CBNA ฉบับที่ 40 : อนาคตแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้าน กับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายแรงงานไทย


อีกไม่นาน ในปี 2554 ILO จะมีการออกอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบ้าน ฉะนั้นในปีนี้และปีหน้าอยู่ในกระบวนการเตรียมตัวในการยกร่างฉบับนี้ และ ILO จะจัดส่งให้รัฐบาลประเทศต่างๆ แสดงความคิดเห็นและส่งกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมใหญ่ ILO ในเดือนมิถุนายน 2554 ต่อไป ผมเสนอว่า ให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงข้อเสนอของ ILO ให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานมากยิ่งขึ้น

ฉบับที่ 40 (28 สิงหาคม 2552 – วันคนทำงานบ้านสากล)

 


อนาคตแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้าน

กับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายแรงงานไทย 

 

เมื่อวันพุธที่ 27 สิงหาคม 2552 เวลา 09.00 – 12.30 น. ณ ห้องวิภาวดี บอลลูม ชั้น 4 โรงแรมปริ้นซ์ตั้น ปาร์ค สวีท กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “อนาคตแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้าน กับ การคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิกฎหมายแรงงานไทย” โดยเป็นความร่วมมือกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง  มูลนิธิ MAP มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน และแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

 

การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ หนึ่ง - เพื่อให้เกิดการพัฒนากลไกแรงงานประเภทงานในบ้าน ทั้งในด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และอาชีพอย่างเท่าเทียมในสังคม สอง – เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ แรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสาธารณชนได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด มุมมอง และเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น สาม - เพื่อขยายผลการสร้างความเข้าใจ ข่าวสารข้อมูลให้สื่อมวลชนได้เผยแพร่ต่อไป

 

 

 

นายสมคิด ด้วงเงิน  ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ในฐานะตัวแทนองค์กรจัดงาน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า

 

 


ในปัจจุบันแรงงานประเภทคนทำงานในบ้าน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบประเภทหนึ่ง ยังมีสถานะการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายไม่ชัดเจน เป็นที่ทราบดีว่าแรงงานประเภทนี้เป็นผู้หญิง หลายคนต้องทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนไปต่างประเทศ เพื่อไปประกอบอาชีพแม่บ้านต่างแดน แรงงานเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย เพราะงานบ้านมักถูกมองข้ามว่าไม่ใช่งาน ทำให้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากแรงงานเหล่านี้ไม่มีวันหยุด อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีโอกาสอยู่รวมตัวกัน เงื่อนไขการทำงานเกิดจากการตกลงกันเองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ทำให้ไม่มีมาตรฐานรองรับ

 

 

 

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย คนทำงานบ้านในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนหนึ่งถูกแสวงหาประโยชน์จากกระบวนการค้ามนุษย์ และถูกเอารัดเอาเปรียบสูง

 

 

 

ปัญหาสำคัญของแรงงานกลุ่มนี้ คือ การขาดการคุ้มครองจากกฎหมายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกฎกระทรวงฉบับที่  1 ได้มีการยกเว้นความคุ้มครองแรงงานบ้านหลายประการ เช่น ไม่กำหนดค่าแรงงานขั้นต่ำ ไม่มีการกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์เหมือนแรงงานประเภทอื่น และไม่มีกำหนดชั่วโมงการทำงาน กระทบถึงเวลาพักผ่อน ส่งผลให้กลุ่มผู้ทำงานบ้านไม่ได้ทราบสิทธิที่ควรได้รับเช่นแรงงานกลุ่มอื่น ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิด้านต่างๆ ทั้งค่าแรง เวลา และถูกทุบตีทำร้ายร่างกายเป็นที่ระบายโทสะของนายจ้างและที่ร้ายแรงคือการละเมิดทางเพศ

 

 

จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงทำให้เครือข่ายแรงงานนอกระบบร่วมกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ จัดงานนี้ขึ้นมา เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในบ้านต่อไป

 

 

การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุเมธ ฤทธาคนี  ประธานคณะกรรมาธิกาการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ

 

อ่านต่อทั้งหมด click : 

http://gotoknow.org/file/ngaochan/CBNA_40.pdf

หมายเลขบันทึก: 322926เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท