พาลพบเพื่อน ณ พุเข็ม ( 1 )


" สัมมนาเจ้าหน้าที่ใหม่ พอช. หรือ การปลูกจิตสำนึกใหม่ของคนทำงานได้เดินทางมาที่บ้านพุเตย เพชรบุรี สายน้ำและขุนเขาที่ผมว่า unseen ครับ

.... สัมพันธ์ เรารักกัน สายใยผูกพันธ์ แน่นเหนียว

หวังช่วยคนจน คนยากจน เด็ดเดี่ยว สามัคคีกลมเดียวใจเดียวกับชุมชน...

     เนื้อหาที่ผมนำมาเกริ่นเป็นท่อนต้นของเพลงประจำสถาบัน และครั้งนี้เป็นการอบรมรับเจ้าหน้าที่ใหม่จากหลายส่วน ครั้งที่ 5 โดยหวังเป็นหนึ่งเดียวเรื่องการทำงานรับใช้ชุมชนฐานรากและการทำงานที่เป็นทีมเป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนา  แต่เอาเข้าจริงๆ วันที่เขาเดินทางผมเองกับไม่ได้มาพร้อมกัน เพราะผมติดนำเสนองานงานหนึ่งอยู่ จึงต้องตามมาอีกวันหนึ่ง ซึ่งบรรดาเพื่อพี่น้องก็ได้ปีนเขาก่อนหน้าไปเสียแล้ว ซึ่งยอมรับว่าตัวเองมีความเสียดายมาก (แต่ก็แอบดีใจเพราะหากไปคงปวดขาไปหลายวันเลยทีเดียวที่ต้องเดินเขา) จึงมานั่งรอเพื่อนที่โรงเรียนบ้านพุเตย ณ ที่นั้นผมพบอัธยาศัยพี่น้องชาวบ้านที่เจรจาพาที และพาไปนั่งที่ home stay ของเขาครับ เชื่อไหมาครับวิวสวยงามมากๆ เพชรบุรีนอกจากมีดีเรื่องขนมขับขานแล้ว ยังมีดีที่บ้านพุเตย เขื่อนแก่งกระจานแห่งนี้อีกด้วย

    

    

     ประมาณบ่าย 2 เพื่อนๆ ต่างเดินทะยอยลงมาด้วยเสียงกระจองงองแง ปวดขาโอ้ย หิว ... อื่นๆอีกสุดแท้แต่จะทราบได้ เพราะต่อจากนี้ไปยังไม่หมดเท่านั้นเพราะผมเองก็ต้องไป ผจญด้วยนั่นก็คือ การทำงานอาหาร สังเกตนะครับ เมนูส่วนใหญ่ที่นี่เน้นปลา เพราะอุดมด้วยปลามาหมายเสียเหลือเกิน ต่างคนต่างประชันแบ่งหน้าที่กันทำอาหาร กลุ่มผมทำ ปลาราดพริก ต้มโคล้ง และก็ปลาทอดเฉยๆ จิ้มกับน้ำปลา (อยากจะนินทาเล็กๆว่าการทำอาหารบ่งบอกนิสัยคน บางคนทำอาหารต้องเครื่องครบเท่านั้นไม่งั้นทำไม่ได้ แสดงว่าระเบียบจัด บางคนก็ทำไปกินไปเถอะนะนี่ก็ง่ายๆสบายบางทีอาจขี้เกียจ  แสดงถึงเพื่อนเราที่หลากหลาย แต่ต่างคนก็ต่างทำอาหารออกมาอย่างอร่อย จนเกิดเป็นอาหารเย็นของหัวค่ำวันที่ 2 ของเรา (แต่ผมตื่นเต้นมากว่าเพราะเขาตกปลาได้ตัวใหญ่มากๆ แย่งกะเด็กตัวเล็กเล่นเอาผมฮือฮา เขื่อนนี้ข่างอุดมสมบูรณ์สมคำในน้ำมีปลา ในนามีข้าวจริงๆ)

     พอกินข้าวเสร็จ ผมยังจำได้เลยนะครับ เราพากันล้อมวงต่อ เสวนาพาแลงดังชื่อ เพราะทุกคนต่างร่วมกันกินอาหาร ดีดสีตีเป่า จังหวะดนตรีที่ใครใคร่ร้องก็ร้อง ใคร่ฟังก็ฟัง หลากหลายเพลง เป็นเพลงที่เราแซวกันเล่นๆ ว่าเพลงสายแข็ง อาทิ เพลงคนกับควาย เพลงจิตรภูมิศักด์ เป็นต้น และผมเองก็ชอบเพลงเหล่านั้นเข้าไปเสียด้วยสิ นี่แหละมั้งครับ inner การหลั่งไหลซึมซับเข้าไปในร่างกาย "แต่ช่วงเสวนานั้นเราแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับประเด็นเขื่อน เขื่อนมีทั้งประโยชน์และโทษหากมองดีๆ หลายคยบอกว่าเขื่อนเก็บน้ำมีโทษได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมมาคิดคือการที่ชาวบ้านพุเตยบอกว่าที่ดินนี้ที่จมอยู่ใต้น้ำเนี่ย เมื่อก่อนเคยเป็นที่เขา" แล้วจะให้ผมรู้สึกอย่างไร ผมรู้สึกเป็น 2 อย่างนะ อย่างหนึ่งคือ ทำไมเขาต้องสละที่เขา เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง หรือ น้ำท่วมให้คนบางกลุ่ม ทั้งที่เขาเป็นเจ้าของ แต่อีกมุมหนึ่งเขาก็เสียสละเพื่อคนส่วนรวม (ใคร) เป็นต้น คำถามนี้ผมเองก็คงไม่หาคำตอบต่อไป แต่ผมเองก็เฝ้าคิดจนเข้านอนไปเหมือนกัน

    

     รุ่งเช้าวันสุดท้ายที่เราต้องออกเดินทางไปจากบ้านพุเตย  ผมได้รีบอาบน้ำที่เย็นให้สดใส สูดอากาศให้เต็มที่และที่สำคัญรีบไปถ้ายรูปตอนพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบแผ่นน้ำและภูเขา มันเป็นสีทอง สะท้อนทาบจากขอบฟ้าลงมาบนแผ่นน้ำ เป็นรางวัลของผมในการรอมัน ก่อนที่ผมจะออกเดินทางไปต้นน้ำของเขื่อน ที่ ณ ที่นั้นผมเห็นวิถีชีวิตชาวบ้านตามขอบเขื่อนที่ให้ชีวิตเรียบง่าย หรือแม้กระทั่งมัคคุเทศน์หนุ่มน้องพัช ที่ผมแซวเล่นๆว่าทำไมพัชไม่ไปทำงานข้างนอกละ "พัชตอบผมว่า : พี่ไปทำไมทำงานที่นี่สบายใจกว่าเยอะ เพราะเราไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นเจ้านายตัวเองได้ดูแลพ่อกับแม่ด้วย" ประโยคนี้ทำผมอึ้งไปเลยเพราะผมเองยังไม่สามารถเป็นเจ้านายตนเองได้อย่างพัช เกร็ดเล็กน้อยไม่น่าเชื่อ ว่าเราจะเก็บมาได้จากการพาลพบและพบพากัน ขณะเดียวกันเราเองยังต้องไปอีกที่คือ บ้านมั่นคงท่ายาง บ้านของคนจนเพื่อคนจน และคนจนทำได้....ไว้ตอนหน้าครับ

 
หมายเลขบันทึก: 330170เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2010 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

นำเสนอได้ประทับใจ ภาพสวยมากคะ

คุณสายสมร ใจอารี ขอบคุณมากๆนะครับ นอกตากพาลพบเพื่อนที่พุเตยแล้ว ยังมาเจอที่ G2K นี่แหละครับ ขอบคุณมากนะครับ

นายขนมด้วงเจ้านายเมืองเหนือไม่รู้ว่าสบายดีไหม จะตามอ่านเรื่องสั้นต่อไปนะครับ แล้วว่างมาเจรจาพาทีกัน ณ เมืองบางกอกครับ"

บ้านมั่นคงชาวบ้าน จนๆๆ ก็สร้างได้ เดี๋ยวผมจะมาเขียนต่อนะครับ

สวัสดีครับ น้องหมูแดง ต่อไปคงไม่พลาดที่จะเข้าไปทายทัก

เห็นหน้าเห็นกันมั่นแม้นแล้ว

บ้านมั่นคงเป็นประเด็นหนึ่งที่ศูนย์ฯขับเคลื่อนอยู๋ คุณอ๋อยดำเนินการครับ

ครับ บัง ไว้เจอกันคงได้แลกเปลี่ยน ขอบคุณมากครับ บังที่เข้ามาเยี่ยมชม

เด็กชายตัวน้อยยิ้มร่า เมื่อเห็นกล้องที่ผมแบกไปคงแปลดใจว่าพี่มาถ่ายผมทำไม ณ โรงเรียนบ้านพุเตย

วิถีชีวิตแห่งสายน้ำคนบ้านพุเตย

รวมพลัง พอช. สัมพันธื เรารักกันสายใยผูกพันธ์แน่นเหนียว

นี่แหละครับ เจ้าน้องพัชมัคคุเทศน์ของเรา ที่เขาบอกผมว่า "พัชตอบผมว่า : พี่ไปทำไมทำงานที่นี่สบายใจกว่าเยอะ เพราะเราไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นเจ้านายตัวเองได้ดูแลพ่อกับแม่ด้วย" นี่แหละครับ

รูปนี้ทุกคนต่างรับประทานเมนูปลาในเขื่อนที่แต่ละกลุ่มปรุงกัน ดูจากรูปอลหม่านน่าดู (ปล.รูปนี้เอามาจาก blog พี่สุเทพ)

           

สวัสดีครับหมูแดงอวกาศ

คิดถึงบทเพลง "คนหลังเขา"ที่ได้ร้องร่วมกันในบรรยากาศสุนทรีสนทนาเมื่อค่ำคืนคืนวันนั้น เพลงนี้เป็นเพลงคุณขอมาโดยหมูแดงอวกาศใช่ไหม

.........

ดินแดนสุดแสนไกลกว้างใหญ่สุดสายตามีความงามเหลือคณา คล้ายดังเป็นเมืองแมน

หมู่ปลาว่ายแหวกเสียงนกร้องระเริงรำ ขุนเขาทะมึนดำเสียดเมฆ อยู่เรียงราย

มีผู้คนอาศัยตามเชิงชายเขาทุกค่ำเช้า หากินพอเลี้ยงกาย

จับสัตว์หาปลาปลูกพืชผักพอกันตาย เลาะริมชาย ธารน้ำที่เชิงภู

มีใบบอกจากทางการให้ย้ายบ้านไปหลังเขาจะสร้างเขื่อนเพื่อบรรเทาเอาน้ำใช้ยามกันดาร

ทิ้งแหล่งน้ำอันอุดมซานซมสู่หลังเขา น้ำจากเขื่อนท่วมนาเราบอกกล่าวไร้คนเหลียวแล

เจริญแล้ว มีเขื่อนกั้นเก็บกักน้ำมีสนาม กอล์ฟสวยเป็นหลักฐาน

บังกะโลใหญ่โต ทั้งบ้านพักพนักงาน เป็นสถานพักผ่อนของคนเมือง

สุดหลังเขา คละเคล้าด้วยน้ำตาคน ที่แสนจนจนยาก ลำบากกาย

จะแล้งฝนก็ทนทุกข์ นิรันดร์ไป คือความหมายที่กล่าวถึง คนหลังเขา

คือความหมาย ที่กล่าวถึงคนหลังเขา คือความตาย ที่มาถึง คนหลังเขา

.....

เป็นบทเพลงที่ประทับใจมากครับ   สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่พวกเราได้เรียนรู้ตำนาน "คนหลังเขา"ที่ชุมชนบ้านพุเข็มแห่งนี้ด้วย

เพลง“คนหลังเขา” นี้ประพันธ์เพลงโดย อ.มานพ รัตนพันธากุล อดีตรอง ผอ.โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

อ.มานพ รัตนพันธากุล ท่านผู้นี้เป็นคนอยู่เบื้องหลังศิลปินดังแนวเพื่อชีวิต ผู้สร้างสรรค์ให้กับศิลปินหลายท่านและมีผลงานเพลงจนโด่งดังมากมายหลายค่ายหลายเนื้อหา ผมทราบมาว่า นอกจากท่านผู้นี้จะเป็นผู้ประพันธ์เพลงคนหลังเขานี้แล้ว(มีทั้งวงด่านเกวียน(ในชื่อเดิมในชุดแรกเพราะมาก)และคาราบาวเคยนำไปร้องในชุด “กัมพูชา”) ท่านยังเป็นเจ้าของบทเพลง ชาวนาอาลัย(ขับร้องโดย สีเผือก อิสรา อนันตทัศน์ วงคนด่านเกวียน โดยชื่อแรกใช้ชื่อเพลงว่าเพลง “ชาวนายังไม่ตาย”) นอกจากนี้ยังมีเพลงเขาใหญ่” เพลงคิดถึงแม่ เพลงมรดกโลก-มรดกเราฯ และท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งวงฟูนัน(เคยฟังนานมาแล้วเป็นเทป) ในผลงานเพลงชุด เส้นชัย มีเพลงรัตติกาล, เคียวไร้คม, ก่อนตะวันจะสิ้นแสง ซึ่งคนในแวดวงเพลงเพื่อชีวิต(รุ่นเก่า)จะรู้จักกันดี และที่สำคัญท่านยังเป็นคนที่ออกแบบตราโลโก้ คือเป็นผู้ให้กำเนิดตราสัญลักษณ์เขาควาย แก่วงดนตรี “คาราบาว” อีกด้วย (ผมไม่แน่ใจว่าท่านเป็นคนคนเดียวกันกับ “พระไม้” หรือเปล่า)

อ.มานพ รัตนพันธากุล ท่านได้จากไปแล้วครับ ด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อต้นปี 52ที่ผ่านมา โดยท่านได้ทิ้งบทเพลงดังชิ้นสุดท้าย “มรดกโลก-มรดกเราฯเขาใหญ่” ไว้เป็นอนุสรณ์

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับพี่สุเทพที่ร่วมขับขานแพลงร่วมกัน เลยขอแต่งกลอนเล็กสัก 1 บท

ได้ขับขานบรรเลงเพลงปฏิวัติ

เกิดกำหนัดผองเพื่อนแสวงหา

ณ ที่นี้พวกเราได้นำพา

พสุธาแดนดินถิ่นไพรงาม

เมื่อไหร่จะมีตอนต่อไปอ่ะ รออ่านอยู่

555 นาเดียร์ก็เขียนบ้างดิผมจะได้รออ่าน  ประมาณอารมณ์ขึ้นลงเดี๋ยวก็อยากเขียน เดี๋ยวก็ไม่อยากเขียน แต่สัญญาว่าจะเขียนตอนต่อไปไม่รู้ว่าเมื่อไหร่นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท