หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

มิตรภาพบำบัดเบาหวาน บริการด้วยหัวใจ


มิตรภาพบำบัดเบาหวาน เป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลพิจิตร เป็นการรวมกลุ่มของผู้ป่วยในลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ที่จัดให้แต่ละกลุ่มนัดมาพบปะกันทุก ๆ เดือน ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข แบ่งปันทุกข์และสุขด้วยความรัก ความเมตตา ทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความรู้ คำแนะนำ คำปรึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการดูแลตนเอง และดูแลซึ่งกันและกัน

   หญิงชราค่อยบรรจงหยิบกระดาษแผ่นน้อยที่เหน็บอยู่ข้างฝาบ้านขึ้นมาอ่านอย่างทนุถนอม

   ป้าสุดใจจ๋า
   หนูเพ็ญ คิดถึง... รัก... ห่วงใย
   ดูแลสุขภาพนะคะ
   ลูกสาววันเพ็ญ

   ไม่เพียงกี่ข้อความบนกระดาษ ทำให้ป้าสุดใจ ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยิ้มแย้มอย่างมีความสุข อาการเคร่งเครียดต่าง ๆ ลดลง

   กระดาษแผ่นนั้นถูกหยิบเข้าหยิบออกจากฝาบ้านวันละหลายครั้ง คราใดที่คิดถึงคุณหมอก็จะหยิบขึ้นมาอ่าน มีความสุขทุกครั้งที่ได้อ่าน และเฝ้ารอการมาเยี่ยมของเจ้าของจดหมายนั้น

 

   เจ้าของลายมือบนกระดาษแผ่นที่ทำให้ป้าสุดใจมีความสุขคือ “วันเพ็ญ ก๊กมาศ” พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดโรงพยาบาลพิจิตร

   “ป้าสุดใจเป็นอย่างไรบ้างคะ สบายดีหรือเปล่า...”

   วันเพ็ญ สอบถามข่าวคราวป้าสุดใจ เมื่อมีโอกาสได้พบกับญาติของป้าที่หน้าห้องส่งเสริมมิตรภาพบำบัดในโรงพยาบาล

   “ก็ยังเครียด ข้าวปลาไม่กิน นอนไม่หลับ ไม่ค่อยคุยกับใคร นั่งอยู่ในบ้านคนเดียว...”

   ญาติป้าสุดใจตอบกลับมา

   ด้วยความห่วงใย วันเพ็ญ จึงเขียนจดหมายถึงป้าสุดใจแล้วฝากญาติคนนั้นไปให้ พร้อมฝากข้อความไปถึงว่าจะหาโอกาสไปเยี่ยมป้าสุดใจที่บ้าน

 

   ทันทีที่พบป้าสุดใจ วันเพ็ญโผเข้าไปกอดป้าสุดใจ ต่างคนต่างโอบกอดกันเป็นเวลาครูใหญ่ ป้าสุดใจยิ้มแย้ม แววตามีความสุขตลอดเวลา

   “หนูมาเยี่ยมป้าค่ะ มีมะละกอมาฝากด้วย หนูปลูกเองที่บ้าน...”

   วันเพ็ญ พูดพลางก็ยื่นมะละสุกที่นำมาเป็นของฝากป้า

   “...อ้อ ! นี้สามีหนูเพ็ญเองค่ะ...”

   เธอกล่าวแนะนำสามี ที่ร่วมเดินทางไปเยี่ยมป้าสุดใจด้วยกัน หลังจากที่ลงเวรจากโรงพยาบาล

   “ไหนป้า มาให้หนูวัดความดันหน่อยซิ...”

   หลังจากนั้นเธอก็ประหลาดใจเป็นอย่างมาก เมื่อพบว่าความดันโลหิตของป้าลดลงมาอยู่ในค่าปกติ ทั้งที่หลายวันก่อนเธอทราบว่าป้าสุดใจมีอาการเครียดจากการบอกเล่าของญาติ แต่ผลการวัดความดันกลับได้ผลตรงข้าม

   “เป็นเพราะกระดาษแผ่นน้อยของหมอนั่นแหละค่ะ ฉันอ่านแล้วมีความสุข หยิบมาอ่านทุกวัน พออ่านเสร็จฉันก็เหน็บข้างฝาไว้ พอคิดถึงพวกหมอและเพื่อน ๆ ก็หยิบมาอ่านอีก...”

   ป้าสุดใจเฉลยความประหลาดนั้นแก่วันเพ็ญ พร้อมหยิบกระดาษแผ่นน้อยนั้นออกมาแสดง แน่นอนว่าสร้างความประทับใจและดีใจอย่างล้นเหลือกับวันเพ็ญ ผู้ดูแลการรักษาป้าสุดใจ ที่กระดาษแผ่นเล็ก ๆ กับไม่กี่ข้อความในนั้น สามารถสื่อความรัก ความห่วงใย ความเอื้ออาทร จนส่งผลดีต่อการเยียวยา

 

   มิตรภาพบำบัดเบาหวาน เป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลพิจิตร เป็นการรวมกลุ่มของผู้ป่วยในลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ที่จัดให้แต่ละกลุ่มนัดมาพบปะกันทุก ๆ เดือน ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข แบ่งปันทุกข์และสุขด้วยความรัก ความเมตตา ทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความรู้ คำแนะนำ คำปรึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการดูแลตนเอง และดูแลซึ่งกันและกัน

   วันเพ็ญ ก๊กมาศ เล่าถึงความเป็นมาและการดำเนินการดังกล่าวว่า

   “โรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แล้วยังจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกเยอะ การดูแลรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลพิจิตร เราเริ่มทำกิจกรรมมิตรภาพบำบัด ตั้งกลุ่มให้สมาชิกดูแลกันและกัน...
   ...โดยมากแล้วคนทั่วไปพอรู้ว่าป็นเบาหวานก็จะเครียดวิตกกังวล รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า และไม่ค่อยจะดูแลตัวเอง เราอยากให้คนไข้ที่ดูแลตนเองได้ดี ที่มีความเครียดอยู่แล้วก็ให้ลดลง อยากให้เขาสามารถปรับตัวให้ดีโดยสามารถปรับตัวให้เหมือนผู้ที่ไม่ป่วย...”

   คลีนิคผู้ป่วยเบาหวาน จะดำเนินงานในทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี การจัดกลุ่มผู้ป่วยจะจัดตามวันที่นัดพบ ทั้งนี้จะแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมาด้วยกันของผู้ป่วย ดังที่ วันเพ็ญ ก๊กมาศ เล่าว่า

   “คนที่มาวันเดียวกันก็จะอยู่กลุ่มเดียวกัน พอเข้ากลุ่มทำกิจกรรมไปสักพักเขาจะรู้สึกคุ้นเคยผูกพันกัน มีอะไรก็พูดคุยกันได้ ช่วยเหลือกัน...”

   ไม่เพียงการทำกิจกรรมกลุ่มในโรงพยาบาลแล้ว ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลพิจิตร ยังได้สนับสนุนการดำเนินงาน “จิตอาสา เพื่อนช่วยเพื่อน” อีกด้วย

 

   หยาดน้ำตาไหลเป็นทางอาบแก้มเปื้อนยิ้มของหญิงชรา พลอยให้ทวี แสงโชติ กับเพื่อนพ้องหลายคนพลอยน้ำตาคลอเบ้าด้วยความปลื้มปิติยินดีไปด้วย

   “คุณยายเป็นอย่างไรบ้าง กินยาตามที่หมอสั่งหรือเปล่า...”

   ทีมงานคนหนึ่งถามหญิงชราผู้ป่วยเรื้อรังด้วยโรคเบาหวานและความดัน ขณะที่อีกสองคนเข้าไปนวดเฟ้นที่แขนและขาด้วยความเต็มอกเต็มใจ

   ขณะที่ทีมงานคนหนึ่งรวบรวมสิ่งของ ทั้งของกินของใช้จากสมาชิกกลุ่มคนละเล็กละน้อย มอบให้กับหญิงชรา ก็ยิ่งทำให้ผู้รับปลาบปลื้มยินดีขึ้นไปอีก

   “ขอบคุณ คุณหมอนะคะ ที่มาเยี่ยมยาย...”

   หญิงชรายกมือไหว้และกล่าวคำขอบคุณด้วยเสียงสั่นเครือ และตั้งใจนะเรียกสมาชิกกลุ่มอาสาเหล่านี้ว่าคุณหมอ ทั้งที่ทั้งหมดในทีมมิมีใครเป็นแพทย์ พยาบาล แต่ทุกคนต่างก็มีความรู้พื้นฐานทางด้านสาธารณสุข รวมทั้งวิธีการให้คำแนะนำ ปรึกษาและดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งได้รับการอบรมจากศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลพิจิตร

   เมื่อมีเวลาว่างตรงกัน สมาชิกกลุ่มก็จะรวมตัวกันนัดหมายไปเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ บางวันตะเวนเยี่ยมกันถึง ๔ – ๕ ราย

   ทวี และสุเทพ แสงโชติ สองสามีภรรยาในวัยสูงอายุ ทั้งคู่เป็น อสม. และได้เข้ารับการฝึกอบรมนั้นด้วย หลังผ่านการอบรม ทั้งคู่ก็เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม นอกจากการเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแล้ว การออกเยี่ยมเยียนผู้ป่วยเรื้อรังตามบ้านเรือนหลังจากการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพิจิตร

   การออกไปเยี่ยมหญิงชราซึ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานในวันนี้ นอกจากการอาสาขับรถยนต์ของครอบครัวที่มีสมาชิกอีกหลายท่านติดตามไปด้วย เธอและสามีเตรียมสิ่งของไปมอบเป็นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกด้วย

   เนื่องจากทั้งเธอและสามี หมดภาระเรื่องการดูแลลูกหลาน จึงมีเวลาให้กับการทำกิจการส่วนรวมได้มาก ไม่เพียงการออกเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้านเรือนเท่านั้น ทวีและสุเทพยังอาสาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องความหวานและความดัน ทั้งที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและที่คลินิคเบาหวาน โรงพยาบาพิจิตร อยู่เป็นประจำ

   ทวีเขียนบันทึกของเธอไว้ว่า

   “ฉันจะพูดคุยให้กำลังใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพเท้า บางครั้งฉันก็จะทำอาหารเพื่อสุขภาพมาให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมัน ความดัน...
   ...ฉันรู้สึกได้ว่าพวกเขาดีใจที่ฉันเข้าไปคุยด้วย ให้กำลังใจ ห่วงใย เอื้ออาทร ฉันและสามีดีใจและภูมิใจมาก ทีมคุณหมอก็ให้กำลังใจ ฉันก็เป็นปลื้มเลยค่ะ รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก...”

 

   วิภาพร เลาวกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กล่าวไว้ว่า

   เพราะว่าการบำบัดเยียวยา มิใช่หมายความเพียงแค่การเข้าถึง “ยาดี” หรือ “การบริการที่ดี” เท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงการดูแลด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยด้วย รวมทั้งตระหนักว่า “คน” สำคัญกว่า “โรค” สิ่งที่ผู้ป่วยเหล่านั้นต้องการคือ “กำลังใจ” รวมทั้งการเสริมพลังอำนาจในตนเองที่จะเป็นพลังให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้ ทั้งนี้เกิดขึ้นได้จาก “มิตรภาพ” ที่มาจากครอบครัว มิตรสหายและผู้ให้บริการ

   “มิตรภาพบำบัด” จึงเป็นยาขนานวิเศษที่ช่วยในการเยียวยาด้วยหัวใจและมิตรภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 330351เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2010 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การ ใช้ มิตรภาพ ในการเยียวยา

ผู้ป่วยเป็นสิ่งดีมาก แต่ ต้อง เป็น ของจริง ผม เป็นเพื่อน

กับผู้ป่วย มาตั้งแต่ ปี 2539 แล้ว ดังนั้น การเยียวยา

และทุ่มเทของผม เกิดจากมิตรภาพ กลัว จริงๆ มิตรภาพแบบ จัดตั้ง

มิตรภาพแบบผักชีโรยหน้า สาธุ

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้การทำงานของนางฟ้าสีขาวค่ะ
  • คนทำดีควรชื่นชมนะคะ
  • ขอขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ น้องหนาน
  • ที่โรงพยาบาลป้าแดงก็เริ่มทำเรื่องนี้กันค่ะ จะพยายามต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณที่แบ่งปัน

คุณหมอทำงานแบบมีจิตวิทยา น่ารักจังค่ะ

  • บางครั้ง  บางเวลา  ยาก็แค่ยับยัง
  • แต่บางครั้ง  บางเวลา  " ใจ " ช่วยบำบัดให้เบาบางจากโรคภัยได้ดีกว่ายา
  • กำลังใจ ส่งถึงใจ  คือยาวิเศษนะครับ
  • ขอบคุณที่เข้าไปส่งกำลังใจ
  • ขอส่งกำลังใจให้ท่านและหลานเฌวา ให้อยู่ดีมีสุขนะครับ
  • ขอบคุณ

สวัสดีครับคุณหนานเกียรติ

มาเยี่ยมเยือน งานคงสำเร็จตามเป้าหมาย ชาวไทยรัฐวิทยา 63 ยินดีต้อนรับท่านและคณะครับ

การรักษาแบบใจถึงใจนับว่าเป็นยาดีที่หายากครับ

เป็นมิตรภาพที่ดีมากๆๆเลยนะครับ มสุพรรณบุรี ไปที่ไหนบ้างครับ ถ้าผ่านเกษตรศาสตร์ แวะมาให้ผมเลี้ยงเสต็กก็ได้นะครับพี่

...การทำงานด้วยหัวใจต้องเกิดจากความรักในงานที่ทำค่ะ...

เพราะความรักคือ การให้โดยไม่มีข้อต่อรอง เพียงหวังให้ผู้รับมีความสุขเท่านั้น...ความสุขของผู้ให้จึงไม่มีวันหมด

"มิตรภาพและความรัก" เป็นของคู่กันเพราะเป็นเรื่องที่ทำมาจาก "หัวใจ" ทั้งสิ้นค่ะ

(ไง...ซึ้งมั้ย... นี่ว่าแต่เรื่องรักงานนะจ๊ะเนี่ย..อิอิ)

เป็นกำลังใจให้นะคะ ..แวะมาทักทายค่ะ ^^

  • สวัสดีค่ะ 
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • “มิตรภาพบำบัด” จึงเป็นยาขนานวิเศษที่ช่วยในการเยียวยาด้วยหัวใจและมิตรภาพ" ขอสนับสนุนความคิดดี ๆ ด้วยคนค่ะ 
  • ขอให้มีความสุขกับสิ่งดี ๆ ในทุกวันค่ะ
  • สวัสดีค่ะ

    * กำลังใจ เป็นยาขนานวิเศษ เป็นเหมือนน้ำทิพย์ชะโลมใจ

    * "กิจกรรมมิตรภาพบำบัด" :  ทำให้ผู้ป่วยมีความสุข เป็นกิจกรรมและความคิดที่สร้างสรรค์มาก ก่อให้เกิดความสวยงามในสังคม ผู้ที่ได้รับสุขใจเริงร่า  ผู้ให้ยิ่งสุขกว่า  ความสุขด้วยการให้มิตรภาพ ความเข้าใจ ความรักและเอื้ออาทร....ชื่มชมจากใจค่ะ

    * คุณหนานเกียรติ มาถึงพิจิตรแล้วหรือนี่...ตกข่าวอีกตามเคย มัวทำงานงกๆ ...ฮา...

    * ญาติ...(ว่าที่น้องสะไภ้) กำลังเป็นแทพย์ฝึกหัดอยู่ที่โรงพยาบาลพิจิตรค่ะ 2 ปีแล้ว...เสียดายที่ครูใจดี  รู้ข่าวสารช้า....อย่างไม่น่าให้อภัย...

    * เป็นกำลังใจให้คนทำงาน ทำต่อไปนะคะ...เยี่ยมมากๆ ค่ะ

    * ระลึกถึงค่ะ

     

    เห็นด้วยนะคะ มิตรภาพ การเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ พ่อพี่อาการดีขึ้นหายป่วยโดยเร็วจากกำลังใจ

    http://gotoknow.org/blog/km-sha

    ขอบคุณนะคะ ที่เรื่องราวดีดีเหล่านี้...ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เจี๊ยบได้เริ่มต้นเขียนบันทึกเรื่องราวลง Blog ของตัวเองบ้าง

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท