CBNA ฉบับที่ 45 :แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย


จะว่าไปแล้วการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากหยาดเหงื่อ กำไร และการขูดรีดด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ แต่รัฐบาลไทยก็กลับมองพวกเขาและเธอเป็นเพียง “แรงงานที่มองไม่เห็น” แต่สำหรับในมุมมองของพี่น้องสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว แรงงานข้ามชาติกลับไม่เคยเป็นอื่นและเป็นสายเลือดแรงงานสายธารเดียวกัน พวกเขาเป็นสหภาพแรงงานกลุ่มแรกของแรงงานประเภทรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ที่ออกมาสนับสนุนแรงงานข้ามชาติให้มีสิทธิมีเสียง และควรได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมาย

ฉบับที่ 45 (31 ตุลาคม 2552)


แรงงานข้ามชาติ และเหลี่ยม โมกงาม ผีบ้าของการรถไฟไทย

 

 



บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ล่วงเข้าวันใหม่มาหลายชั่วโมงแล้ว แต่พวกเขาก็ยังขะมักเขม้นอยู่กับการสกรีนป้ายผ้าและผ้าพันคอเพื่อใช้เดินขบวนในวันพรุ่ง มองไปรอบๆตัว เหลี่ยม โมกงาม , สาวิทย์ แก้วหวาน, ภิญโญ เรือนเพ็ชร และพี่น้องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยร่วม 20 คน นี้ยังไม่นับอำนาจ พละมี, นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ที่ต่างช่วยทำงานชิ้นนี้กันมาตั้งแต่เย็นย่ำแล้ว อีกหลายคนก็ช่วยจัดเตรียมเครื่องเสียงที่มีพลังพอที่จะส่งเสียงดังไปถึงคนที่อยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล






ย้อนหลังไปเมื่อสองสามปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยมีรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารได้อนุญาตให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา ออกประกาศจังหวัดเรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ว่า “ห้ามแรงงานต่างด้าวขับขี่รถจักรยานยนต์ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ห้ามออกจากที่ทำงานในเวลากลางคืนระหว่าง 20.00 – 06.00 น. และยังห้ามรวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คน รวมทั้งให้นายจ้างควบคุม กำกับดูแลแรงงานต่างด้าวตลอดระยะเวลาการจ้างงานอย่างเข้มงวด”






คำสั่งดังกล่าวนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดีสำหรับชุมชนไทยในพื้นที่ แต่สำหรับแรงงานข้ามชาติในฐานะ “ลูกจ้าง/แรงงาน” ในกิจการจ้างงานต่างๆแล้ว สิ่งที่ติดตามมาอย่างมหันต์และคนในทำเนียบในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เคยรับรู้แม้แต่น้อย คือ ผลกระทบต่อพวกเขาและครอบครัว ดังเช่นเหตุการณ์ที่จังหวัดพังงา เมื่อแรงงานกลุ่มหนึ่งได้จัดงานวันเกิดให้กับเด็กๆในหมู่บ้าน ระหว่างนั้นมีแรงงานผู้ใหญ่และเด็กจำนวน 300-400 คน ได้เดินทางมาร่วมงาน เมื่อตำรวจทราบว่ามีการรวมตัวกันเกิน 5 คน จึงเข้าจับกุมแรงงานทั้งๆที่แรงงานจำนวนมากมีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมาย และอีกหลายคนเป็นเด็ก






หรือกรณีที่ตำรวจไปพบแรงงานที่ขี่มอเตอร์ไซด์ของนายจ้างไปซื้อของในร้านค้าที่อยู่คนละแห่งของสถานที่ทำงาน ตำรวจจะยึดรถมอเตอร์ไซด์ไปทันที ทั้งๆที่แรงงานคนดังกล่าวก็มีใบอนุญาตทำงานถูกกฎหมายและนายจ้างเป็นผู้สั่งให้แรงงานออกไปซื้อของให้ , แรงงานจำนวนมากที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือคนในท้องถิ่นมาพบเข้า จะมีการแจ้งตำรวจให้มาริบโทรศัพท์ไป หรือบางครั้งก็จะยึดไปเอง หรือมีแรงงานจำนวนมากที่เจ็บป่วยในตอนกลางคืนไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทันท่วงทีเพราะไม่สามารถออกจากที่พักได้





นี้เป็นเพียงเหตุการณ์เล็กน้อยในกว่าหลายสิบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จนนำมาสู่ความกังวลใจของแรงงานข้ามชาติและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ที่ไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาที่ทับทวีขึ้นทุกวันได้ และนำมาสู่การปรึกษาหารือกับพี่น้องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันประท้วงคำสั่งดังกล่าวหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อสิงหาคม 2550





จะว่าไปแล้วการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ต ระยอง ระนอง และพังงา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากหยาดเหงื่อ กำไร และการขูดรีดด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ แต่รัฐบาลไทยก็กลับมองพวกเขาและเธอเป็นเพียง “แรงงานที่มองไม่เห็น” แต่สำหรับในมุมมองของพี่น้องสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว แรงงานข้ามชาติกลับไม่เคยเป็นอื่นและเป็นสายเลือดแรงงานสายธารเดียวกัน พวกเขาเป็นสหภาพแรงงานกลุ่มแรกของแรงงานประเภทรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ที่ออกมาสนับสนุนแรงงานข้ามชาติให้มีสิทธิมีเสียง และควรได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมาย




อ่านต่อทั้งหมด click : 

http://gotoknow.org/file/ngaochan/CBNA_45.pdf

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 322933เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท