สมองรับรู้ความเจ็บปวดคนอื่นได้ [EN]


การศึกษาใหม่พบ สมองคนบางคนรับรู้ความเจ็บปวดของคนอื่นได้ [ Reuters ] 

...

การศึกษาโดยใช้เครื่องตรวจสแกนสนามแม่เหล็ก-วิทยุที่ตรวจจับโครงสร้าง-การทำงานสมองได้  (functional MRI)

อ.ดร.สจวต ดับเบิลยู. จี. เดอร์บีเชอร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม US ทำการทดลองในนักศึกษามหาวิทยาลัย 108 คน ให้ดูภาพแสดงความเจ็บปวด เช่น นักกีฬาที่บาดเจ็บ, คนไข้ที่ถูกฉีดยา ฯลฯ

...

กลุ่มตัวอย่างประมาณ 1/3 มีการตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวดของคนอื่น โดยรู้สึกคล้ายกับปวดที่บริเวณเดียวกันกับที่เห็นมาในภาพ

หลัง จากนั้นแบ่งเป็นกลุ่มตอบสนอง (responders; respond = ตอบสนอง) หรือ "เจ็บด้วยช่วยกัน", กับกลุ่มไม่ตอบสนอง (nonresponders; non- = ไม่) หรือ "คนอื่นเจ็บ-ข้าฯ ไม่สน"

...

นำกลุ่มตัวอย่าง ไปตรวจด้วยเครื่องสแกน (functional MRI) ซึ่งวัดการไหลเวียนเลือดในสมองส่วนต่างๆ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีการตอบสนองของสมองส่วนควบคุมอารมณ์-ความรู้สึกคล้ายๆ กัน

แต่กลุ่มตัวอย่างประเภท "เจ็บด้วยช่วยกัน" มีการตอบสนองในตำแหน่งที่สะท้อนถึงส่วนของร่างกายที่เจ็บปวดมากกว่า

...

กลุ่ม "เจ็บด้วยช่วยกัน" มีแนวโน้มจะหลีกเลี่ยงการชมหนังประเภทสยองขวัญ (horror) หรือภาพเหตุการณ์โหดๆ ในข่าว

การ ศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า คนไข้ที่เจ็บปวดโดยไม่มีโรคทางกาย (functional pain) มีแนวโน้มจะรู้สึกเจ็บจริงๆ ทั้งๆ ที่ไม่มีรอยโรคทางกาย ซึ่งอาจดีขึ้นได้ด้วยยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมองบางส่วน

...

ขณะเดียวกัน... การได้รับสิ่งเร้าผ่านสื่อต่างๆ มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น TV, อินเตอร์เน็ต, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, โฆษณา อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

โดยเฉพาะข่าวการเมืองไทย, ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้, หนังสยองขวัญ, หนังอิจฉาริษยา, เกมส์ประเภทโหด-ไล่ล่า-ฆ่ามัน... พวกนี้มากไปคงไม่ดีกับสุขภาพ

...

ในทางตรงกันข้าม, การลงมือทำอะไรดีๆ "เดี๋ยวนี้" เลยกลับให้ผลดีกับสุขภาพ และดีกับการทำงานของสมอง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ตัวอย่างเช่น การปลูกต้นไม้-ดอกไม้, การเล่นกับน้อง (หมา แมว ฯลฯ), การกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ-ขอโทษ" เป็นประจำ, งา่นอาสาสมัีคร ฯลฯ ซึ่งถ้าเมืองไทยมีบริการสปาน้องหมา เช่น โกลเดน รีทรีฟเวอร์ให้เช่ากอด-ปาลูกบอล (ในห้องที่มิดชิด) ในสนามบิน น่าจะช่วยให้ความเจ็บปวดลดลงได้เช่นกัน

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > The brain may feel other people's pain. December 21, 2009. / Source > Pain, online December 11, 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 22 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 322450เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท