คนตานี
saifuddeen Abu Ni-nasreen (سيف ألدين) ibn ni-umar ibn ni-kejik An-nuree

โครงการ ฮาลาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 2 ตอนที่ 2/ 2552


โครงการ ฮาลาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 2

 

โครงการ ฮาลาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 2

1. ชื่อโครงการ        โครงการ ฮาลาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่2

2. ลักษณะโครงการ            โครงการใหม่                 โครงการต่อเนื่อง 

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ      

 3.1 ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

 3.2 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล

4. ที่ปรึกษาโครงการ

                                    1. ดร.อิสมาอีลลุตฟี                        จะปะกียา

                                    2. นายมัสลัน                                   มาหะมะ

                                    3. นายซอและห์                              ตาเละ

                                    4. ดร.ซอบีเราะห์                            การียอ

                                    5. นายสมชาย                                  กุลคีรีรัตนา

 5. หลักการและเหตุผล

จากบริบทสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีวัฒนธรรมการอุปโภค บริโภคที่แตกต่างจากศาสนิกอื่น ศาสนาอิสลาม เน้นย้ำเรื่องการอุปโภค บริโภคต้อง ฮาลาล ( حلال / Halal) หมายถึง สิ่งที่อนุมัติตามบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งตรงข้ามกับฮารอม (حرام  / Harom)  หมายถึง สิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติอิสลาม และอาหารเพื่อการบริโภคนั้นมี 3 ประเภท คือ 1) อาหารฮาลาล หมายถึง อาหารที่อนุมัติ 2) อาหารหะรอม หมายถึง อาหารที่ไม่อนุมัติ 3) อาหารมัชบูฮฺ หรือ ชุบฮาต หมายถึง อาหารที่ยังมีข้อเคลือบแคลงหรือน่าสงสัย ที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าฮาลาลหรือฮารอม จนกว่าจะผ่านการตรวจสอบ พิสูจน์ และวินิจฉัย ซึ่งตามหลักการแล้วให้หลีกเลี่ยง

สภาพปัจจุบันการอุปโภค บริโภคของประชาชนใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน นิยมนั่งร้านอาหาร รับประทานอาหารจานเดี่ยว รวมถึงการจัดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่มากขึ้นจากผู้ประกอบการที่เป็นมุสลิม และต่างศาสนิก โดยขาดหลักในการพิจารณาในการบริโภค อุปโภค ตามหลักศาสนาอิสลามและคุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ที่ได้รับจากการอุปโภค บริโภค ซึ่งอัลลอฮฺได้กำชับต่อบรรดาผู้ศรัทธา ว่า

ความว่า “และจงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เครื่องยังชีพแก่สู่เจ้าซึ่งสิ่งที่อนุมัติและที่ดีมีประโยชน์และจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ผู้ซึ่งพวกเจ้าศรัทธาในพระองค์” (อัลมาอิดะฮฺ : 88)

ดังนั้น การบริโภคที่ฮาลาลและมีประโยชน์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง รวมถึงหลักสุขภาวะ โภชนาการที่ร่างกายเราต้องการ เพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่ามากที่สุด จากการบริโภคในแต่ละครั้ง แต่ปัญหาที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ การผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคซึ่งผลิตออกมาจำหน่ายจากแหล่งผลิตสินค้าที่หลากหลาย โดยผู้บริโภคไม่รู้แหล่งผลิตว่าได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักศาสนามากน้อยเพียงใด บางครั้งก็มีการแอบอ้างในเรื่องของตราสัญลักษณ์เพื่อให้เข้าใจว่าสินค้านั้น ได้รับการรับรอง แต่ความเป็นจริงแล้วอาหารนั้นไม่ได้รับการับรอง ทำให้สิ่งที่เราบริโภคที่คิดว่าปลอดภัยกล ับกลายมาเป็นโทษ

จากการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มผู้บริโภค มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เช่นเดียวกับกระบวนการการแปรรูปอาหาร และการสังเคราะห์หรือการนำมาซึ่งส่วนผสมต่างๆ ที่ผสมในอาหารในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเนื่องจากความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบชนิดและที่มาของวัตถุดิบที่นำมาสังเคราะห์เป็นส่วนผสมในอาหาร หากประชาชนกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ไม่ได้รับความรู้ข่าวสารใหม่จากผู้เชี่ยวชาญ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าอาหารที่ตนเองกำลังจะบริโภคนั้น ได้มาจากส่วนผสมที่ฮาลาล หรือฮารอม ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และเพื่อนำเสนอพัฒนาการของส่วนผสมอาหารชนิดใหม่ที่มีในปัจจุบันและใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ร่วมกับชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล จึงเห็นควรจัดโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในครั้งนี้ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการฮาลาลไทยใครจะคุ้มครองซึ่งได้จัดโครงการในปีการศึกษาพ.ศ.2551ที่ผ่านมา เพื่อจะได้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของเครือข่ายนักศึกษา นักวิชาการและผู้ประกอบการทางด้านสินค้าฮาลาลในสังคมไทย และเพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้เข้าร่วมโครงการในการเลือกสินค้าอุปโภค บริโภค   ที่ฮาลาลมาใช้ในชีวิตประจำวัน

 6. วัตถุประสงค์ของโครงการ 

6.1 เพื่อสร้างความตระหนักในการเลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ฮาลาล

6.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้จากโครงการมาใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปเผยแพร่แก่บุคคลภายนอกได้ 

6.3 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของเครือข่ายนักศึกษา นักวิชาการและผู้ประกอบการทางด้านอาหาร    ฮาลาลในสังคมไทย

6.4 เพื่อจัดแสดงสินค้าที่ฮาลาลให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 

 7. ระยะเวลาดำเนินงาน

วัน อาทิตย์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553

8. สถานที่ปฏิบัติงาน

หอประชุมวันมูหะมัดนอร์  มะทา ห้องประชุม อาคารคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์และห้องประชุม คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. นายสุไลมาน               หะยีสะเอะ           ประธานโครงการ
  2. นายอนุวัตร                  วอลี                        ประธานฝ่ายวิชาการ
  3. นายซูไฮมิน                 เจ๊ะมะลี                 ประธานฝ่ายต้อนรับ
  4. นายอิสมาอีล               หะยีเต๊ะ                 ประธานฝ่ายเทคนิค
  5. นายอิรฟัน                   มะแซสาอิ             ประธานฝ่ายสถานที่
  6. นางนัจญ์มีย์                สะอะ                     ประธานฝ่ายสวัสดิการ
  7. นายรอมสรรค์             เศะ                         ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
  8. นายนุมาน                   สะอะ                     ประธานฝ่ายจัดหาทุน
  9. นางสาวรอปีอ๊ะ          กือจิ                        ประธานฝ่ายทะเบียนและประเมินผล
  10. นายอัมพร                    มนมิตร                  ประธานฝ่ายเลขานุการและเหรัญญิก

 10. ขั้นตอน/แผนการดำเนินงาน

                ลำดับที่

กิจกรรม 

เดือน 

มิถุนายน

กรกฎาคม 

สิงหาคม 

กันยายน 

ตุลาคม 

พฤศจิกายน 

ธันวาคม 

มกราคม 

กุมภาพันธ์ 

มีนาคม 

เมษายน 

พฤษภาคม 

1 

ประชุมวางแผนโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2 

ร่างโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3

ขออนุมัติโครงการ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4

เตรียมงาน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5

ดำเนินโครงการ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6

สรุปผลโครงการ บรรยายสรุปและขยายผลการดำเนินงานโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 11. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ

11.1 บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ        จำนวน   30   คน

11.2 เครือข่ายนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาและผู้สนใจ      จำนวน   260  คน

11.3 นักวิชาการและผู้ประกอบการ      จำนวน   50   คน

11.4 บุคคลทั่วไป       จำนวน  360   คน

รวมผู้เข้าร่วมโครงการ        จำนวน  700   คน

12. ลักษณะกิจกรรมในโครงการ

15.1 เวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้ประกอบการทางด้านอาหารฮาลาลในสังคมไทย

12.2 การจัดแสดงสินค้าที่ฮาลาล

12.3 การจัดนิทรรศการ

12.4 ทำ work shop ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

13.1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการเลือกสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ฮาลาล

13.2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้จากโครงการมาใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปเผยแพร่แก่บุคคลภายนอกได้

16.3 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของเครือข่ายนักศึกษา นักวิชาการและผู้ประกอบการทางด้านอาหารฮาลาลในสังคมไทย

 14.  การประเมินผล

14.1. แบบสอบถาม

14.2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

หมายเลขบันทึก: 324941เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2010 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท