หลักการ แนวคิด ทฤษฎี


หลักการ & แนวคิด & ทฤษฎี    ต่างกันอย่างไร ???

 หลักการ (Principles )

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย “หลักการ”  หมายถึง  สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ

 แนวคิด ( Concept )

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย “แนวคิด”  หมายถึง  ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ

                แนวความคิดเกิดขึ้นได้มีองค์ประกอบดังนี้ คือ

                1. การสังเกต

                2. การเปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่าง

                3. จัดแยกประเภทและรวมเป็นหมวดหมู่

                4. สร้างความหมายเฉพาะเพื่อความเข้าใจของตนเอง

                แนวคิด เป็นการกล่าวสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งใช้ความเชื่อ ความรู้สึก ทัศนคติ แง่คิด ความรู้และประสบการณ์เข้าร่วมอาจจะเป็น บทความ เป็นข่าว เป็นข้อเสนอแนะ หรือความคิดจากใครที่เชี่ยวชาญก็ได้  แนวคิดอาจจะถูกหรือผิดก็ได้

ทฤษฎี (theory)

                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย "ทฤษฎี" ว่าหมายถึง ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยลักษณะที่คาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฎการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบ นอกจากนี้ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้

  1. Good : ทฤษฎี คือ ข้อสมมติต่าง ๆ(Assumption) หรือข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generalization) ซึ่งได้รับ

การสนับสนุนจากข้อสมมติทางปรัชญาและหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเสมือนพื้นฐานของการปฏิบัติ ข้อสมมติซึ่งมาจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบต่าง ๆ จะได้รับการประเมินผล เพื่อให้มีความเที่ยงตรงตามหลักวิทยาศาสตร์  และข้อสมมติทางปรัชญา อันถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสร้าง (Construction)

  2.    Kneller : ได้ให้ความหมายของทฤษฎีไว้ 2  ความหมาย คือ

        2.1 ข้อสมมติฐานต่าง ๆ (Hypothesis) ซึ่งได้กลั่นกรองแล้ว จากการสังเกตหรือทดลอง เช่น ในเรื่องความ

โน้มถ่วงของโลก 
        2.2 ระบบขอความคิดต่าง ๆ ที่นำมาปะติดปะต่อกัน (Coherent)

  3.   Feigl : ทฤษฎีเป็นข้อสมมติต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระบวนการทางตรรกวิทยา และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิด  กฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกตและการทดลอง
  4.   ธงชัย สันติวงษ์ : ทฤษฎี หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมแนวความคิดและหลักการต่าง ๆ ให้เป็นกลุ่มก้อนและสร้างเป็นทฤษฎีขึ้น ทฤษฎีใด ๆ ก็ตามที่ตั้งขึ้นมานั้น เพื่อรวบรวมหลักการและแนวความคิดประเภทเดียวกันเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่

  5.   เมธี ปิลันธนานนท์ : ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักของทฤษฎี มี 3 ประการ คือ การพรรณนา (Description) การอธิบาย (Explanation) และการพยากรณ์ (Prediction)

             จากความหมายดังกล่าวข้างต้น ทฤษฎี จึงหมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน ซึ่งได้รับมาจากวิธีการทางตรรกวิทยา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกต ค้นคว้า และการทดลอง โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริงและนำผลที่เกิดขึ้นนั้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์

หมายเลขบันทึก: 323308เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ อีกไม่กี่นาทีก็ปีใหม่แล้วน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท