเดินให้มากขึ้น-เร็วขึ้น (ถ้าเดินหลังอาหาร... ไม่ควรเดินเร็วใน 2 ชั่วโมงหลังอาหาร),

เดินคราวละกี่นาทีก็ได้ สะสมเวลาให้ได้รวมกันอย่างน้อยวันละ 20 นาที เสริมด้วยการเดินขึ้นลงบันไดวันละ 7 นาที

...

เมื่อร่างกาย แข็งแรงแล้ว ควรเสริม "ถีบ (active)" อย่างอื่นเข้าไปในรูปแบบที่ท่านชอบให้หลากหลาย เนื่องจากการออกแรง-ออกกำลังหลายรูปแบบให้ผลดีกับสุขภาพมากกว่าการออกแรง -ออกกำลังรูปแบบเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Exercise protects and improves the aging brain' = "ออกกำลังปกป้อง และทำให้สมอง (ที่เื่สื่อมจากอายุ) ดีขึ้น" = "ออกกำลังทำสมองอ่อนเยาว์"

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ exercise ] > [ เอ๊ก - เซอ - ส่าย - s ] > http://www.thefreedictionary.com/exercise > verb = ออกแรง-ออกกำลัง ฝึกฝน ทำแบบฝึกหัด

...

# Take more exercise. = (จง)ออกกำลังให้มากขึ้น.

# The battalion is on an exercise on the mountain. = กองพันทหาร (นั้น) ฝึกบนภูเขา (ลูกนั้ัน).

...

@ [ battalion ] > [ บา - ท้าล - เหลี่ยน ] > http://www.thefreedictionary.com/battalion > noun = กองทหาร จำนวนมาก (เช่น battallion of ants = มดฝูงใหญ่ ฯลฯ)

คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส ทำให้ออกเสียงแปลก และย้ำเสียง (accent) ค่อนไปทางข้างหลัง ซึ่งพบบ่อยในคำนามภาษาฝรั่งเศสมากกว่าอังกฤษ, คำนามในภาษาอังกฤษนิยมย้ำเสียงที่พยางค์แรก

...

@ [ protect ] > [ โพร - เท็ค - t ] > http://www.thefreedictionary.com/protect > verb = ปกป้อง คุ้มครอง ป้องกัน(ภัย อันตราย ฯลฯ)

# Wearing helmet will protect yourself against head injury. = การสวมหมวกกันน็อคจะช่วยป้องกันสมองจากอุบัติเหตุ (helmet = หมวก หมวกกันน็อค)

...

@ [ improve ] > [ อิ่ม - พรูฟ - v ] > http://www.thefreedictionary.com/improve > verb = ทำให้ดีขึ้น ปรับปรุง

# We think we can improve on the suggestion. = เราคิดว่า เราปรับปรุงให้ดีขึ้นได้จากคำแนะนำนั้น (suggest = แนะนำ; suggestion = คำแนะนำ).

...

@ [ brain ] > [ เบร้น ] > http://www.thefreedictionary.com/brain > noun = สมอง ความฉลาด (คำตรงข้าม คือ 'brainless' = โง่ ไม่รู้จักใช้สมอง; -less = ปราศจาก ไร้ ไม่มี)

# They are not brainless. = พวกเขา (พวกเธอ) ไม่ได้เป็นคนโง่.

...

# They are brainy. = พวกเขา (พวกเธอ) เป็นคนฉลาด (brainy = adjective = ซึ่งฉลาด).

# Thai people try to be 'kitchen of the world' but Indian people try to be 'brain
of the world'. = คนไทยพยายาม (พัฒนา) เป็น "ครัวของโลก (ศูนย์กลางด้านการอาหาร)" แ่ต่คนอินเดียพยายาม (พัฒนา) เป็น "สมองของโลก".

...

สำนวนนี้ หมายถึงคนอินเดียก้าวไปไกลมากในด้านความเป็นนักคิด-นักวิทยาศาสตร์-วิศวกร -เทคโนโลยีชั้นนำของโลก, กล่าวกันว่า องค์การอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซ่ามีผู้เชี่ยวชาญ 1/3 มาจากคนเชื้อสายอินเดีย.

ส่วนคนไทยนั้นเรื่องครัว-ทำกับข้าวแล้ว... ไม่เป็นรองใครในโลกทีเดียว

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Exercise protects and improves the aging brain. January 15, 2010. / Source > Archives of Neurology, January 2010.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 16 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330516เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท