Update in Diabetic foot care


การปฏิบัติตัว อาชีพ อายุ สำคัญเพราะมีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้ามากที่สุด

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระหว่าง วันที่ 26-27 พ.ย. 2552 โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Update in Diabetic foot care เป็นเรื่องหนึ่งที่หน้าสนใจเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้อบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งทำให้ทราบถึงแนวทางในการเฝ้าระวังดูแลรักษาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานและมีความรู้เกี่ยวกับ Diabetic foot care ดังนี้ จากสถิติของผู้ป่วยเบาหวานของประเทศไทยที่มีปัญหาเรื่องเท้ามีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับดังนี้ ในปี 2530 ปี2540 ปี2549 เท่ากับ 33.8,127.5และ 586.8 ต่ออัตราประชากร100,000 คน

พยาธิสภาพก่อกำเนิดแผลที่เท้า ได้แก่ระบบ Neuropathy และ Angiopathy

การคักกรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

1.ประวัติ

   1.1ประวัติการเจ็บป่วย ส่วนใหญ่จะเป็นเบาหวานมากกว่า 10 ปี ประวัติเคยเป็นแผลที่เท้า

   1.2.อาการทางปลายประสาท

   1.3.อาการขาดเลือด ได้แก่ บาดแผลไม่หาย  ผิวหนังเปลี่ยนแปลง ปวด(เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่ดี)

   1.4.โรคแทรกซ้อนเบาหวาน เช่น ตาและไต

2.ตรวจ

   2.1 ดู  ผิวหนัง เล็บ สีสัน  รูปทรงของเท้า ความหนาของผิวหนัง และการลงน้ำหนัก

   2.2 คลำ อุณหภูมิผิวหนัง ชีพจร ที่ Dorsalis Pedis , Posterior tibial

   2.3 ตรวจปลายประสาท ด้วยสำลี ซ่อมเสียงหรือ10Gram monofilament

  2.4 ตรวจรองเท้าที่ผู้ป่วยสวมใส่ประจำ

การตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวานโดยเครื่องมือ10 Gram monofilament (สามารถใช้สายเอ็นประยุกต์ใช้แทนได้) จะทดสอบที่หลังนิ้วและฝ่าเท้ารวมจำนาน 10 จุด นานจุดละ2-3วินาที ครั้งแรกควรทดสอบความรู้สึกที่หน้าแข้งของผู้ป่วยก่อน

เท้าที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลดูจาก

 1.รูปร่างของเท้าและการลงน้ำหนัก

 2.ความรู้สึกของเท้า

 3.คุณภาพของชีพจร

 4.เคยเป็นแผลหรือเคยตัดนิ้ว

 5.ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน

 6.การปฏิบัติตัว อาชีพ อายุ สำคัญเพราะมีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้ามากที่สุด

 สถิติผลการคัดกรองเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน(2551-2552)จากกรมการแพทย์

พบว่าความรู้สึกของเท้าสูญเสียมากที่สุดคือ ร้อยละ 8.24 เท้าสูญเสียรูปทรงร้อยละ 4.55 มีประวัติเคยเป็นแผลที่เท้า ร้อยละ3.37  แต่สามารถคลำชีพจรที่เท้าได้ทุกราย

PATIENT FOOT CARE กับ5ขั้นตอนดูแลเพื่อความปลอดภัยของเท้า

  1.ตรวจเท้าด้วยตนเองสม่ำเสมอ(กระจกส่อง)

  2.สวมรองเท้าถุงเท้าให้พอเหมาะ

  3.ตัดเล็บและดูแลความสะอาดของเท้าอย่างถูกสุขลักษณะ

  4.ดูแลผิวหนังที่เท้าตั้งแต่เนิ่นๆถ้ามีปัญหา

  5.ให้แพทย์ตรวจเท้าสม่ำเสมอ

ประเภทของแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

  1.แผลเรื้อรังที่เท้า

  2.แผลติดเชื้อ  Cellulitis , Necrotizing fascitis

  3.แผลขาดเลือด

การดูแลรักษาเท้าเบาหวานที่เป็นแผล

 1.การทำแผล

 2.การรักษาภาวะแผลติดเชื้อ

 3.การปรับปรุงระบบการไหลเวียนของเท้า

 4.การเปลี่ยนจุดลงน้ำหนักของเท้า(off loading)

หลักการเฝ้าระวังและดูแลรักษาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานต้องประกอบด้วย

เป้าหมาย

 1.เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ถึงวิธีบำรุงดูแลรักษาเท้า

 2.เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความร้ายแรงของภาวะแทรกซ้อนของแผลที่เท้า

 3.เพื่อลดการถูกตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา จากแผลติดเชื้อ

การดำเนินการ

 1.คัดกรองเท้าผู้ป่วยเบาหวานว่ามีความเสี่ยงเพียงใด

 2.จัดตั้งคลินิกแบบองค์รวมประกอบด้วยจักษุแพทย์  และอื่นๆ

 3.จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังและดูแลรักษาเท้า

 4.กำหนดแนวทางการดูแลรักษาแผลติดเชื้อและไม่ติดเชื้อที่เท้า                                                                 

                                                                  พยง พุ่มสุข                       

คำสำคัญ (Tags): #update in diabetic foot care
หมายเลขบันทึก: 324111เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปีนี้น่าจะดำเนินการทางรูปธรรมที่ชัดเจนได้ ขอสนับสนุนครับ / boss

ถ้าทำได้ครบถ้วน ก็เป็นความโชคดีของผู้ป่วยเบาหวานของเรา แต่ควรเริ่มที่ละน้อยๆก่อน และติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินผล/น้ำอ้อย

ทีนี้พอคนไข้มาถอนฟันหนูจะแอบดูเท้าแล้วก็บอกว่า "ป้า ไปตัดเล็บซะ" เนอะป้าเปี๊ยกเนอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท