SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

ความเห็นและข้อเสนอทางกฎหมาย ในการให้ความคุ้มครองเด็กชายพล (เด็กชายอับดุลลา) รวมถึงเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย จากพ่อแม่ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (เด็กเกิดไทยตามม. 7 ทวิ วรรค 1 แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ฯ)


การผลักดันให้มีการออกและบังคับใช้กฎกระทรวง ตามม. 7 ทวิ วรรค 3 แห่งพรบ.สัญชาติ ฉ. 4 พ.ศ.2551 ที่จะกำหนดสถานะ และฐานะการอยู่ ที่ไม่ขัดต่อหลักสิทธิฯ รวมถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพัน ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี

ความเห็นและข้อเสนอทางกฎหมาย

ในการให้ความคุ้มครองเด็กชายพล (เด็กชายอับดุลลา) รวมถึงเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย

จากพ่อแม่ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (เด็กเกิดไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรค 1 แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2535)

------------------------------------------------
                  สืบเนื่องจากกรณีของเด็กชายพล หรือเด็กชายอับดุลลา ลูกของแรงงานข้ามชาติที่ถูกจับเมื่อวันที่ 20 ก.ค. และถูกควบคุมตัวที่ตม. และอาจถูกส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร จน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.), โครงการบางกอกคลินิค และสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ได้ประสานงานกับสภาทนายความ เพื่อทำความเข้าใจกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และดช.พล ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 27 ก.ค.
                
                 ทาง SWIT, มสพ. และโครงการบางกอกคลินิค เห็นว่า การแก้ไัขปัญหากรณีของเด็กชายพล ย่อมไม่เพียงพอ โดยเหตุการณ์ลักษณะนี้ ไม่ควรเกิดกับเด็กคนไหน ทีเ่กิดในเมืองไทย (เด็กตามม.7 ทวิ วรรค 1 แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ แก้ไขฉบับที่ 2  พ.ศ.2508 ) จึงนำมาสู่ความพยายามในการจัดทำ ความเห็นทางและข้อเสนอแนะทางกฎหมายต่อรัฐบาล
                คือ รัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดหลักกมระหว่างประเทศและกฎหมายไทยในการ, ต้องให้ความคุ้มครองแก่เด็ก ผ่านกลไกต่างๆ คือ อาทิ การกำหนดมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้สิทธิอาศัยลูกของแรงงานฯ ตามพ่อหรือแม่ ผู้ขึ้นทะเบียน, การผลักดันให้มีการออกและบังคับใช้กฎกระทรวง ตามม. 7 ทวิ วรรค 3 แห่งพรบ.สัญชาติ ฉ. 4 พ.ศ.2551 ที่จะกำหนดสถานะ และฐานะการอยู่ ที่ไม่ขัดต่อหลักสิทธิฯ รวมถึงการคุ้มครองสิทธิเด็กตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพัน ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี ฯลฯ
 
 
 
ดูเอกสารฉบับเต็ม

จม.ถึงนายกฯ ฉบับภาษาไทย
http://gotoknow.org/file/statelesswatch-swit/2552-08-03-Letter2PM-sec7bi1-TH.pdf
ความเห็นทางกฎหมาย ฉบับภาษาไทย
http://gotoknow.org/file/statelesswatch-swit/2552-08-03-Recommendation2PM-TH.pdf
 
 
จม.ถึงนายกฯ ฉบับภาษาอังกฤษ
http://gotoknow.org/file/statelesswatch-swit/2552-08-03-Letter2PM-sec7bi1-EN.pdf
ความเห็นทางกฎหมาย ฉบับภาษาอังกฤษ
http://gotoknow.org/file/statelesswatch-swit/2552-08-03-Recommendation-2-PM-EN.pdf
 
หมายเลขบันทึก: 325771เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท