การวิจัยคืนเดียว


การวิจัยในชี้นเรียนเป็นวิธีการหรือกระบวนการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือคำตอบที่ครูเป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น อาจเป็นการพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดในชั้นเรียน ซึ่งโดยปรกติครูจะวิจัยทำภาคเรียนละ 1 เรื่องบ้างหรือปีละ 1 เรื่องบ้างแล้วแต่นโยบายของโรงเรียน
            จากการได้ไปนิเทศเตรียมความพร้อมให้โรงเรียนเพื่อรับการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 2 จาก สมศ. ตามมาตรฐานที่  9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีตัวชี้วัดอยู่ตัวหนึ่งที่ว่า "ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน" นั่นก็คือครูต้องมีวิจัยในชั้นเรียน แต่กลับพบว่าครูมีปัญาเกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน  ไม่ได้ทำวิจัยในชั้นเรียน โดยอ้างว่าไม่มีความรู้ในการทำวิจัย  หลายคนจึงไม่ได้ทำวิจัยในชั้นเรียน พอใกล้การประเมินก็ไม่มีผลงานวิจัยที่จะส่งและรับการประเมิน ครูจึงเริ่มตระหนักและเห็นถึงความสำคัญงานวิจัยในชั้นเรียน ถ้าไม่มีส่งการประเมินคุณภาพภายนอกคงจะมีปัญหาแน่นอน ครูจึงได้พยายามงัดกลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อที่จะทำงานวิจัยส่ง คงไม่ต้องบอกหรอกนะว่าครูใช้กลยุทธ์อะไรกันบ้าง แต่ท้ายที่สุดครูก็มีงานวิจัยในชั้นเรียนส่งได้........นี่แหละ "งานวิจัยคืนเดียว" หรือ "วิจัยข้ามคืน"
           "งานวิจัยคืนเดียว" หรือ "วิจัยข้ามคืน" คงไม่ใช่งานวิจัยที่มีคุณภาพ  ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนได้  คงต้องเป็นหน้าที่ของ
           1.
ครูเองที่จะต้องพยายามเรียนรู้การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้และการเรียนรายงานการวิจัย จากการอ่าน  การเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดและมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และที่สำคัญต้องลงมือทำวิจัยด้วย ที่จริงแล้วครูได้แก้ปัญหาให้แก่นักเรียนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่ยังไม่ได้เขียนรายงานเท่านั้นเอง
         2. ผู้บริหารโรงเรียนน่าจะต้องจัดพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน นอกจากนั้นต้องมีการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ  และที่สำคัญการกำหนดนโยบายการทำวิจัยในชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 เรื่องหรือปีละ 1  เรื่องเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ การใช้เวลาเพียง 6 เดือนหรือ 1 ปีจะสร้างผลงานการวิจัยที่มีคุณภาพได้หรือไม่   ในขณะที่ผู้มีความรู้ มีความสามารถเกี่ยวกับการวิจัยก็ยังใช้เวลาในการวิจัยไม่น้อยเลย
         3. ศึกษานิเทศก์ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งมีผลต่อการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนของครู ต้องมาช่วยนิเทศ ช่วยเหลือ แนะนำให้ครูได้เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกแยกไปจากชีวิตจริง ไม่ใช่ทำวิจัยเพื่อใช้เป็นผงานทางวิชาการ แต่เป็นการนำผลงานที่ประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนและปรับพฤติกรรมนักเรียนมาเขียนเป็นรายงานและพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการ 
         สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหา "วิจัยวันเดียว" หรือ"วิจัยข้ามคืน" ได้

หมายเลขบันทึก: 323446เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท