ปัญหาของน้ำและการแก้ไขของคนในหมู่บ้านปางจำปี ในปัจจุปัน


สุดท้ายปัญหาทุกอย่างก็ถูกแก้ไข

         จากบล็อกที่แล้วที่เราได้พูดถึงปัญหาน้ำของหมู่บ้านปางจำปีในอดีต ในบล็อกนี้เราจะพูดถึงปัญหาและการแก้ไขเรื่องน้ำในปัจจุบัน

                 ในปัจจุบันชาวบ้านมีพื้นที่การเกษตรกันมากขึ้นจนเริ่มส่งผลกระทบกับการใช้น้ำ จึงได้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านและก็ตัวแทนของชาวบ้านเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์อันเก่า โดยได้มีการเพิ่มเติมคือ คนที่มีพื้นที่การเกษตรมากต้องทำการตกลงโดยการกำหนดวันที่จะใช้น้ำของแต่ละคน(เพื่อผลัดกันใช้น้ำคนละวันเพื่อให้น้ำเพียงพอ)และให้ใช้น้ำเฉพาะกลางคืนเท่านั้นแต่ว่าจะใช้ในปริมาณเท่าไรก็ได้ ส่วนปัญหาขยะในแหล่งน้ำในปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่แต่ว่ามีปริมาณน้อยลงกว่าอดีตมาก เพราะว่าชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนก็ยังคงเดินตรวจตาดูแลแหล่งน้ำเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียอีก

กิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำที่เพิ่มเติมจากอดีต

    

ฝายชะลอน้ำและดักขยะที่ทำจากหิน...

 

ฝายแม้วค่ะ...

 

ชาวบ้านได้ร่วมมือกันสร้างแนวกันไฟบนภูเขา ที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำเพื่อป้องกันไฟป่าไม่ให้ทำลายป่าไม้ ที่เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ และยังมีการสร้างฝายแม้วเพื่อชะลอน้ำ เพื่อลดความแรงของน้ำในช่วงหน้าฝน แล้วก็ไว้กักเก็บน้ำในช่วงหน้าแล้ง ฝายแม้วยังมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือช่วยดักตะกอนของน้ำไม่ให้ไหลเข้าไปในหมู่บ้าน จึงทำให้น้ำนั้นใสมาก

   จากความร่วมมือของคนในหมู่บ้านปางจำปี ในการรักษาแหล่งน้ำจนทำให้น้ำใสสะอาด และมีปริมาณที่เพียงพอกับการใช้ของคนในหมู่บ้านจึงทำให้ในปัจจุบันไม่เกิดปัญหาการแย่งน้ำกันอีกเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

 

                                                                 นางสาวพรภัทรา  ศิริพุฒ

คำสำคัญ (Tags): #บัวตอง
หมายเลขบันทึก: 324477เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2010 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกรณีที่น่าศึกษามาก อย่างน้อยก็สอดรับกับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่อาตมาได้ทำเสร็จแล้ว เรื่อง "รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่" ซึ่งผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งในลุ่มน้ำแม่ตาช้างนั้น เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวกับการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ การสร้างสิ่งก่อสร้างบุกรุกลำน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ การทิ้งขยะ และของเน่าเสียลงในลำน้ำ สาเหตุเกิดจากการขยายตัวของพื้นที่ทำกิน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในลุ่มน้ำ และการขยายตัวของรีสอร์ท ผนวกกับความต้องการของมนุษย์โดยไร้ขีดจำกัด ซึ่งผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นได้จัดการความขัดแย้งด้วยการเจรจากันเอง การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนในลุ่มน้ำ จนทำให้การแย่งชิงน้ำดำเนินไปสู่การแบ่งปัน และการยึดมั่นในความเป็นอัตลักษณ์ไปสู่การสลายและทำลายความเป็นอัตลักษณ์.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท