หญิงตามหญิง นำแหน่ แพร่ระบาด


“ปรากฏการณ์การนำแหน่” หรือ “การแพร่ระบาด”
          สวัสดีค่ะ  วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องไหมพรมในอีกแง่มุมหนึ่งค่ะ  ก่อนอื่นต้องขออธิบายคำว่า “นำแหน่” ก่อนนะคะ  นำแหน่เป็นภาษาอิสานค่ะ  มีความหมายคล้ายกับคำว่า “ด้วยกัน” หรือ “ด้วยคน” ค่ะ  พอดีวันก่อนฉันได้เดินทางกลับบ้าน (นานๆได้มีโอกาสกลับบ้านที)  แล้วได้คุยกับพี่ปุ้มซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน  ก็เลยถือโอกาสนี้ถามพี่ปุ้มว่า  “เคยถักไหมพรมบ้างไหม?” พี่ปุ้มบอกว่า “โห  ไหมพรมหรอ  พี่ชอบจะตาย  ตอนนี้ถักผ้าพันคอได้หลายผืนแล้วล่ะ”  จากนั้นได้ถามพี่ปุ้มต่อว่าทำไมถึงชอบ “ก็มันดูสวยดี  นุ่มดี  ใส่แล้วก็อุ่นทำก็ไม่ยากขนาดพี่เพิ่งจะหัดทำนะเนี่ย  ยิ่งช่วงนี้เป็นฤดูหนาวด้วย  พี่ถักผ้าพันคอให้พ่อกับแม่  และก็เพื่อนๆอีกตั้งหลายคนแน่ะ” (ขนาดเพิ่งหัดถัก) ก็เลยได้ถามพี่ปุ้มต่อว่า  นึกยังไงถึงอยากจะถักล่ะพี่? “อ๋อ พอดีเห็นพี่แววถักแล้วน่าสนุกดี  ก็เลยไปขอให้แกสอนถัก”  จากนั้นฉันก็ได้ไปหาพี่แวว (ลูกพี่ลูกน้องของฉันและพี่ปุ้ม) ซึ่งอยู่บ้านใกล้ๆกัน  ก็เลยถามพี่แววด้วยคำถามเดียวกันกับพี่ปุ้มแล้วได้คำตอบเหมือนๆกันเลยค่ะ  แต่พอถามพี่แววว่า “ทำไมถึงอยากจะถักไหมพรม?” พี่แววบอกว่า  “พี่เห็นพี่ที่ทำงานเขาถักน่ะ  พี่เลยไปขอให้เขาสอนให้” 
          วันต่อมาฉันได้แวะเข้าไปเยี่ยมเพื่อนในหมู่บ้านค่ะ  เพื่อนคนนี้แม่ของเขาเป็นอสม. ปกติที่บ้านของเขาจะมีกลุ่มแม่บ้านมานั่งคุยนั่งเล่นกันบ่อยๆ  แต่วันนี้ที่ฉันเจอมันเป็นภาพที่แปลกออกไปค่ะ  เพราะวันนี้มีกลุ่มแม่บ้านประมาน 6-7 คน  มานั่งถักไหมพรมค่ะ  แน่นอนค่ะฉันต้องถามแม่บ้านกลุ่มนี้อยู่แล้วว่าทำไมถึงมาถักไหมพรมกัน  พวกน้าๆป้าๆเหล่านี้ก็ได้ตอบมาเป็นภาษาอิสานว่า “เห็นสมบัติแฮดเลยอยากแฮดนำแหน่” (แปลว่า เห็นคุณสมบัติทำเลยอยากทำด้วย) ฉันเลยถามน้าๆป้าๆเหล่านั้นว่ามีคนทำอีกไหม  บรรดาน้าๆป้าๆก็บอกว่า “มีอยู่  บ้านเหนือกะแฮด  บ้านใต้กะแฮด เขาเห็นพวกฉันแฮด ก็เลยอยากแฮดนำแหน่” (แปลว่า  ยังมีอีกที่บ้านเหนือและบ้านใต้ เขาเห็นพวกฉันทำก็เลยอยากทำด้วย) คราวนี้ฉันเลยไปหาคุณสมบัติ (น้าบัติ) เพื่อถามคำถามเดียวกันกับทุกคนที่ฉันถาม  น้าบัติบอกว่า “เห็นปุ้มแฮดเป็นตาคัก กะเลยอยากแฮดนำแหน่” (แปลว่า  เห็นพี่ปุ้มทำแล้วน่าสนุก ก็เลยอยากจะทำด้วยคน)
          มาถึงตรงนี้ต้องขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะคะ  ว่าคุณสมบัติหรือน้าบัตินั้นเป็นใคร  น้าบัติคือแม่ของพี่ปุ้มเองค่ะ  ถ้ายังงงกันอยู่  ฉันขอสรุปให้ดูว่าปรากฏการณ์การนี้มากจากไหนกันดีกว่านะคะ 
 
          พี่ที่ทำงานของพี่แวว >> พี่แวว >> พี่ปุ้ม >> น้าบัติ >> กลุ่มแม่บ้านที่บ้านของอสม. >> กลุ่มแม่บ้านที่บ้านเหนือ, บ้านใต้
 
          จากเรื่องที่นำเสนอจะเห็นได้ว่าผู้หญิงนั้นมีความคล้อยตามกันมากแค่ไหน  การเห็นคนอื่นทำแล้วอยากจะทำด้วย จนเกิดเป็น “ปรากฏการณ์การนำแหน่” หรือ “การแพร่ระบาด” นั่นเองค่ะ
หมายเลขบันทึก: 328292เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดูแล้วคล้ายกับ... การหาว เลยครับ เห็นคนหนึ่งหาว สังเกตได้เลยครับ จะมีคนหาวตาม เยอะแยะไปหมด

น่าสนใจครับ... เป็นเพราะมีคนนำทาง จึงทำให้การถักไหมพรหมได้รับความสนใจ ประมาณว่ากระแสสังคม

เป็นเคสตัวอย่างที่ดีเลยครับ ^^

เห็นแล้วอยากนี่เอง งั้นการลดน้ำหนักของผมต้องไม่ไปเห็นใครกินอะไรทั้งนั้น เดี๋ยวอยากกินด้วย

ถึงว่า ใครชวนกินอะไร ใจแตกทุกทีเลย เหอๆๆๆ

คุณ Charmmy อยากขอให้ช่วยเพิ่มไซด์ตัวหนังสือได้มั้ยครับ คอมผมจอมันเล็กอะครับ อ่านไม่ค่อยถนัด

ขอบคุณครับ

เป็นโรคติดต่ออย่างหนึ่งนะคะ

เหมือนตอนไปร้านอาหารเมนูอาหารเยอะแยะ แต่พอมีคนนึงสั่ง อีกคนก็บอกว่าเอาด้วยๆๆ

ก่อนอื่นต้องขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณไพรัช คุณเทพดรุณ และคุณOrn นะคะ

และก็ต้องขออภัยสำหรับเรื่องตัวหนังสือที่เล็กเกินไป ตอนนี้ได้ทำการแก้ไขให้แล้วนะคะ ^^"

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับของกินเนี่ย เป็นเหมือนกันเลยนะคะ ฮะฮะ เห็นคนอื่นกินก็อยากจะกินตาม

เห็นเมนูเยอะๆ แล้วก็เกิดความอยากกินไปหมด เรื่องหาวนี้ก็ด้วยค่ะ แฮ่ะๆๆ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท