9 อ.เพื่อ สุขภาพ ดี


สุขภาพร่างกายที่ต้องมีการใส่ใจมากขึ้นทั้งตัวเองและคนใกล้ชิด ญาติพี่น้อง ช่วยกันบอก ช่วยกันเตือนดีกว่าไม่บอกเลยนะคะ

ข้อมูลจาก

อาจารย์ วิไล ตั้งปนิธานดี

หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ งานการพยาบาลป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิปดี

          ปัจจุบันแนวคิดในเรื่องการดูแลสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไป จากการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย มาเป็นการดูแลสุขภาพก่อนเจ็บป่วย เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลสูงมาก ในทางตรงข้าม การดูแลสุขภาพก่อนการเจ็บป่วยเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรือบางครั้งแทบจะไม่เสียเลย เพื่อให้เราสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีป้องกันมิให้เจ็บป่วย มีหลักในการดูแลตนเองที่สำคัญ

 เรียกว่า  " สูตร  9  อ. "   ได้แก่ 

 

1. อาหาร  

    หมายถึง การบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

    เหมาะสม  เช่น

-  การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

   ด้วยปริมาณและ สัดส่วนที่พอเหมาะกับความ

   ต้องการของร่างกายแต่ละวัน

-  รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น

-  ลดอาหารรสจัด

-  ลดอาหารจำพวกไขมัน

-  หลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื้อรมควัน ปิ้งย่าง

   หรือทอดไหม้เกรียมอาจทำให้เป็นมะเร็งได้

 

2. ออกกำลังกาย

    ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงร่างกายกระปี้กระเป่า

    และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคจึงสามารถป้องกัน

    และรักษาโรคต่างได้ เช่นโรคหวัด โรคภูมิแพ้

   โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น   

   จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันเว้นวัน เช่น

   เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขึ่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

 

3. อารมณ์ 

   หมายถึง การฝึกฝนให้มีจิตใจและอารมณ์ที่ดี 

   ลดความวิตกกังวล ความทุกข์ใจ โดย

   ใช้วืธีการ คลายเครียด เช่น ฟังเพลง วาดรูป

   ปลูกต้นไม้ นอกจากนี้อาจใช้การสวดมนต์

   หรือ เจริญสติ เป็นต้น

 

4. อากาศ

   คือการอยู่ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทสะดวก

   ร่มรื่น พยายามอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ  

   หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ เป็นต้น

 

5. อนามัย

    หมายถึง การดูแลความสะอาดร่างกาย

    สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันโรคเช่น

-  การรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า

-  รับประทานอาหารที่สุกสะอาด

-  การวางแผนครอบครัวและการเตรียมตัวก่อนมีบุตร

-  การไปรับวัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนด

-  จัดสถานที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อม

   ให้สะอาดปลอดภัย

-   การมีเพศสัมพันธ์ ที่ปลอดภัยรู้จัก

    วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

 

6. อบายมุข 

   หมายถึง การหลีกเลี่ยงการพนันและ

   สิ่งเสพติดให้โทษ เช่น เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด

   ล้วนแต่บั่นทอนสุขภาพและนำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ

 

 

7. อุบัติเหตุ

   เป็นสาเหตุการตายของคนไทยที่มา

   เป็นอันดับแรกๆ  และสร้างความเสียหาย

   ต่อสุขภาพ ทรัพย์สินเงินทองอย่างมากมาย

   ดังนั้นจึงควรหาวิธีการป้องกัน เช่น

-  ภายในบ้าน ควรระวังเรื่องไฟฟา น้ำร้อน

   เตาไฟ บันได ห้องน้ำ ยา และสารเคมี

   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กอาจได้รับภัย

   จากสิ่งเหล่านี้

-  การเดินทาง ควรข้ามถนนตรงทางม้าลาย

   หรือข้ามสะพานลอย สวมหมวกกันน็อค

   ขณะขี่จักรยานยนต์ รัดเข็มขัดนิรภัย 

   ขณะขับรถ อย่าขับรถขณะมึนเมา

  หรือรับประทานยาที่ทำให้ง่วง

- ในที่ทำงานและโรงงาน ควรจัดมาตรการ

  ความปลอดภัยต่างๆ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์

  ป้องกันภัยให้เหมาะสม

 

8. อิริยาบท

   หมายถึง การพยายามรักษาอิริยาบทขณะ

  นั่ง ยืน เดิน ทำงาน เช่น ขณะทำงานให้

  นั่งหลังตรง การหยิบของบนที่สูงไม่ควรเอื้อม

  หรือเอี่ยวตัว หรือเขย่งปลายเท้า จะทำให้

  ปวดหลังได้ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยให้หยิมถึง

  เช่น เก้าอี้ เพื่อป้องกันอาการปวดเอว ปวดหลัง

  เป็นต้น

 

9.  โอสถ

 หมายถึง การรู้จักใช้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

 และรู้จักการใช้ยาที่เหมาะสมในการรักษา

  อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย อย่าซื้อยา

  รับประทานเองอย่างผิดๆ

 

      หากท่านสามารถปฏิบัติตาม หลัก 9 อ.เพื่อสุขภาพ ได้อย่างจริงจังและสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันแล้ว ก็ย่อมจะช่วยให้ท่านมีอายุยืนยาว มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 327283เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณมากค่ะ เยอะกว่า 3 อ. อีกนะคะเนี่ย 

สวัสดีค่ะคุณ PHATCHA

 3 อ.มีอะไรบ้างค่ะ  มีมากกว่าดีแล้วค่ะ

จะได้ระวังหลายๆเรื่องปลอดภัยดีค่ะ

 

ที่โรงเรียนกำลังเดินเรื่อง 6 อ.ครับ

อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อบายมุข อโรคยา

สวัสดีค่ะคุณ ชัยพร

  ดีนะคะทุก อ. มีประโยชน์ทั้งนั้น

ขอให้ทุกคนปฏิบัติ ได้ ก็จะดีต่อ ชีวิตของแต่ละคน

เพียงแต่จะตั้งใจปฏิบัติกันได้ ทุก อ. หรือไม่เท่านั้น

 

 

โดยเฉพาะ อ. นี้สำคัญเพราะต้องเข้าร่างกายทุกวันทุกมิ้อ

ขอบคุณมากครับ

9 อ. ถ้าทำได้ครบทุกข้อเป็นประโยชน์อย่างมากแน่ๆครับ

แต่ที่ผมเป็นห่วงอยู่ตอนนี้คือ การรับประทานครับ โดยเฉพาะผัก

ในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-30 ปี ที่เคยได้ไปเก็บข้อมูลมา

พบว่ามีผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักเป็นจำนวนไม่น้อย

ไม่ทราบว่าจะมีวิธีอะไรดีๆ ที่พอจะช่วยแนะนำพวกเขาเหล้านั้นได้มั๊ยครับ

ปล.ตอนนี้ผมสนใจในเรื่องของ ร้านอาหาร ที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและบรรยากาศกับอารมณ์ของผู้บริโภคน่ะครับ

สวัสดีค่ะคุณ fallen

    เรื่องการรับประทานผัก จะให้คนที่ไม่ชอบมาชอบนี้ ยากพอควร เพราะเขาโตแล้ว บอกให้ปฏิบัติยากถึงแม้ใจอยากจะรับประทานแต่ปฏิบัติไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีอาหารให้เลือกได้ และเขายังไม่มีโรคที่เกิดที่ให้รู้ว่าต้องรับประทานผักแล้วนะไม่อย่างนั้นโรคที่เป็นอยู่ไม่หาย การฝึกที่ดีที่สุดคือฝึกตั้งแต่เด็กๆเล็กๆได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มรับประทานอาหารได้ดังนั้นการอบรมสอนต้องสอนที่ผู้ที่กำลังจะป็นพ่อแม่คนดีที่สุด แต่ก็มีปัญหาอีกได้ หากครอบครัวนั้นไม่ชอบผัก ก็มีต่อมาถึงลูกอีก

      ดังนั้นวัย 15-30 ปี บอกยากค่ะต้องอยู่ที่ตัวเขาเอง หากจะเริ่มได้บ้าง อาหารนั้นต้องอร่อยเมื่อชิมครั้งแรก ซึ่งมีปัญหากับผู้ทำเหมือนกันเขาจะรับประทานไหมนะ หากทำแล้วก็ยังไม่รับประทาน ผู้ทำก็ไม่อยากทำอีก ถึงแม้ว่าจะบอกว่ามีประโยชน์มากมายแต่ไม่สนใจเลยก็มี  นอกเสียจากร่างกาย มีปัญหา ถึงจะเห็นประโยชน์ของผักผลไม้

        ร้านอาหารเพื่อสุขภาพปัจจุบันมีมาก แต่ไปในทางที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ก็จะได้กับคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คนยังนิยมอาหารที่มีเนื้อสัตว์(ที่ปนไขมัน)มากกว่ามากมาย เพราะอร่อยต่างกันมาก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกัน คือ ตราบใดที่ยังไม่เกิดโรคในร่างกายก็ยังรับประทานอาหารกันเหมือนเดิม เหมือนเช่นเดียวกับคนไม่ชอบผัก   หากทุกร้านพร้อมใจกันทำเพื่อสุขภาพก็จะดีต่อผู้บริโภค  แต่ยากมากที่จะทำได้ ขนาดผู้ทำอาหารมืออาชีพ  เมนูอาหารแต่ละอย่างไม่ใช่สุขภาพเลย ทั้งน้ำตาล ทั้งไขมัน ฯลฯใส่กันไม่มีเบรก

   จริงๆแล้วต้องเริ่มสอนกันตั้งแต่เป็นเด็กเล็กเลยว่าอะไรที่ควรและไม่ควรรับประทาน แต่มันก็ต่อเนี่องของผู้ขายสินค้าอาหารต่างๆที่จะมาทำอาหารอีก ขอให้ขายได้ไม่ได้สนใจสุขภาพผู้ซื้อ  และผู้ที่ทำอาหารทุกครอบครัวควรรู้ว่าสิ่งไหนมีโทษและไม่มีโทษกับร่างกาย อย่างที่บอกค่ะ ไม่เกิดโรคในร่างกาย  ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร นี่คือ ชีวิตส่วนใหญ่ในปัจจุบัน 

       บรรยากาศกับอารมณ์ของผู้บริโภค อันนี้อยู่ที่นิสัยของแต่ละคนและกำลังเงินที่จะเข้าไปที่ร้านไหน  เช่น บางคนขอให้อร่อย บางคนความสะอาด ต้องมาก่อน  ฯลฯ

 

ขอบคุณมากๆครับ

ได้อ่านแล้วก็ย้อนกลับมาดูตัวเอง ตอนนี้เรื่องรับประทาน ผมก็ใส่ไม่ยั้งเหมือนกันครับ

ยังคิดว่าตัวเองหนุ่มอยู่เลยรับประทานอาหารตามใจปาก

ต่อไปนี้คงต้องพยายามลองเปลี่ยนความคิดและ พฤติกรรมการกินแล้วล่ะครับ

ดีมากค่ะ และฝากบอกคนอื่นๆด้วยนะคะ

อย่าให้เป็นโรคก่อนแล้วถึงมาใส่ใจสุขภาพ 

 ปัจจุบันโรคเกิดง่ายหากไม่ระวัง

ไม่เหมือนสมัยก่อนที่เรียบง่ายโรคภัยน้อย

แต่ยุคนี้ ทันสมัยแต่ โรคภัยมาก

   

          อาหารทุกจาน ใช้น้ำมันมะพร้าว

สวัสดีครับคุณ กานดา แวะมา รักษาสุขภาพกับ หลัก 9 อ.

แต่ยังปฎิบัติได้ไม่ครบทุกอ.ครับ

แต่ก็พยายามครับ เพื่อสุขภาพตัวเองครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณ วอญ่า

    ตั้งใจปฏิบัติ เดี๋ยวก็ได้ครบ 9 อ.ค่ะ

   

   ข้าวกล้องดีต่อสุขภาพมาก อ. อาหารสำคัญค่ะ

อ ไหนสำคัญที่สุดค่ะ เรียงลำดับค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ tuk

เป็นคำถามที่ตอบยากเหมือนกันนะคะ อ.ไหนสำคัญที่สุด  9 อ.นี้มีความสำคัญหมดเพียงแต่ละบุคคล ที่จะเห็นว่า อ.ไหนควรจะเป็น 1 

หากเราคิด อ.แต่ละอย่างแบบชัดๆง่ายๆ ก็เช่น

 อ.อากาศ ถ้าเราไม่มีอากาสหายใจที่ดีเราก็ตายได้ ตัวอย่างเช่น คนลงไปในบ่อน้ำบาดาลลึกๆหรือสูดอากาศเป็นพิษกระทันหัน  หรือสูดอากาศที่มีเชื้อโรคก็ป่วยได้ตลอดเวลาหากไม่ระวัง

 อ.อาหาร หากเราไม่ได้ดื่มน้ำไม่ได้กินอาหารเราก็ตายได้ ป่วยได้หรือกินอย่างไม่ระวังก็เกิดโรค

 อ. อบายมุข หากเล่นการพนันหมดตัวก็ไม่มีเงินซื้ออาหาร อาจะไม่มีบ้านอยู่ด้วย ครอบครัวเดือดร้อนไปด้วย

อ. อารมณ์  หากอารมณ์เครียดร้ายตลอดเวลา ก็ไม่มีแต่คนเกลียด คนรอบข้างไม่มีความสุขอยู่ด้วยอย่างระวังอามรมณ์ สามวันดึสี่วันร้ายไม่น่าคบ และเกิดโรค

 อ. โอสถ เมื่อทำตัวเองให้เกิดโรค ยาก็สำคัญ ถ้าไม่มีเงินจากอ.อบายมุขก็อด หลายๆอย่าง  หรือกินอ.อาหาร ได้อ.อากาศไม่ดี เกิดโรคได้เสมอ ก็ต้องใช้อ.โอสถ

 อ. อุบัติเหตุ หากไม่ระวังเกิดได้เสมอ ไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน

 อ. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคหรือกลัวเกิดโรคก็ไม่ออกกันมากมายบางคนไม่ออกก็ไม่เป็นอะไร

อ. อนามัย  ก็อยู่ที่แต่ละคนให้ความสำคัญแค่ไหน หากสกปรกก็มีแต่คนไม่ชอบ หรือกินอาหารไม่สะอาดก็เกิดโรค

 อ.อริยาบท อยู่ที่นิสัยคน แล้วแต่โอกาส สถานที่ คนเราจะมีกันอยู่แล้วเพียงแต่จะปฏิบัติหรือไม่เท่านั้น ต้อง รู้ตัวว่า วัยไหน ควรจะทำตัวเองได้แค่ไหน แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่ทราบหรือจำเป็นต้องทำเพราะไม่มีใครช่วย เช่น การยกของ ที่อาจทำให้เจ็บป่วย

 

ซึ่งแต่ละอ.ก็จะเชื่อมโยงกัน ก็ถือว่าทุกอ.สำคัญทั้งนั้น อยู่ที่แต่ละคนว่า จัดอ.ตัวไหนสำคัญกว่ากัน เพราะนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกันต่างความคิดที่จะให้ความสำคัญแต่ละอ.ก็ต้องต่างกัน

 

อ.ที่ 10 ต้อง "อ่าน"ให้หมดและทำความเข้าใจเอาไปทำด้วยถึงจะดีที่สุดครับ

ขอบคุณบันทึกพี่กานดาครับ

ผมไมได้แวะมาทักทายหลายเดือนแล้ว ...แวบไป กะแวบมาครับ แต่ก็ยัง อ.อ้วน อยู่ครับ

เชิญไปอ่านบันทึก

http://gotoknow.org/blog/supersup300/428473

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท