ทฤษฎีเกมกับกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร


ระบบความคิดคือเราต้องคิดเป็นระบบ

ผู้เขียน  ,ออย  (ชุติมา  กิจสงสาร)  และน้องทรี  (ไพลิน  พิชา)  ได้มีโอกาสไปอบรมโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ทฤษฎีเกมกับกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร (BLUE OCEAN AND GAME)”  ในระหว่างวันที่  24-25  ธันวาคม  2552 วิทยากรโดย  รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์ ซึ่งบอกตามตรงไม่เคยเข้าใจหรือได้ยินชื่อพวกนี้มาก่อนเลย  แต่จากเนื้อหาการอบรมทำให้พอจะเข้าใจว่าเป็นการจัดการระบบความคิดของเราให้มีศักยภาพ  โดยนำทฤษฎีเกมของ John Nash  มาใช้ในการพัฒนาระบบคิดของเรา  

     จุดประสงค์หลักของทฤษฎีเกม  คือ การหาทางออกที่เหมาะสมให้ผู้ที่อยู่สถานการณ์ที่ซับซ้อน โดยยึดหลักความจริงว่า รูปแบบควรดำเนินการเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตัดสินใจของคนอีกหลายคน 

เริ่มอบรมอาจารย์ได้ให้พวกเราเล่นเกมง่ายๆ  คือ 

เกมทายใจ  เลขที่อาจารย์นึกในใจไว้  อยู่ระหว่างเลข  0 -100  แล้วให้เวลาพวกเราคิดทายเลขที่อาจารย์นึก  ให้เราตอบตัวเลขกับอาจารย์เพียง  4  ครั้ง  เท่านั้น  โดยอาจารย์จะตอบได้เพียงว่า  มากกว่าหรือต่ำกว่าเท่านั้น

        เกมนี้  อาจารย์บอกว่า  ถ้าใครตอบถูกผมให้คะแนน  0  เพราะโอกาสที่เราจะตอบให้ได้ตัวเลขที่อาจารย์คิดไว้นั้นมีโอกาสน้อยมาก หรือไม่ถ้าตอบถูกพวกคุณเป็นเทวดา  หุหุ  แต่ถ้าพวกเราตอบเลขที่ใกล้กับที่อาจารย์คิด  พวกเราจะได้คะแนนได้มากกว่าคนที่ตอบถูก  โดยเกมนี้  อาจารย์จะดูระบบการคิดของเราว่าเรามีหลักการทายใจอาจารย์อย่างไรให้ตอบได้ตัวเลขที่ใกล้กับอาจารย์มากที่สุด 

 ตัวอย่างง่ายๆ ที่วิทยากรได้อธิบายทฤษฎีเกม

1.  มีโจรอยู่  2  คน คือ  นาย  ก  กับ  นาย  ข ถูกตำรวจจับ และถูกแยกไปสอบปากคำทีละคน  ตำรวจไม่สามารถดำเนินคดีได้  เนื่องจากไม่มีหลักฐาน  คนร้ายมีทางเลือกสองทางคือ  รับสารภาพ  และไม่สารภาพ  ถ้าคนร้ายคนหนึ่งรับสารภาพ  แต่อีกคนหนึ่งไม่รับ  ตำรวจจะกันคนที่รับสารภาพไว้เป็นพยานและปล่อยตัวไป  และจะส่งฟ้องคนที่ไม่รับสารภาพ  ซึ่งมีโทษจำคุก  20  ปี  ถ้าทั้งสองคนรับสารภาพ  จะได้รับการลดโทษเหลือจำคุกคนละ 10 ปี แต่ถ้าทั้งสองคนไม่รับสารภาพ ตำรวจจะสามารถส่งฟ้องได้เพียงข้อหาเล็กน้อยเท่านั้น  ซึ่งมีโทษจำคุก  1  ปี  หากท่านเป็นโจรท่านจะเลือกแบบใด  จะรับสารภาพหรือไม่สารภาพ

เกมนี้  สามารถเขียนออกมาให้เห็นชัดเจนดังตาราง 

    นาย ข  
    รับสารภาพ ไม่รับสารภาพ
นาย ก รับสารภาพ 10,10 0,20
  ไม่รับสารภาพ 20,0 1,1

     จะเห็นได้ว่าหากเราเป็นโจรต้องรับสารภาพ เพราะไม่ว่าโจรอีกฝ่ายจะตัดสินใจอย่างไร ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมอ แต่ถ้าโจรทั้ง  2  คน  เลือก ไม่รับสารภาพ  กลับไม่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ถึงแม้โจรจะทราบว่าผลตอบแทนที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่าย แต่ทั้งคู่อาจไม่กล้าทำเพราะไม่ไว้ใจอีกฝ่ายว่าจะรับสารภาพหรือไม่ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องรับสารภาพ

2.  มีโจรอยู่  2  คน  ถูกตำรวจจับ  และมีหลักฐานที่สามารถทำให้ติดคุกได้  แต่ยังไม่สามารถระบุความผิดของโจรทั้ง  2  คน  ได้   และตำรวจจึงแยกกันสอบสวน  และให้โอกาสในการสารภพ  โดยตั้งเกณฑ์ไว้ว่า  หาก  นาย  ก  สารภาพและซัดทอด  นาย  ข  แต่  นาย  ข  ไม่สารภาพและไม่ซักทอด  นาย  ก  แล้ว  นาย  ก  ก็จะได้เข้าคุก  2  ปี  และนาย  ข  จะถูกจำคุกนาน  10  ปี  แต่โทษก็จะกลับกัน  หาก  นาย  ข  สารภาพและซัดทอด  นาย  ก โดย  นาย  ก  ไม่ปริปาก แต่หากทั้งสองคนไม่ยอมให้การใดๆ  ตำรวจจะทำได้เพียงจำคุกทั้งคู่คนละ  1  ปี  แต่หากทั้งสองคน  ปรักปรำซึ่งกันและกันก็จะจำคุกคนละ  5  ปี 

หากท่านเป็น นาย ก ท่านจะสารภาพและซัดทอดหรือไม่ปริปาก

สามารถเขียนออกมาให้เห็นชัดเจนดังตาราง 

    นาย ข  
    สารภาพและซัดทอด ไม่ปริปาก
นาย ก สารภาพและซัดทอด 5,5 2,10
  ไม่ปริปาก 10,2 1,1

     จะเห็นได้ว่า ทั้งนาย ก และ นาย ข ควรจะร่วมมือกัน โดยไม่ปริปากใดๆ เพื่อให้ทั้งสองได้รับโทษสถานเบาคือ 1  ปี แต่ในความเป็นจริง ด้วยความกลัวที่จะถูกอีกคนหนึ่งทรยศ โดยการปรักปรำ ทำให้ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกับตำรวจ ซึ่งทำให้ติดคุกคนละ 5 ปี พฤติกรรมที่เกิดขึ้นที่ไม่ใช่จุดที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากตำรวจจับแยกห้องขัง ทำให้คนร้ายทั้งสองไม่สามารถร่วมมือกัน หรือแจ้งข้อมูลซึ่งกันและกันได้

     สรุปได้ว่า มนุษย์ที่มักจะต้องการความเสี่ยงน้อยที่สุด จะเลือกแนวทางที่ทำให้เกิดความเสียหาย กับตนเองน้อยที่สุด ในกรณีที่เกิดสถานการณ์เลวร้ายน้อยที่สุด สำหรับในกรณีนี้ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือ การถูกเพื่อนซัดทอด จึงต้องเลือกระหว่างติดคุก 10 ปี หรือติดคุก 5 ปี จึงต้องเลือกสารภาพ และซัดทอดให้เพื่อน เพื่อให้ตัวเองติดคุกเพียง 5 ปี

สิ่งที่ได้จากทฤษฎีนี้  คือ  “อย่าคิดแทนคนอื่นเขา”  เราต้องดูจากข้อมูลที่เรามีอยู่หรือหากไม่ทราบก็ควรจะหาข้อมูลที่แท้จริงก่อนที่จะได้คำตอบนั้น 

ทฤษฎีเกม  เราควรเลือกโอกาสที่จะนำไปใช้ว่าเราควรจะใช้เมื่อไหร่  คือต้องดูความเหมาะสมด้วย หากเรานำทฤษฎีเกมไปใช้ทุกเหตุการณ์  โดยส่วนตัวของผู้เขียนเอง  เราคงจะต้องปวดหัวแน่ๆ  อิอิ  เพราะทุกเรื่องเราต้องวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีเกม
หมายเลขบันทึก: 324064เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2009 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาอ่าน (แบบ งงๆ)

ทำไมปีนี้ถึงเรื่องฝึกงานช้าจัง

ประกาศช้ามากทำให้นิสิตกลับลำไปหากันเองแทบจะไม่ทัน เพราะเด็กหลายคนนะที่ตั้งตารอที่คณะจัดหาให้เพราะเชื่อว่าคณะจะหาให้แบบดีๆ แต่ที่ไหนได้กลับ มีแต่อะไรก้อไม่รู้ บทเรียนนี้สอนให้นิสิตรู้ว่า อย่าหวังน้ำบ่อหน้ากับคณะมากมายนัก เชื่อไหม๋เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ความเชื่อมั่นของนิสิตต่อคณะดิ่งลงฮวบๆ เพราะบอกให้มีความหวังแล้วไม่ทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้สัญญาว่าจะหาที่ฝึกงานให้หลากหลาย แต่แล้วที่ออกมามันคืออะไร มีไม่ถึง 10 ที่ แล้วทุกที่ก้อพิดโลกทั้งนั้น มันอะไรกันหรือว่าทางคณะคิดว่าการฝึกงานนี้มันไม่สำคัญสำหรับนิสิตอีกต่อไป ถ้างั้นแล้วก้อไม่ต้องกล่าวให้เด็กมีความหวังกันอย่างนี้ บอกให้หากันเองเลย แล้วทีนี้จะเอายังไงกันหละ สายเกินที่จะไปสมัครที่อื่นและ เพราะเขาปิดรับสมัครกันหมดและ ทางเลือกมี 2 ทางคือ เลือกฝึกงานเท่าที่คณะติดต่อให้ หรือ ไม่ฝึกงาน ส่วนผู้เขียนขอเลือกว่าไม่ฝึกงาน แล้วกัน อย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก อย่าเอานิสิตมาเป็นผู้รับบาปเคราะห์ที่คณะทำอะไรล่าช้าอีก ขอให้หาที่ฝึกงานให้มันดีกว่านี้หน่อย ทำการบ้านนิดหนึ่งไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าทำๆๆๆ ขอร้องเรียนให้ทราบที่ไม่ต้องการคำตอบ (น่ามีที่ร้องเรียนเป็นสัดส่วนเน้อจาได้เขียนขึ้นโดยตรง)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท