brochill
วราวรรณ จันทรนุวงศ์(ศิริอุเทน)

The Nature of Inquiry


ธรรมชาติของการหาความจริงของมนุษย์

The Nature of Inquiry – Setting the field

ธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้ความจริงของมนุษย์

………………….

แปลและเรียบเรียงจาก 

Cohen L., Manion L., and Morrison K.(2007). Research Methods in Education.

New York: Routledge. 5 - 48.

......................

วราวรรณ  จันทรนุวงศ์

......................... 

มีการอธิบายถึงบริบทของการวิจัยทางการศึกษาที่นอกเหนือไปจากการพิสูจน์หาความจริงจากการใช้ประสาทสัมผัส และสังเกตเห็น (empirical research) โดยจะมุ่งประเด็นไปที่

- วิธีการได้มาซึ่งความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ (scientific methodology) กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (positivistic methodology )

- วิธีการธรรมชาติวิทยา (naturalistic methodology) และวิธีเชิงตีความ (interpretive methodology)

- วิธีวิจัยที่มาจากทฤษฎีวิพากษ์ (critical theory)

- การจัดการศึกษาวิจัยเชิงสตรีนิยม (feminist research)

ซึ่งในการวิเคราะห์แต่ละประเด็นนั้นจะต้องคำนึงถึงข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวความรู้ความจริงที่เกิดขึ้น(ภววิทยา(ontology)) โดยตัวความรู้มีลักษณะหน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธี และความสมเหตุสมผลของความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้หรือผู้แสวงหาความรู้กับความรู้ความจริงนั้น (ญาณวิทยา (epistemology)) ซึ่งจะต้องอาศัยและพิจารณาจากวิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้น (methodology) โดยการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับญาณปรัชญาของแต่ละบุคคล อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ และความเข้าใจที่แต่ละบุคคลกำหนดขึ้น (Hitchcock and Hughes, 1995) 

The search for truth

                ธรรมชาติของความเข้าใจของบุคคลในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ การใช้ประสบการณ์ (experience) การใช้เหตุผล (reasoning) และ การทำวิจัย (research) (Mouly, 1978) อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้อาจไปด้วยกันและเหลื่อมกันอยู่ จนกลายเป็นองค์รวม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                - การใช้ประสบการณ์ (experience) บุคคลทั่วไปพยายามที่จะทำความเข้าใจในปัญหาหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยใช้ประสบการณ์ (experience) และความสามารถในการเรียนรู้ (authority) ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกรอบประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งกรอบประสบการณ์นี้เกิดจากการรู้สามัญสำนึก (common-sense knowing) ที่เกิดขึ้นทันที และแสดงออกอย่างรวดเร็วเมื่อประสบกับปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อเจอสิ่งใหม่ที่ไม่เคยพบเห็น ต้องใช้ความรู้อื่นมาพิจารณา บุคคลทั่วไปจะเกิดความลังเล สับสน และขาดการพิจารณา เมื่อต้องรีบตัดสินใจ จะเลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมหรือลางสังหรณ์ที่เกิดขึ้นในจิต โดยมองข้ามสิ่งสำคัญอย่างอื่นไป ส่วนนักวิทยาศาสตร์จะแตกต่างออกไป เขาจะพยายามสร้างทฤษฎีด้วยความระมัดระวังและเป็นระเบียบ แบบแผน ค่อยๆ ทดสอบสมมติฐานจากการสังเกตและทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า นี่คือคุณสมบัติของเจตคติเกี่ยวกับประสบการณ์ (experience) ที่ความแตกต่างระหว่างบุคคลทั่วไปกับนักวิทยาศาสตร์ เมื่อต้องอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น บุคคลทั่วไปจะไม่สนใจที่จะควบคุมปัจจัยภายนอก สนใจแต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจตน แต่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจอย่างยิ่งกับทุกสิ่งรอบๆ ตัว และตระหนักว่ามีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์นั้นๆ ดังนั้นเทคนิคและวิธีการต่างๆ จะต้องเป็นกลางและมีหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน 

                อีกประการหนึ่งที่แตกต่างคือการมองความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น บุคคลทั่วไปพิจารณาเพียงความสัมพันธ์ที่หลวมๆ ไม่เป็นระบบ และไม่มีการควบคุม เมื่อเปลี่ยนเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกันมากๆ จะมองเห็นว่าเหมือนกันและแยกแยะไม่ได้ ส่วนนักวิทยาศาสตร์จะต้องพยายามพิจารณาอย่างเข้มข้น เคร่งครัด กวดขัน ในการทดสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ปรากฏการณ์นั้น

- การใช้เหตุผล (reasoning) บุคคลมีการใช้เหตุผล ทั้งที่เป็นนิรนัย (deductive reasoning) อุปนัย (inductive reasoning) และ แบบผสม (inductive-deductive approach) การใช้เหตุผลแบบวิธีนิรนัย (deductive reasoning) นั้นอยู่บนพื้นฐานของตรรกะ โดยอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ที่อธิบายว่า “วิธีการใช้เหตุผลเริ่มด้วยการกำหนดข้อหลัก (major premise)ซึ่งอยู่บนพื้นฐานหรือข้อความนัยทั่วไปที่สามารถอธิบายด้วยตัวของมันเอง เพื่อใช้ถอดแบบไปเป็นข้อเสนอย่อยๆ (minor premise) แล้วค่อยได้ข้อสรุป (conclusion) เช่น

ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์

โลกเป็นดาวเคราะห์

ดังนั้นโลกจึงโคจรรอบดวงอาทิตย์

ข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานของตรรกะนี้ส่งผลต่อเนื่องในระดับของตรรกะ จากเหตุผลหลักไปยังเหตุผลย่อย ไปยังข้อสรุปที่เป็นเหตุเป็นผล แต่มีข้อจำกัดในการใช้เหตุผลแบบนิรนัยนี้คือถ้าข้อความหลักไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้การนิรนัยไม่ถูกต้อง ใช้ได้กับบางสถานการณ์หรือบางเวลาเท่านั้น และเป็นการเริ่มต้นเกิดยุค Renaissance ที่ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือน้อยลงเนื่องจากไม่เชื่อมโยงกับการสังเกต ประสบการณ์และการใช้ประสาทสัมผัสในการใช้เหตุผล

ประวัติการใช้เหตุผลเมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อน Francis Bacon วิพากษ์ถึงการใช้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive reasoning) ว่าเมื่อข้อมูลหลักเป็นการนึกคิดเอาเอง ทำให้ข้อสรุปบิดเบือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจึงเสนอแนวคิดการใช้เหตุผลที่เรียกว่า อุปนัย (inductive reasoning) เป็นวิธีการใช้เหตุผลจากการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก่อนแล้วค่อยนำไปสู่การตั้งสมมติฐานและข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ในที่สุด ซึ่ง Mouly (1978) อธิบายว่าวิธีการนี้จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ ไม่ใช่ข้อมูลที่นึกขึ้นเอง แต่จะต้องมีความหมายลึกซึ้ง มีความสำคัญ มีการเชื่อมโยงกัน แล้วสรุปเป็นกฎโดยผู้สังเกต Francis Bacon ให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical evidence) เพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูล แหล่งความรู้ต่างๆ ไม่ใช่ข้อสรุป แต่เป็นข้อมูลที่นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

จากวิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย (inductive reasoning) ของ Francis Bacon นำไปสู่การใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัย (inductive-deductive approach) โดยรวมเอาวิธีนิรนัย (deductive reasoning) ของอริสโตเติล (Aristotle) และวิธีอุปนัย (inductive reasoning) ของ Francis Bacon มาใช้ร่วมกัน เพื่อทดสอบความถูกต้อง จากการสังเกตสู่การตั้งสมมติฐาน และจากการตั้งสมมติฐานสู่ข้อสรุป อันเป็นการตรวจสอบและยืนยันอย่างเข้มงวดซึ่งกันและกัน และถ้าจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ก็ต้องปรับ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แน่นอนยิ่งขึ้น

- การทำวิจัย (research) ในการหาความรู้ของบุคคลอีกอย่างที่สำคัญคือการทำวิจัย ซึ่งอธิบายโดย Kerlinger (1970) ว่าวิธีการนี้มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบ มีการกำกับควบคุม มีหลักฐานเชิงประจักษ์และศึกษาสืบค้นวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นจริงของปรากฏการณ์นั้น การวิจัยจึงมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. การทำวิจัยที่เป็นระบบและมีการกำกับควบคุม (systematic and controlled) ที่ได้ข้อมูลจากแนวคิดและประสบการณ์ที่ยังไม่เป็นระบบแบบแผน แล้วทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามการอุปนัย-นิรนัย (inductive-deductive model)

2. การทำวิจัยที่เป็นเชิงประจักษ์ (empirical) เป็นวิธีการของนักวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร ทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ความเชื่อส่วนบุคคลมีผลต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และการทดสอบต่างๆ

3. การวิจัยที่เป็นการเก็บข้อมูลด้วยตนเองระยะยาว (self-correcting) ซึ่งไม่ใช่เพียงการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นการฝังตัวอยู่ในบริบทนั้นแต่สามารถตรวจสอบได้

การวิจัยทางการศึกษา จึงเป็นการศึกษาทางด้านสังคมวิทยา (social science) ที่ต้องมีทั้งการสร้างความรู้ขึ้นใหม่ การมองทิศทางการวิจัย การตีความ อื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งทฤษฎีวิพากษ์ ทฤษฎีความเสมอภาคทางเพศ และทฤษฎีองค์รวม เนื่องจากเป็นการอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความแตกต่างของบุคคล และปรากฏการณ์ธรรมชาติ 

Two conceptions of social reality

                ในความเป็นจริงของสังคมโลก สามารถแบ่งแนวทางการวิจัยออกเป็น 2 แนวทาง ตามการวิเคราะห์ข้อตกลงเบื้องต้น คือ เชิงปริมาณ (objectivist)หรือ Positivism และเชิงคุณภาพ (subjectivist)หรือ Interpretive โดยพิจารณาใน 4 องค์ประกอบของข้อตกลงเบื้องต้น (Morgan, 1979) คือ

                1. ภววิทยา (Ontology) พิจารณาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้/ความจริงคืออะไร ที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ เชิงสังคม ว่าความรู้นั้นคืออะไร “what” ถ้าเชิงปริมาณได้ข้อมูลจากการสังเกต ทดลอง เกิดอะไรขึ้นมีลักษณะเป็น Realism  ถ้าเป็นเชิงคุณภาพจะเป็นความรู้ที่เกิดขึ้น มองเห็นขณะนั้นเวลานั้นมีลักษณะเป็น Norminalism  

                2. ญาณวิทยา (Epistemology) พิจารณาสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานความรู้นั้นว่าได้มาอย่างไร ผู้แสวงหาความรู้กับความรู้นั้นสัมพันธ์กันอย่างไร จะสื่อถึงบุคคลอื่นได้อย่างไร มีรูปแบบอย่างไร เป็นความรู้ของพฤติกรรมเชิงสังคมอย่างไร บุคคลมีวิธีมองความรู้ของสังคมอย่างไร นักวิจัยศึกษาสังเกตเชิงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ความรู้ของบุคคล การสังเกตและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และเป็นลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตามยังต้องใช้การศึกษาและสังเกตเชิงปริมาณ ถ้าเป็นเชิงปริมาณต้องมีหลักฐานประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจนหรือ Positivism ถ้าเป็นเชิงคุณภาพจะเป็นการสังเกตธรรมชาติของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือ Anti-positivism

                3. ธรรมชาติของบุคคล (Human nature) พิจารณาธรรมชาติของบุคคล ในลักษณะเฉพาะเจาะจง เชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมชองบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ต้องใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ถ้าเป็นเชิงปริมาณเชื่อว่าธรรมชาติของบุคคลคืออะไร บุคคลถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อมมีลักษณะเป็น Determinism  ถ้าเป็นเชิงคุณภาพ พฤติกรรมของบุคคลขึ้นอยู่กับธรรมเนียม ประเพณี นิสัย อคติ ความรู้สึกภายในของบุคคลมีลักษณะเป็น Voluntarism  

                4. วิธีวิทยา (Methodology) พิจารณาวิธีการแสวงหาความรู้ว่าจะมีวิธีการอย่างไร เชิงปริมาณต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน บัญญัติกฎขึ้น อธิบายกฎจากปรากฏการณ์มีลักษณะเป็น Nomothetic  เชิงคุณภาพจะระบุเป็นเฉพาะเรื่อง เฉพาะบุคคล เฉพาะเหตุการณ์ ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมและสร้างความหมายนั้น (personal construct)มีลักษณะเป็น Idiographic

                ดังนั้นในการที่จะทำวิจัยจึงต้องแล้วแต่มุมมองของบุคคลว่าจะยึดทิศทางใดหรือกรอบใด หรือกระบวนทัศน์(paradigm) ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆ 

Positivism

                Auguste Comte นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเชื่อว่า อะไรก็ตามที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงจะน่าเชื่อถือ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้จะไม่น่าเชื่อถือ เน้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องมือ และหลักเหตุผล (Beck, 1979)

The assumptions and nature of science

                ข้อตกลงเบื้องต้นและธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันประกอบด้วย  4 ประการดังนี้

                1. คำนึงถึงข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (determinism)

                2. วิธีการที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์หรือการสังเกตปรากฏการณ์ (empiricism)

                3. การรวมหลายๆ เข้าไว้ด้วยกัน (parsimony)

                4. ต้องเป็นหลักการทั่วไปที่เป็นกฎเกณฑ์ของคนส่วนใหญ่ หรือการได้รับการยอมรับของคนส่วนใหญ่ (generality) และยังต้องเสถียรและสมดุล (kerlinger, 1970)   

A  question of terminology : the  normative and interpretive  paradigm

                มีคำถามเกี่ยวกับ normative และ interpretive paradigms คืออย่างไร โดยมีการอธิบายไว้ดังนี้ (Douglas, 1973)

1. แนวคิดเกี่ยวกับ normative  มีลักษณะที่พฤติกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กฎและหลักการเป็นไปอย่างไร  เมื่อมีสาเหตุก็แสดงว่าต้องใช้วิธีการที่จะใช้ในการหาสิ่งเหล่านั้นซึ่งก็คือใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์จะมีพฤติกรรมอะไร มันมีสาเหตุมีรูปแบบ เราจึงต้องไปหารูปแบบดังกล่าวอย่างมีแบบแผน มีรูปแบบ จึงใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ส่วนแนวคิดทางด้าน interpretive  ให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวบุคล ( individual )

จึงทำให้แนวคิดของ normative เป็นแนวคิดในกลุ่มของ Positivism  ส่วน interpretive เป็นแนวคิดในกลุ่ม anti- positivist โดยที่กลุ่มนี้พยายามที่จะเข้าในตัวบุคคลของแต่ละบุคคล ในลักษณะ subjective หรือประสบการณ์เฉพาะบุคคล  

2. แนวคิดที่แตกต่างจึงทำให้เกิดความแตกต่างระหว่าง 2 paradigm  ในประเด็น ดังนี้

-          พฤติกรรม (behavior) และการกระทำ (action) ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า

-          ทฤษฎี (theory)

ด้านพฤติกรรม (behavior) และการกระทำ (action) ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยทั้ง 2 paradigm   มีแนวคิดที่แตกต่างกันคือ Normative   มองพฤติกรรม ว่าเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและภายใน โดยมีสาเหตุ ที่เป็นลักษณะอะไรก็ตามที่เป็นสาเหตุจะเกิดขึ้นก่อน จึงมีผลเกิดตามมาทีหลัง นั่นแสดงว่า สิ่งเร้า เป็นสาเหตุทำให้แสดงพฤติกรรมออกมา แต่ในขณะที่ interpretive เน้นไปที่การกระทำโดยแสดงแนวคิดว่าการที่มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมอะไร มันมีความหมายในตัวเองและพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากความตั้งใจ เพราะการที่เราจะทำอะไร มันมีเป้าหมายที่มุ่งหวังไว้เพื่อต้องการให้ไปถึงตรงนั้นให้ได้  

ส่วนในเทอมของทฤษฎี(theory)  นักวิจัยกลุ่ม normative มีความพยายามที่จะหาทฤษฎีทั่วๆ ไปที่แสดงออกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ โดยใช้วิธีวิทยาวิจัย ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และนักวิจัยกลุ่มนี้มองไปไกลกว่าโลกปัจจุบัน แต่เข้าไปสู่โลกของนามธรรม โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้ Universal Theory  ซึ่งหมายถึงทฤษฎีสั้นๆ แต่อธิบายยาวๆ ที่เป็นทฤษฎีที่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ ส่วนนักวิจัยทางกลุ่มของ Interpretive  พยายามที่จะทำความเข้าใจในตัวบุคคลแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร  แสดงออกแบบนี้เพราะอะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ในเชิงของ interpretive จึงเป็นไปในเรื่องของ  grounded

                จากการศึกษาความแตกต่างมองในสิ่งที่ศึกษาแตกต่างกันจึงทำให้มีความแตกต่างของ 2 paradigm เกิดขึ้นทั้งในส่วนของแนวคิดและวิธีการ 

Phenomenology  , ethnomethodology and symbolic  interactionism

สำหรับการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และธรรมชาติวิทยานั้น (Jacob, 1987; Hitchcock and Hughes,1995) มุ่งอธิบายใน 3 ปรากฏการณ์ คือ งานวิจัยเชิงปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology)   งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ethnomethodology) และ งานวิจัยเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงออก (symbolic  interactionism) โดยที่แต่ละแนวคิดพอจะสรุปได้ดังนี้

1.  งานวิจัยเชิงปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology)  จะเป็นการศึกษาโดยพิจารณาที่ประสบการณ์ตรง มีอยู่ 2 ลักษณะคือปรากฏการณ์ที่อยู่นอกตัวบุคคล (Transcendental) และปรากฏการณ์ที่อยู่ในตัวบุคคล (existential) 

2.  งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ethnomethodology)   จะเป็นการศึกษาโดยพยายามที่จะค้น ทำความเข้าใจสังคม เป็นวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณนา โดยศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาษาในการสื่อสารของมนุษย์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันภายในสังคม  ภาษาจึงเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เกี่ยวข้องว่ามันเกี่ยวกันอย่างไร และผลสะท้อน ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม  ขึ้นอยู่กับภาษา  ว่าเขาสร้างความหมายในโลกประจำวันอย่างไร

3.  งานวิจัยเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงออก (symbolic  interactionism) และสถานการณ์ เน้นพิจารณาการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์จากการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารกับสังคม ดังนั้นนักวิจัยกลุ่มนี้จึงใช้วิธีการวิเคราะห์ภาษา  การสื่อสาร  ว่าสิ่งที่เขาสร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดูว่าแต่ละคนเขาแสดงบทบาทอย่างไร  มีการแสดงบทบาทอย่างไรในขณะที่อยู่ในสังคม เป็นลักษณะของ Individual  construct  โดยศึกษาทีละคนว่าเขาแสดงพฤติกรรมหรือ representation อย่างไร โดยมนุษย์จะสร้างความหมายที่แสดงออกมาทางพฤติกรรมที่ผู้วิจัยจะต้องทำการตีความว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาต้องการสื่อความหมายอะไรและอย่างไร ซึ่งการดูจะดูไปที่การมีปฏิสัมพันธ์ว่าระหว่างบุคคลเขาแสดงบทบาทอย่างไร

 มีข้อคิด ว่าการวิจัยแบบนี้มันเชื่อถือได้มากแค่ไหน เพราะนักวิจัยจะเป็นผู้ตีความหมายจากพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา ซึ่งเป็นกลุ่มของการวิจัยเชิงคุณภาพ  แต่ถ้าผู้วิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการทางด้านนี้ก็พอที่จะยอมรับได้แต่ถ้าเป็นนักวิจัยหน้าใหม่จะเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการค่อนข้างยาก  

Criticism  of  naturalistic  and  interpretive  approach

                มีการวิพากษ์เกี่ยวกับแนวทางทางด้าน naturalistic และ interpretive ดังนี้ (Mead, 1934)

                กรณีของ interpretive หรือที่อยู่ในกลุ่มของ anti- positivism ถูกวิพากษ์ว่าเป็นกลุ่มที่ทิ้งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือไม่สนใจวิธีการทางวิทยาศาสตร์เลย และไม่สนใจการหา

Generalization  ซึ่งต่างจากแนวคิดของกลุ่มพวก  Positivism  ที่แนวคิดว่าสักวันหนึ่งเราหวังว่าจะเจอ universal  theory เขาจึงวิพากษ์ว่าการศึกษาหาความรู้ทางด้าน subjective  มันอาจจะยังไม่สมบูรณ์และอาจเกิดการนำทางผิดก็ได้ โดยทำการวิพากษ์ในส่วนของ Phenomenology และ

ethnomethodology  เนื่องจากการที่คนเราจะตีความอะไรมันเป็นผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยด้วยเนื่องจากตัวผู้วิจัยต้องเข้าไปอยู่ตรงนั้นด้วยมันย่อมมีอิทธิพลต่อสิ่งที่ทำการศึกษา ซึ่งสามารถสรุปเกี่ยวกับลักษณะของผู้วิจัยทั้ง 2 แนวคิดด้วยคือ 

                1.  ถ้านักวิจัยเป็นคนสังเกตการณ์ จะเป็นแนวคิดในกลุ่มของ Positivism

                2.  ถ้านักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในปรากฏการณ์ จะเป็นแนวคิดในกลุ่มของ  anti-Positivism

ซึ่งจากตรงนี้เป็นผลทำให้เกิดการวิพากษ์ว่า เนื่องจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตัวผู้วิจัยได้เข้าไปอยู่ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมันอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้  แต่ถ้าเราได้เข้าไปอยู่ในปรากฏการณ์นาน ๆ หรือในทุกๆ วันจนเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นั้นๆ จนเขาลืมไปว่ามีผู้วิจัยอยู่ก็อาจจะพอยอมรับได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนาน เป็นอย่างมาก และบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกมันก็อาจจะไม่เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างแท้จริงก็ได้  และมีการวิพากษ์อีกว่า แนวคิดของ 2 กลุ่มมีลักษณะดังนี้

  1. Positivism  กลุ่มนี้มีการศึกษาในขอบเขตที่มีขนาดใหญ่เกินไป (macro  sociological 

persuasion)

2.    anti-Positivism กลุ่มนี้มีการศึกษาในขอบเขตที่มีขนาดเล็กเกินไป (micro sociological Perspective)

จากการวิพากษ์ของแนวคิดทั้ง  2 แนวคิดดังกล่าว  พยายามที่จะเข้าใจในปรากฏการณ์ของสังคม แต่มองผ่านแว่นตาคนละเลนส์  เช่น

                -  positivism  พยายามที่จะหา กฎ ทฤษฎี ที่เป็นรูปแบบ  ที่มีแบบแผน  ควบคุมได้ เข้าใจในเชิงเหตุผล

                - interpretive  พยามยามที่เข้าใจในเชิงของโลกว่าเข้าใจพฤติกรรมของเขาเป็นอย่างไร เน้นการให้ความหมายแก่สิ่งๆ นั้นที่คนๆนั้นแสดงออกมา 

Critical  theory  and  critical  education  research

                 Critical  theory  มองว่าทั้ง 2  paradigm  นี้ไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่สนใจใน political และ ideological (Habermas, 1984; Giddens, 1976) โดยมองว่ากลุ่มของ Positivism ที่มองว่าครอบครอง technical  knowledge ส่วน interpretive  ครอบครอง hermeneutic  knowledge ทางด้าน Critical  theory  เป็นแนวคิดที่มาจากสังคมประชาธิปไตยที่มองว่าพฤติกรรมของคนในสังคมประชาธิปไตยต้องมีความเสมอภาค  ไม่ใช่แค่เพียงการเข้าใจปรากฏการณ์ของคนเท่านั้น  ต้องพยายามเปลี่ยนให้คนในสังคมเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยต้องทำให้เขามีพลังอำนาจในการทำงานในการตัดสินใจไม่ใช่แค่เข้าใจ  และการนำ Critical  theory  มาใช้ในวงการศึกษา คือต้องทำให้นักเรียนมีความเท่าเทียมกัน โดยที่เด็กทุกคนจะต้องบรรลุเป้าหมายที่วางไว้เหมือนกัน  โดย Critical  theory  มองว่าเป็นการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ เพราะเนื่องจากการวิจัยของ 2 paradigm มีคำถามว่าเมื่อศึกษาความรู้ได้แล้วมันจะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จึงเกิดแนวคิดการวิจัยทางด้าน Action research  ที่เน้นคำถามวิจัยที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นจากการศึกษามาถึง ณ ตรงนี้มีอยู่ 3 แนวคิด (Habermas, 1972) ได้แก่

                1.  positivism  เน้น Prediction  and  control

                2.  anti -  positivism  เน้น  understanding  and  interpretation

                3.  critical  theory  เน้น  emancipation  and  freedom

Critical  theory  เสนอแนะขั้นตอนในการทำวิจัย (Habermas, 1972) ดังนี้

Stage 1 ;  ทำการ interpretive  ก่อน

Stage 2 ;  หา  cause  and  purpose  of  situation

Stage 3 ;  ถ้าจะเปลี่ยนจะเปลี่ยนอย่างไร

Stage 4 ;  ประเมินผลจะทำอย่างไร

 Critical  theory  มีจุดมุ่งหมาย 4  อย่าง (Smyth, 1989) ดังนี้

-  description (What  am I doing?)

-  information (What  dose  it  mean?)

-  confrontation(how did I come to be like this ?)

- reconstruction (how  might  I  do  things  differently) 

Criticisms  of  approaches  form critical theory

                Morrison  (1995a) วิพากษ์ว่ายังไม่ค่อยชัดเจน  มันพิสูจน์ยังไม่ได้  และยังไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผลเท่าใดนัก  มองว่างานของนักวิจัยไม่ใช่เป็นคนที่ต้องลงไปทำถึงขึ้นตอนของการเปลี่ยนแปลง  เพราะนักวิจัยทำแค่หาความรู้ ทำไมจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ political ด้วย

 Critical  theory  and  curriculum  research

                ถ้ามองในเชิงของการนำ Critical  theory  นำมาใช้ในการวิจัยทางด้านหลักสูตร ซึ่งพบว่า มันยังเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงเกินไป  กำหนดไว้ล่วงหน้า  ยังเป็นปัญหาอยู่  เนื่องจากผลที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เขาวิพากษ์ว่ามันยังเป็นระบบปิดอยู่ เพราะการศึกษางานวิจัยทางด้านหลักสูตรนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ต้องมีความยืดหยุ่นได้ และในการเลือกเนื้อหาของหลักสูตรนั้นก็เป็นเพียงการเลือกจากเนื้อหาที่มีมากมาย โดยเลือกเฉพาะที่คิดว่ามันมีประโยชน์  เป็นการเลือกจากความคิดของคนในสังคม  ดังนั้นการเลือกหลักสูตรไม่ได้มองว่าความรู้เรื่องใดสำคัญ (Tyler, 1949)  แต่มันอยู่ที่ใครเป็นคนเลือก ครูคนไหนมีอำนาจในการเลือก จึงก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน  การทำวิจัยทางด้านสังคมวิทยาของความรู้ ตัวหลักสูตรน่าจะสามารถอธิบายแนวคิด การตัดสินใจในสังคมนำไปสู่การสร้างหลักสูตร หลักสูตรต้องมาจากความรู้ที่สามารถสร้างขึ้นได้ 

 The  emerging  paradigm  of  complexity  theory

                ในการมองโลกที่เป็นวิถีทางแบบดูทั้ง3 มิติ รอบด้าน(Morrison, 2002a)  ดูทั้งหมดไม่ใช่ในลักษณะของสมการเส้นตรง  เป็นรูปแบบที่หลากหลาย  มองความรู้เป็นลักษณะองค์รวม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ภายในมันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน(Santonus, 1998) ได้แก่  feedback , recursion,  emergence, connectedness and  self – organization  ซึ่งมองในลักษณะของทฤษฎีไร้ระเบียบของ Chaos  ที่เป็นทฤษฎีไร้ระเบียบมองว่าโลกนี้สิ่งต่าง ๆ มันมีความเกี่ยวข้องกัน ไม่เป็นระเบียบ  งานวิจัยทางการศึกษา ต้องมองปรากฏการณ์ของสังคมเป็นแบบองค์รวม โดยทำการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างกรณีของงานวิจัยแบบ SLM ที่ทำการศึกษาโดยรวมทั้งตัวบุคคล  ชั้นเรียน  โรงเรียน ชุมชน  ประเทศ เป็นต้น โดยจะต้องมีการเชื่อมโยงระหว่าง  Macro – micro  research  เข้าด้วยกัน แนะนำวิธีวิจัยได้แก่  Case study  , action   research  ,  participatory  form  of   research  ต้องใช้เชิงคุณภาพทั้งหมด โดยพยายามดูรอบด้าน รวมถึง  งานวิจัยทางด้าน outside  research  ต้องร่วมมือกันทุกส่วนไม่ได้เป็นการผสมผสานเชิงเส้นตรง ต้องมองในลักษณะของสิ่งมีชีวิต  ในการศึกษาคนมันต้องเป็นลักษณะของ Network  และเชื่อมโยงกัน  เพราะไม่มีทางเลยที่จะเชื่อว่าการที่มีสาเหตุหนึ่งแล้วจะทำให้เกิดผลอย่างหนึ่งเท่านั้น  หรือผลที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้น  เป็นไปไม่ได้มันต้องเป็น แบบ complexity  theory  ซึ่งจะเป็นการรวมทุกอย่าง  เนื่องจากงานวิจัยที่ผ่านมามันยังตอบอะไรไม่ได้ต้องเอาทุกๆ อย่างรวมเข้าด้วยกัน  ต้องเป็นนักวิจัยแบบ  ภายใน ภายนอกและแบบเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งลักษณะของการวิจัยจะเป็นแบบมีประเด็นตั้งเอาไว้แล้วนักวิจัยเข้ามามีส่วนร่วมในการหาคำตอบจากหลากหลายสาขา 

Feminist  research

                งานวิจัยเชิงสตรีนิยม (Feminist  research) (Usher, 1996) มาจากทางด้าน  Critical  theory  เนื่องจากในการศึกษาพบว่าเพศมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีงานวิจัยทางด้านการศึกษาที่ยืนยันว่าเพศที่แตกต่างกันมีผลการเรียนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเพศชายจะเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ดีกว่าเพศหญิง ซึ่งในทางสมองก็ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นไปอย่างนั้นจริง ๆ เนื่องจากเพศชายและหญิงซึ่งเพศชายมีการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลต่อการเรียนรู้   มีผลทำให้เพศชายมีการเรียนรู้ที่ดีกว่าเพศหญิงโดยเฉพาะในวิชาฟิสิกส์ 

Research  and  evaluation

                Research  กับ  politic   มีความเกี่ยวข้องกัน  เพราะเวลาจะทำการวิจัยอะไร เราต้องได้ทุนที่มาจาก politic  ที่เขาให้เงินทุนทำวิจัยในทิศทางตามที่เขาต้องการ   ส่วน evaluation  ใช้ในการประเมินโครงการ และการที่คนเราจะประเมินอะไรที่ทำให้น่าเชื่อถือได้ ก็จะต้องทำอยู่ในรูปของวิจัย เป็นการวิจัยประเมินโครงการ มีงานวิจัยทางด้านนี้ออกมามาก (Burgess, 1993) จะเห็นได้จากมีสาขาวิชาทางด้าน  evaluation  research  หรือ  applied  research  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เพราะต่างก็ใช้ methodology   กับ  social   science reader  โดยมีวิธีการดังนี้

                1. ต้องการสืบค้นอะไร

                2.  กำหนดจุดมุ่งหมายของการสืบค้น

                3. ออกแบบงานวิจัย

                    -  ต้องมีคำถามวิจัย

                    -  กำหนดวิธีการ

                    -  เลือกเครื่องมือ

                    -  ออกแบบกลุ่มตัวอย่างในการสืบค้น

                    -  พิจารณาความสัมพันธ์และความตรงในการสืบค้นและเครื่องมือในการวิจัยมีการแสดงความคิดเห็นว่า Research กับ evaluation มีความแตกต่างกัน 8 ข้อดังนี้

                1.  นักวิจัยต้องการทฤษฎี ในขณะที่นักประเมินไม่สนใจทฤษฎี

                2.  นักวิจัยมีขอบเขตเฉพาะเจาะจง  นักประเมินจะประเมินรอบด้าน

                3.  นักวิจัยเป็นกลางแต่นักประเมินไม่ค่อยเป็นกลาง 

                4.  การวิจัย เน้นการตอบคำถาม  แต่การประเมินเน้นตอบคำถามให้กับคนที่จะใช้ผลในการประเมิน

                5.  การวิจัยใช้ค้นหาความรู้ต่อไป แต่ การประเมินใช้เพื่อการตัดสินใจ

                6.  การวิจัยไม่กำหนดช่วงเวลา แต่การประเมินต้องกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน

                7.  การวิจัยดูที่ข้อความรู้ที่ได้ช่วยเพิ่มความรู้ในสาขามากแค่ไหน ส่วนการประเมินดูแค่ว่ามันน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

                8.  การวิจัยจะถูกกำหนดโดยสาขา ส่วนการประเมินจะถูกกำหนดโดยมีวาระกำหนดมา

 Research  , polotic  and  policy making

                Burgess (1993) อธิบายว่า การวิจัยเมื่อทำเสร็จแล้วต้องให้พวกทำนโยบายสนใจนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปอย่าใช้ภาษาที่เป็นวิชาการมาก และต้องให้นักการศึกษาในสาขามีส่วนช่วยในการพิจารณาจะทำให้งานมีคุณภาพและน่าเชื่อถือ  ซึ่งการทำวิจัยมีผลกระทบโดยตรงกับพฤติกรรม (behavior) และการกระทำ (action)

 Method  and  methodology

Method   เป็นวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิธีการนี้ก็จะใช้เป็นพื้นฐานใน

การศึกษา  เป็นเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาต่างๆ เช่น การสังเกต การมีส่วนร่วม การทดลอง ฯลฯ

                Methodology  เป็นระเบียบวิธีวิทยา  ได้แก่ งานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Kaplan,1973)

                เนื่องจากการเรียนรู้เรื่องนี้ มีมุมมองส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นทิศทางการวิจัยทางการศึกษาในปัจจุบัน เนื่องจากการวิจัยทางการศึกษาเป็นการวิจัยด้านสังคมวิทยา (social science) ซึ่งต้องการอธิบายพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกถึงการเรียนร

หมายเลขบันทึก: 324626เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2010 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท