เส้นทางการสำรวจน้ำ


ฝาย

จากบันทึกที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องฝายชะลอน้ำทั้งฝายหินและฝายแม้วว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างนะครับ  ในบันทึกนี้เราจะเล่าถึงการเดินทางสำรวจเส้นทางของน้ำกันนะครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง

 ในวันแรกเมื่อเราเดินทางไปถึงหมู่บ้านปางจำปีพวกเราก็นำสัมภาระไปเก็บที่บ้านพัก(ที่บ้านพักไม่มีคลื่นโทรศัพท์)และก็ได้พบกับลุงธนกร ขัติยะ กับเด็กๆในหมู่บ้านซึ่งเขาช่วยให้ข้อมูลและพาเราเข้าไปสำรวจแหล่งน้ำในป่ากัน และยังมีเพื่อนจากกลุ่มสมุนไพรที่จะเดินทางเข้าป่าไปพร้อมกับกลุ่มพวกเราด้วย เมื่อกลุ่มพวกเราได้รู้ว่าพวกเราจะต้องเข้าไปสำรวจแหล่งน้ำในป่า พวกเราก็คิดว่าน่าจะสนุกและก็ได้พบกับสิ่งต่างๆที่ไม่พบในชุมชนเมืองทำให้พวกเราตื่นเต้นกันมาก 

 

 

 

   

   กำลังขนของไปบ้านพัก          บ้านพักของพวกเรา...อยู่ท่ามกลางต้นไม้ 

     พอลุงธนกรมาพวกเราทั้งสองกลุ่มก็เริ่มเดินทางเข้าไปสำรวจป่ากัน แล้ว ระหว่างทางก่อนที่จะเข้าป่านั้นเราก็ได้พบฝายหินซึ่งคุณลุงธนกรบอกว่าเป็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้ทำไว้ก่อนหน้าที่เราจะมาพัก ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าขนาดชาวต่างชาติยังช่วยดูแลธรรมชาติของเรายิ่งทำให้เรารู้สึกรักธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเดินไปก็ได้พบฝายหินอีกอันซึ่งฝายหินทั้งสองอันเอาไว้ชะลอน้ำแต่ว่าคุณลุงบอกว่าฝายอันที่สองนี้มีจุดประสงค์หลักคือเอาไว้เลี้ยงปลา (วังปลา)ซึ่งวังปลานี้เขาไม่ให้จับปลาและก็ไม่ให้ลงเล่นน้ำและคุณลุงก็ยังเอาอาหารมาให้พวกเราให้ปลาซึ่งเรารู้สึกตกใจมากเพราะว่าปลาตัวใหญ่และมีจำนวนเยอะมาก

 

 

 

 

  

     วังปลาที่ชาวบ้านสร้างไว้                   ปลาในฝายตัวใหญ่มากๆ...

 

 

 จากนั้นเราก็มุ่งหน้าเข้าป่ากันต่อไป ซึ่งทางนั้นยากลำบากมากไม่เหมือนกับที่เราคิดไว้เพราะทางเดินนั้นมีแต่โคลนและลื่นมากทำให้เพื่อนๆต้องช่วยกันพยุงกันเวลาเดินทำให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม ระหว่างทางเดินเราก็สังเกตได้ว่าสภาพน้ำและป่าของที่นี้อุดมสมบูรณ์และเย็นสบายมากครับระหว่างที่เราเดินทางไปในป่านั้นคุณลุงก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรให้กับกลุ่มสมุนไพรที่มาพร้อมกับกลุ่มเราทำให้พวกเราได้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไปด้วย และพวกเราก็เก็บภาพการทำงานของกลุ่มของพวกเราไปด้วย

 

            

     เดินกันจนลิ้นห้อยเลย       น้ำตกอุดมสมบูรณ์มากๆ

เมื่อเดินทางกันไปซักพักก็ได้พบน้ำไหลออกมาจากดินซึ่งพวกเราไม่เคยเห็นมาก่อนก็เลยถามคุณลุงธนกร คุณลุงก็ตอบว่า”มันคือตาน้ำ”และคุณลุงก็ได้บอกอีกว่าตาน้ำมีอีกจำนวนมาก ซึ่งจะรวมกันเป็นสายน้ำแม่ลายน้อยที่ล่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านปางจำปีแห่งนี้  และในขณะนั้นเราก็เหนื่อยกันมากเพราะทางเดินชันและลื่นตลอดทางคุณลุงเลยบอกให้เรานั่งพักก่อนแล้วเดียวเดินทางต่อไปดูฝายแม้วที่อยู่ข้างบน ซึ่งพวกเราก็ถามลุงว่ายังต้องเดินขึ้นไปอีกหรอ...! แต่ว่าด้วยความอยากได้เกรด A ของพวกเราทำให้เรามีกำลังใจที่จะขึ้นไปเอาภาพฝายแม้วมาให้ได้

 

 

 

  

 สังเกตดูนะครับมีน้ำไหลออกมา    เดินกันจนเหนื่อยก็ต้องนั้งพักกันหน่อย

   เมื่อพักกันจนหายเหนื่อยแล้วเราก็เริ่มเดินทางกันต่อโดยการเดินทางก็ยังคงยากลำบากเหมือนเดิมและเมื่อเดินทางไปซักพักก็ได้ยินเด็กที่เดินทางไปกับพวกเราตะโกนว่า”เจอฝายแม้วแล้ว” พอพวกเราได้ยินปุ๊บ พวกเราก็วิ่งไปดูกันเราเลยเก็บภาพฝายแม้วมาให้ดูกันครับ และเราก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าในฝายแม้วจะมีกบจุ๋กและก็เต่าปูลง ซึ่งเต่าชนิดนี้จะเหมือนกับเต่าทั่วไปแต่ว่าหัวของมันจะหดเข้าไม่ได้  ซึ่งสัตว์สองชนิดนี้จะบอกได้ว่าน้ำกับป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหนครับ(แต่ว่าเราไม่มีภาพมาให้ดูนะครับเพราะว่าเราต้องเดินทางเข้าไปในป่าลึกกว่านี้อีกถึงจะได้เห็นพวกมันซึ่งเราไม่มีเวลาเพียงพอครับ)

  

 

                  ในที่สุดก้อเจอ!!  ฝายแม้วที่เราออกเดินทางตามหากัน

 

 

เมื่อเราเก็บภาพกันพอใจแล้วคุณลุงก็พาพวกเรากลับบ้านพักระหว่างทางเดินกลับบ้านก็ได้ยินเสียงข้อความโทรศัพท์ของเพื่อนดัง พวกเราทั้งสองกลุ่มก็พร้อมใจกันหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาพร้อมกัน แล้วโทรศัพท์กันใหญ่เลยโดยมีเพื่อนคนหนึ่งโทรหาแม่แล้วพูดว่า”แม่ลูกไม่ได้ยินแม่ไม่เป็นไรแต่ถ้าแม่ได้ยินหนูโอนเงินค่าโทรศัพท์ให้หนูด้วยนะ รักแม่มาก”แล้วพวกเราก็หัวเราะกัน จากนั้นพวกเราก็เดินทางกลับบ้านพักแล้วทำกิจกรรมต่อไป 

 

 

จากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปต้องติดตามบันทึกหน้านะครับ...สวัสดีครับ

  นายเอกวัฒน์ ธรรมฐิติพงศ์                                                                    

 

คำสำคัญ (Tags): #บัวตอง
หมายเลขบันทึก: 327849เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท