ไตรลักษณ์


อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

   ปัจจุบันชีวิตการทำงาน มุ่งหวังผลงาน เงินและปัจจัยหลายๆๆ เพื่อบำเรอกิเลส ของงตนเอง ทั้งที่รู้และไม่รู้(กิเลส) บางครั้งสับสบ ว้าวุ่น ว่าต้องการอะไรอีกนะ ในโลกใบนี้

   แต่สุดท้ายชีวิตลืมนึกไปว่า กฎไตรลักษณ์ (อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา) นั้น มันมีความหมายและสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกใบนี้ ล้วนเกี่ยวข้องทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่จีรัง ยั่งยืนไปตลอดกาล 

   ถ้าเราหยุดสักนิด ให้เวลากับชีวิตเพื่อมาทบทวนว่า เราเกิดมาทำไม? เราต้องการอะไรจริงๆ  เมื่อเราคิดได้เช่นนั้น เราก็จะไม่ประมาทในชีวิต เห็นชีวิตทุกชีวิตมีคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น  หัวโขนที่เราสวมอยู่ มันไม่สามารถพาไปไหนมาไหนได้อีกแล้ว เป็นเพียงสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจสัจธรรมจริงๆๆ เราจะรักโลกนี้อีกมาก แต่ถ้าเรามัวหลง (โมหะ) อยู่กับวัตถุ ก็เปรียบเสมือนเราอยู่ในท้องทะเลที่ไม่มีอะไรให้เรารู้เลยว่า ฟากฝั่งอยู่ทางทิศไหน จนชีวิตของงเราใกล้ตาย (ถึงฝั่ง) เพิ่งมารู้สึกตัวว่า เราสายไปแล้ว ทุกชีวิตจะต้องคืนร่างกายให้กับยมทูต ที่เราเอาร่างกายมาใช้จนหมดลมหายใจ เหลือดีชั่ว ฝากไว้ในโลกานี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ เตือนใจให้กับคนรุ่นหลัง และบุตรหลาน

   ชีวิตของเรานั้น เมื่อเกิดขึ้น(อนิจจัง) ตั้งอยู่ในท่ามกลาง(ทุกขัง) และก็ดับไป(อนัตตา) สรรพสิ่งทุกอย่างมีความตายเป็นของเที่ยง  เมื่อมีลมหายใจอยู่  รักคนข้างๆๆให้มาก ยิ้มให้มาก มองในแง่บวกให้มาก มองคนด้านดีมากกว่าเสีย เท่านั้นเราก็จะมีอารมณ์ที่เบิกบาน เปรียบเสมือน ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานครับ

   พยายามอยู่กับปัจจุบันให้มากๆๆ แล้วดีที่สุดครับ

หมายเลขบันทึก: 323442เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท